22 ก.ย. 65 1,118 ครั้ง กรมควบคุมโรค ห่วงสุขภาพประชาชนในช่วงนี้มีน้ำท่วมหลายพื้นที่ ระมัดระวังโรคที่มากับน้ำท่วม แนะประชาชนดูแลตนเองและคนในครอบครัวสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารโดยยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” ป้องกันโรคอุจจาระร่วง หากมีอาการท้องร่วงให้ดื่มเกลือแร่ป้องกันร่างกายขาดน้ำ
22 ก.ย. 65 15,640 ครั้ง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ห่วงประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนในพื้นที่ฝนตกหนักและมีน้ำท่วมขัง ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินทาง ไม่ควรขับรถเร็วขณะฝนตกหรือถนนเปียก พร้อมแนะ วิธีขับขี่รถให้ปลอดภัยช่วงน้ำท่วม
19 ก.ย. 65 1,660 ครั้ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะอาหารปรุงสำเร็จที่นำไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ควรเป็นอาหารที่มีลักษณะแห้งไม่ใส่กะทิหรือของหมักดอง และไม่ควรปรุงอาหารไว้ล่วงหน้าเกิน 4 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารบูดเสีย
11 ก.ย. 65 19,657 ครั้ง รู้ไหมว่าสาเหตุอันดับแรกของการเกิดอุบัติเหตุท้องถนนในประเทศไทยคือ ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน มาเรียนรู้ข้อเท็จจริงของความเร็วขณะขับขี่และวินัยในการขับขี่ที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ยิ่งตอนฝนตก ต้องทำอย่างไรที่จะลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุให้มากที่สุด
11 ก.ย. 65 2,097 ครั้ง กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง 6 โรคผิวหนังยอดฮิต ที่มากับช่วงหน้าฝน โรคน้ำกัดเท้า โรคกลาก และเกลื้อน โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบจากแมลงกัดต่อย โรคเท้าเหม็น และสิวเห่อ พร้อมอธิบายถึงสาเหตุ และการดูแลรักษา หมั่นสังเกตตนเองหากมีอาการผิดปกติทางผิวหนัง แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้อง
27 ต.ค. 64 2,319 ครั้ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชวนทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด พร้อมแนะนำ 3 ขั้นตอน กำจัดเชื้อราในบ้านที่เกิดจากน้ำท่วมขัง
06 ต.ค. 64 3,012 ครั้ง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ห่วงประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ระมัดระวังการจมน้ำ ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต และสัตว์มีพิษกัดต่อย สาเหตุการเสียชีวิตจากน้ำท่วมที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากการจมน้ำ เนื่องจากถูกน้ำพัด น้ำท่วมฉับพลัน และเดินลุยน้ำ แนะวิธีป้องกันจมน้ำ ให้ยึด 4 ห้ามและ 4 ให้ อาทิ ห้ามออกหาปลาช่วงน้ำไหลหลาก ห้ามขับรถฝ่าน้ำท่วม ห้ามปล่อยเด็กเล่นน้ำช่วงน้ำเริ่มลด ห้ามแตะสวิตช์ไฟ ปลั๊กไฟขณะตัวเปียกหรือยืนแช่น้ำอย่างเด็ดขาด เสี่ยงเกิดไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และให้ติดตามข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐอย่างใกล้ชิด
06 ต.ค. 64 2,534 ครั้ง “อ.เสรี” ห่วงน้ำท่วมซ้ำซ้อนวิกฤตโควิด-19 เผย IPCC ส่งสัญญาณเตือนสีแดง ไทยมีฝนเพิ่ม 2-3 เท่า ส่งผลน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ พ่วงน้ำทะเลหนุนสูง โอกาสซ้ำรอยมหาอุทกภัยเหมือนปี 54 มีแค่ 10% เตือนไม่ควรประมาท แนะรัฐเร่งคัดแยกผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยง ตั้งศูนย์อพยพรองรับ พร้อมดูแลพื้นที่การเกษตร นิคมอุตสาหกรรม
05 ต.ค. 64 3,203 ครั้ง กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง แนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วย “โรคน้ำกัดเท้า” ในพื้นที่อุทกภัย หรือมีน้ำท่วมขัง ซึ่งถือเป็นโรคที่ประชาชนไม่ควรละเลย และควรมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่าง ๆ ที่จะตามมาได้
