กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย ช่วยเด็กไทยเท่าทันสื่อร้าย

        เยาวชน ยื่นหนังสือ ต่อ ครูหยุย วอนรัฐบาลใหม่เร่งผลักดันกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ ด้านครูหยุย รับปากนำ พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อฯ เข้าสู่กาพิจารณาในสภานิติบัญญัติ ปีหน้าได้ใช้กองทุนแน่นอน


/data/content/25930/cms/e_ahjklmrwx239.jpg


        เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 57 ที่โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ เครือข่ายสื่อเพื่อเด็ก ร่วมกับเครือข่ายสื่อเด็กเปลี่ยนโลก และมูลนิธิเพื่อเยาวชนเพื่อการพัฒนา จัดเสวนา "กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ช่วยเด็กไทยเท่าทันสื่อร้าย…ได้จริงหรือ" ทั้งนี้ในงานมีกลุ่มเยาวชนร่วมกันแสดงพลังเชิงสัญลักษณ์" ป้ายขอบตาด้วยสี ดำ" เพื่อสะท้อนปัญหาสื่อร้ายทำลายเด็กและเยาวชน จากนั้นตัวแทนเยาวชนได้ยื่นข้อเสนอถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสมาชิก สนช. ผ่านทางนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช. เพื่อให้เร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. … ฉบับประชาชนด้วย


        นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กล่าวว่า กว่า10 ปีกับอีก 7 รัฐบาลแล้วที่ภาคประชาชน นักวิชาการ เครือข่ายครอบครัวและเครือข่ายเด็ก ได้ร่วมกันสนับสนุนผลักดันจนเกิดเป็นร่าง พ.ร.บ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. … ฉบับประชาชน โดยเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.นี้มีทั้งงานวิจัย ผลการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆกว่า 20 ครั้ง และการเข้าชื่อ12,500 รายชื่อเพื่อสนับสนุน อีกทั้งการผ่านขั้นตอนของคณะกรรมาธิการและรัฐสภาแล้ว ถือว่าเนื้อหามีความสมบูรณ์ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจึงทำให้ร่างนี้ตกไป/data/content/25930/cms/e_hikmnosv1489.jpg


      "ปัจจุบันเรามีรัฐบาลใหม่และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ปรากฏว่ากระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอร่างพ.ร.บ.อีกฉบับเข้ามา ซึ่งเป็นร่างที่ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม ดังนั้นเราจึงไม่เห็นด้วยและเกิดการตั้งคำถามว่าในเมื่อพ.ร.บ.ฉบับภาค ประชาชนมีความสมบูรณ์แล้ว ทำไมต้องไปตั้งต้นที่ศูนย์ใหม่ จึงอยากเรียกร้องให้ สนช.และคณะรัฐมนตรี พิจารณาอย่างรอบด้านและนำร่างพ.ร.บ.ฉบับภาคประชาชน กลับมาเข้าวาระในสมัยนี้ด้วย เนื่องจากร่างฉบับนี้จะทำให้เด็ก เยาวชน ครอบครัว รวมไปถึงชุมชนได้มีสื่อดีๆ มีช่องทางการเข้าถึงสื่อ ทั้งสื่อมวลชน และสื่อชุมชน ที่มีเนื้อหาและคุณค่าหลากหลายเหมาะกับเด็กและเยาวชน รวมถึงเกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ซึ่งแตกต่างจากร่างที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ เพราะสนับสนุนเพียงผู้ประกอบการสื่อที่เป็นมืออาชีพ และไม่มีกระบวนการสรรหาคัดเลือกคณะกรรมการ ไม่ยอมระบุงบประมาณการเงินให้ชัดเจน" นางสาวเข็มพร กล่าว


       ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้ภาคประชาชนจะเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบ ต่อไป และอยากเชิญชวนให้ประชาชนได้ร่วมติดตามร่างพ.ร.บ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้าง สรรค์ พ.ศ. …ฉบับประชาชน เพื่อสนับสนุนให้กลายเป็นสื่อนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ทุกคนได้เข้าถึง เชื่อว่ากองทุนนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนของกระบวนการใช้สื่อเพื่อสร้างการเรียน รู้ ซึ่งนโยบายและภารกิจของกองทุนจะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวให้ได้ ใช้สื่อที่ปลอดภัยทั่วถึงและกว้างขวาง นอกจากนี้เราพยายามเรียกร้องให้กองทุนมีความเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้โครง สร้างของ


       นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) กล่าวว่า การนำเสนอเรื่องเพศต่อเด็ก ซึ่งหากอยู่ในช่วงวัยรุ่น เด็กนั้นสนใจต่อเรื่องนี้อยู่แล้ว การนำเสนอเรื่องความรุนแรง และการนำเสนอเรื่องการบริโภค


