การปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์
ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐ
แฟ้มภาพ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำการปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์ ให้แม่ๆ ได้รู้ วิธีดูแลตัวเองตอนท้อง วิธีดูแลเพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ที่แม่ต้องใส่ใจ ตั้งแต่วันแรกที่รู้ว่าท้อง
วิธีดูแลเพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย แนะนำการปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์เพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ว่า เด็กคืออนาคตที่สำคัญของประเทศที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การสร้างคนไทยคุณภาพจึงต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปีถือเป็นช่วงเวลาทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง เพราะโครงสร้างสมองจะมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายใยประสาทนับล้านโครงข่าย และการที่เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อกันทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์คนท้องต้องปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์อย่างไรการเตรียมความพร้อมของสตรีก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งยังเป็นตัวกำหนดสุขภาพและโรคในอนาคตได้อีกด้วย ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 12 สัปดาห์?คนท้องต้องกินวิตามิน ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก สัปดาห์ละ 1 เม็ด รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาหารต้องอุดมด้วยธาตุเหล็กและโฟเลต เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิด ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูก ในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี?แม่ต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดี ตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต คือ ช่วงที่อยู่ในท้องแม่ ช่วงเด็กอายุ 0-6 เดือน ช่วงเด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้หลากหลายครบ 5 หมู่ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด กินวิตามินบำรุงที่มีไอโอดีน เหล็ก โฟลิกทุกวัน หากขาดไอโอดีนลูกน้อยสมองพัฒนาไม่สมบูรณ์ ไอคิวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และต้องคอยดูแลฟัน ออกกำลังกาย นอนหลับวันละ 7-9 ชั่วโมงทุกวันหลังจากนั้นจะต้องเลี้ยงดูและพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟันการกินแม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน และกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัย เน้นข้าว เนื้อสัตว์สลับตับ ไข่ ผัก ผลไม้ ในปริมาณเพียงพอสัดส่วนเหมาะสม อาหารตามวัยบดละเอียดไปหยาบจนถึงอายุ 2 ปีขึ้นไป เพราะนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสมอง ซึ่งไม่มีอาหารใดเทียบได้
เด็ก 1-3 ปี ต้องกินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ในปริมาณเพียงพอ สัดส่วนเหมาะสม เน้นกินปลา ตับ ไข่ นม
การกอด พ่อแม่ควรกอดลูกทุกวันเพื่อให้เด็กรับรู้ว่าพ่อแม่รักและหวังดีเสมอ การอบรมเด็กต้องทำด้วยความรัก ความเข้าใจ และใช้เหตุผล ไม่ใช้อารมณ์บังคับ ฝืนใจ ไม่ดุด่าให้ลูกกลัวและเสียกำลังใจ คอยให้คำแนะนำ พูดชมเชยและให้รางวัลถ้าลูกทำได้ดี ซึ่งรางวัลสำหรับเด็กเล็กเพียงแค่กอด หอมแก้ม ปรบมือให้ เท่านี้เด็กก็ภูมิใจแล้ว
การเล่น ตั้งแต่แรกเกิดพ่อแม่ควรพูดคุย เล่นส่งเสียง ร้องเพลงกับเด็ก ช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน ให้เลือกของเล่นที่มีเสียงและเป็นภาพ เด็กคว้าจับได้ อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ให้เด็กได้นั่งเล่นของเล่น เช่น บล็อกตัวต่อนิ่มหรือลูกบอลเล็ก อายุ 2-3 ปี ให้เด็กเล่นรูปต่อเป็นภาพ หุ่นมือ ตุ๊กตา หรือกระโดดปีนป่าย อายุ 3-5 ปี ให้ลูกได้เล่นกับเด็กคนอื่น ใช้จินตนาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิตการเล่าพ่อแม่สามารถเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเมื่อเด็กอายุ 3 เดือน ให้เริ่มเล่านิทานให้ฟังเป็นประจำทุกวันต่อเนื่องจนกระทั่งเด็กโต เลือกนิทานที่มีภาพน่ารัก รูปสัตว์ ใช้เสียงสูง-ต่ำ หรือร้องเพลงประกอบขณะเล่า ควรเล่าให้จบเล่ม และเก็บหนังสือไว้ที่เดิมให้ลูกมองเห็นได้การนอนวิธีดูแลลูกเมื่อเข้าสู่วัยเรียนพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องดูแลให้เด็กกินอาหารถูกหลักโภชนาการ จัดอาหารหลักให้เด็กกินให้ครบทั้ง 3 มื้อ ไม่เว้นมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยเฉพาะมื้อเช้า เพราะจะทำให้เด็กความจำดี พัฒนาสมอง และควรจัดอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเด็ก 1. ใน 1 วัน เด็กควรกินข้าว/แป้ง 8 ทัพพี ผัก 4 ทัพพี ผลไม้ 3 ส่วน เนื้อสัตว์ 6 ช้อน กินข้าว นม 2 แก้ว 2. ฝึกเด็กในการกินอาหารให้ตรงเวลา ไม่กินจุบจิบ ไม่กินขนมก่อนอาหารมื้อหลัก 3. ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายชนิดที่มีแรงกระแทกของข้อ เช่น กระโดดเชือก กระโดดยาง กระโดดตบ เล่นบาสเก็ตบอล โดยทำต่อเนื่องไม่น้อยกว่าครั้งละ 10-15 นาที ทุกวัน วันละ 60 นาที หรือทำแบบสะสมเวลา 4. ลูกต้องนอนหลับสนิทอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง โดยลดปัจจัยเอื้อที่เป็นอุปสรรคต่อการนอนหลับ เช่น ไม่เล่นเกมก่อนนอน ไม่วางโทรศัพท์ไว้บนที่นอน หรือไม่เปิดทีวีทิ้งไว้ในห้องนอน เพื่อให้นอนหลับสนิท ซึ่งจะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) ที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การเพิ่มความสูง และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้เป็นไปอย่างปกติเฝ้าดูฟันปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมให้ลูกฉลาด แข็งแรง เติบโตสมวัยคือ การเฝ้าดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของลูกตั้งแต่ฟันซี่แรก รองอธิบดีกรมอนามัยเตือนว่า หากเด็กมีปัญหาฟันผุจะสร้างความเจ็บปวด การติดเชื้อ และปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
นอกจากนี้ การมีฟันผุหลายซี่ในปาก มีความสัมพันธ์กับภาวะแคระแกร็นของเด็ก และเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมากจะมีแนวโน้มว่าฟันแท้จะผุมากขึ้นเช่นกัน เมื่อไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด และอาการเจ็บปวดอาจทำให้ต้องหยุดเรียน ส่งผลกระทบต่อการเรียนด้วย.