การศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์

ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอพิจารณา

 การศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์

          ภารกิจใหญ่ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)พุ่งเป้าไปที่การพัฒนาระบบบริการ และสร้างความเท่าเทียมใน 3 ระบบประกันสุขภาพของรัฐ คือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และระบบประกันสังคมซึ่งการพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะส่งผลกระทบต่อคนไทยส่วนใหญ่จำนวน 47 ล้านคนของประเทศ  จึงเป็นประเด็นที่น่าติดตามว่า  ประชาชนจะเข้าถึงบริการสุขภาพและได้รับประโยชน์จากชุดสิทธิประโยชน์อย่างถ้วนหน้าและเป็นธรรม ตามเป้าหมายของสปสช.ได้อย่างไร?มีการคาดการณ์ว่าหากกระบวนการพัฒนาไม่ติดขัด ผ่านขั้นตอนการเสนองบประมาณ ภายในปี 2555 คนไทยจะมีโอกาสเข้าถึงยา เครื่องมือแพทย์ และบริการสุขภาพที่คุ้มค่าจากการเริ่มต้นที่สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ(IHPP) และโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ(HITAP) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2 องค์กร ที่รับบทบาทในดำเนินการศึกษาวิธีการที่เหมาะสมตามหลักวิชาการเพื่อให้การพัฒนาสิทธิประโยชน์ฯ ที่มีระบบที่โปร่งใส มีหลักฐานเชิงวิชาการรองรับ และสามารถดึงส่วนร่วมจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้สร้างความเชื่อมั่นว่า ผู้ได้ประโยชน์สูงสุดคือประชาชนเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมาวุฒิสภาสหรัฐฯ ขานรับการขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมคนอเมริกัน 32 ล้านคนหรือประมาณ 10% จากจำนวนประชาชนประมาณ 300 ล้านคน ซึ่งยังไม่มีประกัน นโยบายนี้สร้างความตื่นเต้นกับคนทั่วโลก และโดนใจคนอเมริกันที่รอคอยมานานกว่า 4 ทศวรรษ ความเหมือนของนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ตรงกับนโยบายหลักประกันสุขภาพของไทยอยู่ที่ความต้องการให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันด้านสุขภาพ หากมีความแตกต่างของสัดส่วนประชาชนกว่า70% อยู่ในความดูแลของรัฐบาลไทยที่ต้องจัดบริการสุขภาพ หรือแม้แต่ช่องว่างค่ารักษาพยาบาลที่ห่างกันจนน่าตกใจ ข้อมูลสถิติในปี2006-2007 คนอเมริกันมีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลต่อคนต่อปี ประมาณ7,000  ดอลล่าร์ คนอเมริกันใช้เงินมากกว่าคนไทยเกือบ 100 เท่าในขณะที่ประเทศไทยเหมาจ่ายรายหัวประชากรต่อคนประมาณ 70 ดอลล่าร์ และเมื่อกลับมามองสถานการณ์ปัจจุบัน ชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่ามีมาตราการด้านสุขภาพที่สำคัญที่ยังไม่ครอบคลุมในชุดสิทธิประโยชน์ฯ หรือบางมาตราการมีราคาแพง จนทำให้ผู้ให้บริการหลีกเลี่ยงที่จะให้บริการกับผู้มีสิทธิ จนไม่สามารถได้รับบริการที่มีความจำเป็น ทำให้เกิดการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ ซึ่งได้นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบ่อยครั้งความก้าวหน้าโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ฯ

 

          นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ให้ความคิดเห็นต่อความสำคัญในการมอบหมายให้ IHPP และ HITAP ดำเนินการโครงการศึกษาฯ ว่า “หากสปสช.ไม่สนใจว่าประชาชนจะได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้จริงหรือไม่ทางสปสช.ไม่จำเป็นต้องมาทำการประเมินความคุ้มค่าก็ได้เพราะ

 

