PM2.5 คืออะไร? ต้องเตรียมรับมืออย่างไร
ที่มา: โรงพยาบาลศิริราช
หมอกเป็นกลุ่มของละอองน้ำที่มีความขึ้น ความเย็น ควันเป็นการสะสมของฝุ่นละอองและก๊าซต่าง ๆ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ ไนโตรเจนออกไซต์ คาร์บอนมอนนอกไซต์ และโอโชน รวมไปถึงจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรรม ซึ่งหากมองด้วยตาเปล่าอาจแยกไม่ค่อยออก
PM คืออะไร?
PM หรือ particulate matter คือ ฝุ่นละอองที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ มีอนุภาคขนาดเล็ก หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (PM10) จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น เคืองตา เยื่อบุตาอักเสบ ไอ เจ็บหน้าอก เป็นต้น
คำฝุ่นละอองที่อยู่ในชั้นวิกฤตอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย?
ค่าฝุ่นละอองที่มีอนุภาคเล็กกว่า 5 ไมครอน (PM 2.5) สามารถแทรกซึมเข้าไปในถุงลมและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจในระยะยาว
โรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ?
อาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ได้ในระยะยาว เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจลืมเหลว เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้
- อนุภาคของฝุ่นละอองที่ได้รับ
- ระยะเวลาของการได้รับหรือสัมผัส
- กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ
การดูแลตัวเองจากมลพิษทางอากาศ
- หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูง เช่น ถนนที่มีจราจรติดขัด
- ไม่ควรออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- สวมใส่หน้ากากที่กรองฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ เช่น หน้ากาก N95
- ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านมลพิษทางอากาศเป็นประจำ เช่น เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