     /data/content/25930/cms/e_behlnouxy169.jpg "เมื่อมีการนำเสนอผ่านสื่อแบบนี้สังคมต้อง สร้างภูมิคุ้มกันเรื่องสื่อ ให้เยาวชนได้เท่าทัน รวมถึงต้องใช้กฎหมายเข้ามาร่วมกำกับดูแลการนำเสนอ และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นอีกทางหนึ่งที่จะสนับสนุนสื่อดีๆ ให้มากขึ้น โดยสนับสนุนให้กับผู้ผลิตสื่อรายย่อย รองรับกลุ่มคนทุกกลุ่ม และความหลายหลากทั้งด้านวัฒนธรรม อายุ และเพศ และมีช่องทางในการพัฒนาสื่อดีๆ ในการสร้างแรงบันดาลใจให้คนได้มากขึ้น เช่นละครใบ้ การพ่นสีกำแพง สื่อต่างๆเหล่านี้จะเป็นสื่อที่ช่วยดึงเด็กเข้าออกจากสื่อไม่ดีทั้งหลายได้"


      นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเป็นอิสระของกองทุนว่า ควรจะเป็นกองทุนที่เป็นอิสระจากราชการ ในการบริหารงาน อย่างไรก็ตามร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะผลักดันอย่างไร แต่รับปากว่าจะนำ พ.ร.บ.ฉบับภาคประชาชนเข้าร่วมพิจารณาคู่ขนานกันไป เชื่อว่ารัฐบาลสนใจในเรื่องที่มีประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ จึงมีแนวโน้มเป็นไปได้สูงที่จะผ่านการพิจารณาร่างฉบับนี้แน่นอน


      ด้าน นางณัฐวดี ณ มโนรม นักสังคมสงเคราะห์เชี่ยวชาญ สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า ปรากฎการณ์เด็กติดสื่อทั้งโทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต เพราะเข้าถึงง่าย มีให้เลือกชมหลากหลายช่องทาง ถูกปลุกเร้าในเชิงลบ ยากต่อการควบคุม ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ครอบครัวไม่มีเวลา ครอบครัวอ่อนแอ ดังนั้นเมื่อเด็กใช้เวลาอยู่กับสื่อเหล่านี้มากเกินไปจะถูกชักจูงได้ง่าย เช่น ในกลุ่มเด็กที่เหงาหรือรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า หากผู้ปกครองไม่สอนหรือไม่มีเวลาใส่ใจ พฤติกรรมอารมณ์ของเด็กเหล่านี้จะกลายเป็นปัญหาสังคมยากต่อการแก้ไข


      "สิ่ง ที่น่าห่วงคือเกือบ100% เด็กที่ถูกทารุณกรรมทางเพศมาขอรับการรักษา มีสาเหตุมาจากสื่อเป็นปัจจัยร่วมแทบทั้งสิ้น เช่น ใช้สื่อโซเชียลพูดคุยกัน นัดเจอกัน จนสุดท้ายถูกล่วงละเมิดทางเพศ บางรายมีปัญหาตั้งครรภ์ตามมา ที่สลดใจคือกรณีอายุน้อยสุดเด็ก7เดือน ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนใกล้ชิด โดยพบว่าผู้ก่อเหตุมีปัจจัยกระตุ้นมาจากการใช้สื่อและสารเสพติด หรือแม้กระทั้งความรุนแรงที่มาจากสื่อจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตและบาดเจ็บ พิการ" นางณัฐวดี กล่าว


      นางณัฐวดี กล่าวเพิ่มเติมว่า เด็กที่เข้ามารับการรักษากับทางโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะเป็นปลายเหตุและยากต่อการรักษาแล้ว เช่น เด็กติดเกมมีพฤติกรรมอารมณ์รุนแรง ไม่ไปเรียนถูกออกจากระบบการศึกษา โดยแนวทางที่เรารักษาบำบัดคือ ปรับพฤติกรรมใหม่ทั้งการเลี้ยงดูของครอบครัว สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และที่สำคัญสื่อต่างๆต้อง/data/content/25930/cms/e_cdegnopsxy69.jpgตระหนักและรับผิดชอบสังคม รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองผลิต ขณะเดียวกันครอบครัวต้องเข้มแข็งตระหนักในปัญหาสามารถจัดการกับเด็กตั้งแต่ เริ่มต้นไม่ปล่อยให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ทั้งนี้หากมีการผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็ถือเป็นเรื่องดีเพราะมีความสำคัญ อย่าลืมว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผลิตสื่อเชิงบวก และขยายเข้าไปสู่ระบบการศึกษา ระบบครอบครัว ควรมีกิจกรรมในเชิงป้องกันให้มากขึ้น


      นางสาวพลอยรวี โชคสุธานันท์ ตัวแทนเยาวชน มองผลกระทบจากสื่อว่ากลุ่มเยาวชนนั้นได้รับผลกระทบจากสื่อจริง เกิดสังคมก้มหน้า ดูและเลียนแบบสื่อ ตนจึงรวมกลุ่มกับเพื่อนผลิตสื่อเป็นเป็นช่องทางหนึ่งในการนำเสนอเสียงของ เยาวชน เปิดให้กลุ่มเพื่อนได้ดู


      "อยากผลิตสื่อออกไปให้คนชม และคิดว่าการเกิด พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มและสานฝันแรงบันดาลใจ และช่วยขยายแนวคิดการผลิตสื่อดีๆ สู่เยาวชน อยากให้มี พ.ร.บ.เกิดขึ้นจริงๆ" นางสาวพลอยรวีกล่าว


 


 


       ที่มา: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

Shares:
QR Code :
QR Code