28 ก.ย. 64 2,860 ครั้ง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงสุขภาพผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม แนะนำ 5 ทางรอดปลอดโรคแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ให้เข้าใจในการจัดการด้านสุขภาพและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมหลังประสบภัยพิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี
21 ก.ย. 64 2,175 ครั้ง จากสถานการณ์น้ำท่วมในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุดีเปรสชัน "โกนเซิน" ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยกรมอนามัยได้มอบหน่วยงานส่วนกลางจัดเตรียมสิ่งของและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำและการจัดการขยะ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรคที่จะตามมา โดยเบื้องต้นได้จัดส่งชุดนายสะอาด 1,000 ชุด ประกอบด้วย ถุงดำขนาดเล็ก ถุงดำขนาดใหญ่ หยดทิพย์ เจลล้างมือ สารส้มก้อน น้ำยาล้างจาน ถุงซิปล็อก และเอกสารคำแนะนำต่าง ๆ พร้อมสาธิตวิธีการใช้ให้กับพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย
15 ต.ค. 63 1,433 ครั้ง ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากพายุหลิ่นฟา ส่งผลให้บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังสูง หรือน้ำป่าไหลหลาก อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับกลุ่มเสี่ยงที่ควรเฝ้าดูแลเป็นพิเศษ คือ เด็กผู้สูงอายุ และผู้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เสี่ยงต่อการจมน้ำ การพลัดตกลื่นล้ม การถูกสัตว์มีพิษต่อย หรือการถูกไฟฟ้าดูด ดังนั้นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่ปล่อยให้เด็กเล่นน้ำหรืออยู่ใกล้น้ำ และไม่ชะล่าใจปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง
01 ต.ค. 63 1,844 ครั้ง ในสิ่งแวดล้อมมีเชื้อราลอยอยู่ในอากาศทั่วไป ซึ่งมีทั้งชนิดก่อให้เกิดโรคและไม่ก่อให้เกิดโรค เชื้อราบางชนิดอาจทำให้เกิดโรคได้ถ้าร่างกายอ่อนแอ อย่างไรก็ตามคนที่มีภูมิต้านทานปกติระบบร่างกายจะมีกลไกภูมิคุ้มกัน เช่น ระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเข้าไปจะมีขนจมูกช่วยกรองจึงสามารถลดเชื้อต่างๆ ได้แต่ในคนที่มีอาการภูมิแพ้อาจจะมีน้ำมูกไหล หายใจไม่ออก น้ำตาไหล หอบหืด มีผื่นผิวหนังอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมสปอร์ของเชื้อราโดยใช้ผ้าปิดปากหรือจมูก ส่วนมากเชื้อราเหล่านี้จะก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ทั้งทางระบบหายใจและผิวหนัง ซึ่งจะเกิดเฉพาะคนที่แพ้เท่านั้นไม่เกิดกับคนทั่วไป จึงไม่ควรกังวลเกินไป
03 ส.ค. 63 1,171 ครั้ง สั่งการให้สถานพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง จากพายุโซนร้อน “ซินลากู” ระหว่างวันที่ 2 ถึง 4 สิงหาคม 2563 ตามประกาศเตือนภัยกรมอุตุวิทยา ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
30 ก.ย. 62 2,139 ครั้ง สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ชี้ภาวะอุทกภัย และน้ำท่วมขังทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนังจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา แนะหลีกเลี่ยงการแช่น้ำนาน ๆ และทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่และน้ำสะอาดรวมทั้งทำให้แห้งอยู่เสมอ
30 ก.ย. 62 1,011 ครั้ง ขอให้ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมระมัดระวัง 3 โรคสำคัญหลังน้ำลด ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคไข้ฉี่หนู และโรคติดต่อนำโดยยุงลาย