‘การจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง’
ที่มา : แฟนเพจอีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา
ภาพประกอบจากแฟนเพจอีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา
แก้ปัญหาเด็กรายบุคคล ต้อง “จัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง”
โรงเรียนบ้านคูเมือง (อ่อนอนุเคราะห์) อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมรูปแบบการจัดการเรียนการศึกษา ภายใต้โครงการจัดการศึกษาที่เอา ชีวิตเป็นตัวตั้ง สร้างสุขภาวะสู่ความยั่งยืน จากการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เห็นคุณค่าต่อตนเอง และเรียนรู้อย่างมีความสุข พัฒนานักเรียนโดยใช้การจัดการศึ กษาแบบองค์รวม (Holistic Education) โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน และเพื่อพัฒนาระบบการวัดและประเ มินผลทางการศึกษาตามสภาพจริง ซึ่งมีโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วมจำนวน 57 โรงเรียน 9 จังหวัดในภาคอีสานเข้าร่วม ณ ห้องบอลรูมแกรนด์ โรงแรมฟอร์จูนริเวอร์ จ.นครพนม
นายโกวิท บุญเฉลียว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูเมือง (อ่อนอนุเคราะห์) อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า การจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง สร้างสุขภาวะสู่ความยั่งยืน มีแนวความคิดมาจากโรงเรียนเป็นองค์กรทางสังคมที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเฉพาะตัวผู้บริหารและครูเท่านั้น ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร ครู นักเรียนและครอบครัว ด้วยโรงเรียนแตกต่างจากองค์กรบริการอื่นๆ ตรงที่เป้าหมายในการทำงานหรือผลผลิตของโรงเรียนคือการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามจุดประสงค์ของหลักสูตร สะท้อนความคาดหวังของครอบครัวและสังคม
โดยครูคือกุญแจสำคัญเพราะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำงานตามความต้องการของหลักสูตรและโรงเรียน รวมทั้งต้องปฏิบัติและเชื่อมโยงความคิดรวบยอดจากหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดในการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนจึงต้องอาศัยพลังจากทุกภาคส่วนมาร่วมกัน ทั้งครอบครัว ชุมชนและสังคม
“การจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง สร้างสุขภาวะสู่ความยั่งยืน เป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของนักเรียน ซึ่งมาจากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียน ทั้งปัจจัยในครอบครัวที่เกิดจากปัญหาพ่อแม่หย่าร้าง ยาเสพติด ท้องในวัยเรียน และการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคปัจจุบันซึ่งเกิดจากสังคมออนไลน์ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อนักเรียน ทำให้เกิดปัญหาการเรียนไม่สามารถเรียนในระบบได้ เราจึงมีความเชื่อมั่นว่าหลายโรงเรียนประสบปัญหาดังที่กล่าวมา ดังนั้น จึงเกิดการรวมตัวของกลุ่มบุคคลขึ้นมาเพื่อคิดหาแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนให้มากที่สุด การดำเนินโครงการใช้ระยะเวลา 1 ปี แก้ปัญหานักเรียนเป็นรายบุคคล ส่งผลให้เด็กมีความสุข มีทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันได้ สิ่งที่เห็นเป็นที่ประจักษ์คือนักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข ครอบครัวก็เป็นสุขด้วย” นายโกวิท กล่าว
นายวัชร์โรจน์ ไชยพิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหานักเรียนหลากหลายมาก ทั้งในระดับโรงเรียนและระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยนักการศึกษาต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น การเอาชีวิตเป็นตัวตั้งเป็นเรื่องใหญ่มีความสำคัญเพราะทุกคนรักชีวิต เมื่อทุกคนรักชีวิตก็ต้องสร้างสิ่งดีๆ ให้ชีวิตทั้งชีวิตของตนเองและนักเรียน ฉะนั้น วันนี้เห็นความตั้งใจของทุกคนที่ต้องการทำเพื่อลูกนักเรียนทุกคน เราเป็นนักการศึกษามืออาชีพ จึงต้องแสวงหาสิ่งที่ดีในการสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของเด็กให้สามารถเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ สอดคล้องกับนโยบายของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายบุญรักษ์ ยอดเพชร) ที่ว่า คุณภาพมิใช่เฉพาะค่าเฉลี่ยผลรวมเท่านั้น แต่หมายถึงคุณภาพของผู้เรียนทุกคน เด็กต้องได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของเขา จึงขอให้ทุกคนมาร่วมกันคิด สร้าง แก้ปัญหาและผลักดันให้การศึกษาของไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศด้วยการสร้างศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดขึ้นทุกคน
ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า บทเรียนในอดีตเป็นการปฏิรูปการศึกษาแบบสูตรสำเร็จที่น่าตกใจมาก 19 ปีที่ผ่านมา เกิดปรากฎการณ์ฟังเสียงจากข้างบนตลอด โดยโครงสร้างระบบและกฎหมายที่การออกแบบจากบนลงล่างเป็นการสกัดกั้นนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น ถ้ายังตามระบบและโครงสร้างแบบเดิมจะไม่เกิดประโยชน์อะไรกับประเทศ ทั้งนี้ จากการที่ตนลงทำงานกับพื้นที่ 3-4 ปี พบกบฏในพื้นที่ที่มีความคิดนอกกรอบมีความกล้าหาญทางการศึกษา ซึ่งสามารถค้นพบนวัตกรรมในการแก้ปัญหาได้ แต่จุดอ่อนคือคนกลุ่มนี้มีความสุขในการทำงานของตนเอง แต่การผลักดันนวัตกรรมไปสู่ระดับประเทศมันกลับทำได้ยากมาก
ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ทิศทางการจัดการศึกษาจากนี้ ต้องดำเนินการใน 5 เรื่อง คือ
1.โรงเรียนล่างสู่บน 80:20 ยกเลิกการจัดการศึกษาจากบนลงล่าง ให้โรงเรียนเป็นฐาน 80% ผู้กำหนดนโยบายจากข้างบน 20% เนื่องจากโรงเรียนเป็นฐานคิดสาม ารถสร้างนวัตกรรมเชิงพื้นที่ได้ เหมาะสมกับเด็ก
2.ยึดผู้เรียน ชีวิตเด็ก ความต้องการ ความสนใจ ทำให้เด็กเป็นวิถีพลเมืองที่ดี ตื่นตัวแก้ปัญหาได้ คิดอย่างเป็นระบบมีเหตุผล ให้เด็กรักผูกพันกับท้องถิ่น โดยครูต้องมีกลอุบายให้เด็ กมาเรียนรู้ด้วยกัน ลดช่องว่างระหว่างเด็กกับผู้ ใหญ่ทำให้คนสองวัยอยู่ด้วยกั นได้เป็นการส่งต่อระหว่างคนรุ่ นต่อรุ่นที่สำคัญมาก
3.กองทุนลดความเหลื่อมล้ำ จะเกิดประโยชน์กับเด็กยากจนด้อย โอกาส ประมาณ 3.17 ล้านคน ทำให้เด็กยากจนได้รับโอกาส หลุดพ้นจากวงจรโง่ จน เจ็บ ซึ่งหากไม่ทุ่มเทไม่ซื้อใจการไว้วางใจจากเด็ก การกดทับชีวิตของเด็กไม่สามารถหลุดพ้นได้
4.หลักสูตรสมรรถนะ ทักษะ มากกว่าความรู้ ออกแบบสมรรถนะในเรื่องเนื้ อหาให้น้อยลง และเพิ่มหลักสูตรภูมิสังคม 60:40 เน้นเด็กลงมือปฏิบัติ ซึ่งเหมาะสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0 การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ
5.กลุ่มโรงเรียน อำเภอจัดการตนเอง ให้อำนาจการตัดสินใจส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอ บริหารจัดการได้ด้วยตนเองเป็นเข ตการศึกษาพิเศษ มีอิสระ อำนาจ เสรีภาพมากขึ้น
นางเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. กล่าวว่า การศึกษาเป็นปัจจัยทางสังคมปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนั้น การทำงานเรื่องของเด็ก เยาวชนและครอบครัว จึงหนีไม่พ้นการทำงานร่วมกับโรงเรียน ซึ่งระบบการพัฒนาของโรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญ โดยช่วงแรก สสส.ทำงานผ่านโรงเรียนที่เน้นกิจกรรมเชิงประเด็นในเรื่องเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อุบัติเหตุ การออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งประสบความสำเร็จระยะสั้น
“ทุกโครงการที่ลงมาที่โรงเรียนเป็นลักษณะโครงการ ซึ่งมีไม่น้อยและมาจากกระทรวง องค์กร หน่วยงานต่างๆ เพราะทุกคนมองว่าโรงเรียนคือฐาน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเยาวชน ซึ่งไม่ผิด แต่ไม่ยั่งยืน หากหวังถึงความยั่งยืนในการทำงานต้องทำให้โรงเรียนที่มีศักยภาพอยู่แล้ว ได้มีโอกาสในการทำงานด้วยวิธีคิดของตนเองโดยมุ่งที่เป้าหมายเดียวกัน ฉะนั้น หลักการของโรงเรียนสุขภาวะในระยะหลัง จะไม่เป็นการทำงานเชิงประเด็นกับโรงเรียน แต่จะให้โรงเรียนใช้กระบวนการทั้งระบบในการพัฒนาโรงเรียน ทั้งการเรียนการสอน กิจกรรมนักเรียนและการออกแบบการ พัฒนา
โดยโครงการนี้ เป็นโมเดลการพัฒนาโรงเรียนโดยตั วโรงเรียนกับเครือข่าย ดังนั้น วิธีคิดของ สสส.ขณะนี้ จะพยายามไม่ทำให้เรื่องสุขภาพเป็นงานเชิงประเด็น แต่ต้องการให้โรงเรียนได้มีโอกาสจัดกระบวนการพัฒนาโรงเรียนเอง แต่วัดผลการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเด็กและเยาวชน” นางเพ็ญพรรณ กล่าว