26 มี.ค. 67 1,155 ครั้ง “ความรุนแรง” ไม่ใช่แค่บาดแผลที่มองเห็นด้วยตา ขณะที่ผู้หญิง 736 ล้านคนทั่วโลก เกือบ 1 ใน 3 เคยถูกระทำรุนแรงทั้งร่างกายและทางเพศ จากคู่รักหรือสามี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ดังนั้นความรุนแรงทางเพศ นับเป็นหนึ่งในการละเมิดสิทธิทางมนุษยชน เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และส่งผลเสียต่อการพัฒนา
08 ธ.ค. 63 6,191 ครั้ง แม้บ้านจะได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย แต่อาจไม่ใช่กับทุกครอบครัว เพราะจากข้อมูลของ ศูนย์ปฏิบัติการสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พบว่า สถิติของผู้กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว ช่วงเดือน ต.ค. 2562 - เม.ย. 2563 ทั้งสิ้น 141 ราย แบ่งออกเป็น ความรุนแรงทางร่างกาย 87% ทางเพศ 9% และทางจิตใจ 4% โดยมีปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ยาเสพติด 35% บันดาลโทสะ 33% หึงหวง 25% สุรา 17% เท่ากับการล่วงละเมิดทางเพศ 17% อาการจิตเภท 9% และจากเกม 2% ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ภาคกลาง อีสาน ใต้ เหนือ และ กทม. ตามลำดับ ขณะที่ สถิติความรุนแรงในครอบครัว ตั้งแต่ปี 2559 - ถึง เม.ย. 2563 พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคิดเป็น 1,400 ราย/ปี หรือ 118 ราย/เดือน เฉลี่ย 4 ราย/วัน