          กระบวนการจ่ายเงินให้โรงพยาบาล เป็นแบบเหมาจ่ายอยู่แล้วสำหรับทุกการรักษาแต่ถ้าไม่ทำการประเมินประชาชนจะขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการที่ดีเข้าไม่ถึงบริการยาและเทคโนโลยีที่ควรได้รับดังนั้นเมื่อมีเทคโนโลยีเทคนิคในการรักษาและวิทยาการใหม่ๆจำเป็นต้องมีการประเมินความคุ้มค่าเพื่อที่จะจัดกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่มีอยู่แล้วซึ่งกระบวนการศึกษาของ IHPP และ HITAP ทำให้เกิดการพัฒนาสิทธิประโยชน์ในสิ่งที่ยังขาดอยู่และมีข้อมูลว่าควรจะเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ให้กับระบบหรือไม่มีความคุ้มค่าหรือไม่หรือการศึกษาวิธีการรักษาบางอย่างเพื่อนำมาจัดระบบให้เกิดการรักษาหรือใช้เทคโนโลยีนั้นๆให้มากขึ้นเพื่อทดแทนของเดิมซึ่งเป็นเรื่องที่ IHPP และ HITAP  ต้องช่วยหาคำตอบให้ส่วนสปสช.จะพิจารณาว่าอะไรที่ยังเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องแบกรับภาระเองถ้าหากมีความคุ้มค่าในการบรรจุเข้าไปอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์สปสช.จะผลักดันโดยใช้การศึกษาของ IHPP และHITAP มาช่วยในการตัดสินใจ” นพ.วินัย ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า”ถ้าประเทศมีระบบที่โปร่งใสมีข้อมูลวิชาการที่ช่วยให้ประชาชนตัดสินใจว่าเรื่องนี้คุ้มหรือไม่คุ้มสังคมก็จะได้ประโยชน์เพราะยังมีเทคโนโลยีมากมายที่ควรทำการศึกษาและมีหลายเรื่องประชาชนยังไม่รู้ข้อเท็จจริงดังนั้นการศึกษาความคุ้มค่าจะทำให้สังคมรับรู้ว่ามีองค์กรที่จะช่วยตอบโจทย์ให้กับประชาชนว่าเทคโนโลยีใดที่ประชาชนควรจะยอมจ่ายเงินเพราะมีความจำเป็นในระบบสุขภาพที่ประชาชนต้องจ่ายเองหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่จ่ายเงินแทนประชาชนก็สามารถนำผลการศึกษาของ IHPP และHITAP ไปใช้ก็จะเกิดประโยชน์กับส่วนรวม”หัวใจสำคัญที่สุดในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ฯครั้งนี้คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้แทนกลุ่มต่างๆได้แก่ผู้กำหนดนโยบายนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ภาคเอกชนภาคประชาสังคมและกลุ่มผู้ป่วยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอหัวข้อที่จะพัฒนาสิทธิประโยชน์ฯผ่านตัวแทน และภายในต้นเดือนพ.ค. 53 จะมีการคัดเลือกหัวข้อที่จะเพิ่มเติมในชุดสิทธิประโยชน์ฯเลขาธิการสปสช.ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า หากประชาชนอยากจะได้ประโยชน์ควรเสนอหัวข้อที่ควรจะเพิ่มเติมในชุดสิทธิประโยชน์ฯ (ซึ่งจะมีการเปิดรับทุกปีปีละ 2 ครั้งผ่านผู้แทนกลุ่มต่างๆ) เพื่อคัดเลือกและนำไปสู่การศึกษาและผลการศึกษาจะนำไปใช้พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ต่อไปซึ่งการพัฒนาฯในครั้งนี้เป็นปีแรกที่คัดเลือกตัวแทนเสนอเรื่องเข้ามาให้สปสช.พิจารณาทำให้เกิดไม่การมีส่วนร่วมโปร่งใสและหากมีการพิจารณาอย่างจริงจังจะทำให้เกิดประโยชน์กับสาธารณชน”สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ www.thaihealth.or.th

 

สอบถาม 0-2298-0500 ต่อ 1222

 

 

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

 

Update 27-04-53

 

อัพเดทเนื้อหาโดย : วีระ วานิชเจริญธรรม

Shares:
QR Code :
QR Code