Happy Model สร้างองค์กรให้มีสุข

กล่าวได้ว่าการพัฒนาองค์กรเพื่อเป็น "องค์กรสมรรถนะสูง" หรือ High Performance Organization: HPO นอกจาก "ผู้นำ" ต้องมีความมุ่งมั่น มีแนวคิด มีเครื่องมือที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีศักยภาพและประสิทธิภาพ ฯลฯ เพื่อไปสู่ความสำเร็จขององค์กรแล้ว


Happy Model สร้างองค์กรให้มีสุข thaihealth


อีกประการสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการขับเคลื่อน คือ "บุคลากร" ผู้ปฏิบัติงานเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้แก่ผู้รับบริการ ซึ่งถ้าบุคลากรในหน่วยงาน "อยู่ดีมีสุขมีความผูกพันซึ่งกัน"  ย่อมมีส่วนสำคัญในการสร้างความสุขในที่ทำงาน เนื่องจากแต่ละคนจะช่วยพัฒนาผลักดันให้องค์กรเดินไปสู่จุดหมาย จนกลายเป็นความสุขระดับประเทศ หรือ ความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ Gross National Happiness : GNH ที่สามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย เพื่อปรับปรุงสภาวะที่ประชาชนไม่มีความสุขได้


เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.ดร.จิรประภา อัครบวร อาจารย์ประจำคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะบอกถึงความสำคัญในการสร้างการอยู่ดีมีสุขและความผูกพันระหว่างบุคลากรให้เกิดขึ้นในองค์กร ผ่านหนังสือ "Emo-meter (Employee Engagement on meter) เครื่องมือการวินิจฉัยความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากร" กลไกสำคัญช่วยสร้างองค์กรสมรรถนะสูงและทำให้บุคลากรอยู่ดีมีสุขและผูกพันซึ่งกันได้อย่างแท้จริง  โดยได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) และ สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์การ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


อย่างไรก็ดี ก่อนไปถึงสาระสำคัญของเครื่องมือ Emo-meter รศ.ดร.จิรประภา ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า เกณฑ์การพัฒนาองค์การสู่มาตรฐาน HPO มีต้นแบบมาจาก รางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคอล์มบอลค์ริจ หรือ Malcolm Baldrige Happy Model สร้างองค์กรให้มีสุข thaihealthNational Quality Award : MBNQA ของประเทศสหรัฐฯ จากนั้นได้แพร่หลายสู่นานาประเทศรวมถึงประเทศไทย ที่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับบริบทจนกลายเป็น รางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award : TQA ในสาขาต่างๆ เช่น มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ หรือ Hospital Accreditation: HA การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SEPA) และ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (EdPEx)


"ปัจจุบันนานาประเทศต่างให้ความสนในการวัดความอยู่ดีมีสุขและความสุขของประชากร ซึ่งการพัฒนาองค์กรไปสู่มาตรฐาน HPO ก็เป็นหนึ่งปัจจัยช่วยให้คนไทยมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การมีความสุขในชีวิตประจำวัน แต่ก่อนทำให้องค์กรหรือหน่วยงานของตนเป็นองค์กรสมรรถนะสูงได้นั้น จำเป็นต้องการมีวินิจัยว่าองค์ประกอบที่นำไปสู่มาตรฐานดังกล่าวมีครบหรือไม่" รศ.ดร.จิรประภาแจง พร้อมกล่าวว่า


ดังนั้น ทั้งผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานด้านทรัพยากรมนุษย์ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรแต่ละกลุ่ม โดยเริ่มจากกำหนดกลุ่มบุคลากรที่สำคัญในองค์กร และทำความเข้าใจกับปัจจัยที่ทำให้บุคลากรเหล่านั้นเกิดความผูกพันกับองค์กร พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการด้านชีวิตและการทำงานของบุคลากรที่มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความอยู่ดีมีสุขในระดับบุคคล เพื่อให้บุคลากรอยู่ในองค์การโดยได้รับการดูแลอย่างดี รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ และอยากทุ่มเทกายใจในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งเครื่องมือวินิจฉัยองค์กรระดับตัวบุคคล หรือ Emo-meter จึงเป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้องค์กรสามารถค้นหาคำตอบเหล่านั้นได้


"เราคงไม่สามารถทำให้ทุกคนในองค์กรพอใจกับทุกเรื่องที่องค์กรจัดสรรให้ หากแต่องค์กรควรรับรู้ว่าบุคลากรส่วนใหญ่Happy Model สร้างองค์กรให้มีสุข thaihealthรู้สึกอย่างไร และให้ความสำคัญกับเรื่องใด เครื่องมือ Emo-meter เป็นแบบสำรวจ


ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้องค์กรได้รับทราบถึงระดับความอยู่ดีมีสุขและผูกพัน รวมถึงระดับการรับรู้ต่อปัจจัยสนับสนุนจากองค์กรที่บุคลากรให้ความสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขและผูกพันของบุคลากร ทั้งในภาพรวมและจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล"


อาจารย์ประจำคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นิด้า อธิบายว่า  Emo-meter ประกอบด้วย 3 อาการสำคัญ หรือ 3Bs ได้แก่ 1.ความอยู่ดี มีสุข (Well-Being: BE) หมายถึง บุคลากรรู้สึกได้รับการดูแลจากองค์กรเป็นอย่างดี ทำให้อยากที่จะอยู่องค์กรนี้ไปอีกนาน 2.ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญขององค์กร (Belonging: BL) หมายถึง บุคลากรรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแห่งนี้ และ 3.ความอยากทุ่มเทกายใจทำงานให้แก่องค์การอย่างเต็มที่ (Doing the Best: BS) หมายถึง บุคลากรอยากทำงานและตั้งใจทำงานด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทความรู้ความสามารถ ในการทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งจะแสดงผลในรูปแบบของมิเตอร์


"หากองค์กรสามารถสร้างบรรยากาศที่ช่วยส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขและผูกพันของบุคลากรได้ ก็จะสามารถดึงดูดคนเก่งและดีเข้ามาในองค์กร และรักษาบุคลากรที่เก่งและดีให้อยู่กับองค์การต่อไป รวมถึงกระตุ้นให้บุคลากรมีแรงจูงใจในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ อันเป็นเป้าหมายสำคัญของงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" รศ.ดร.จิรประภา ระบุ


สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานใดที่สนใจพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ผ่านเครื่องมือ Emo-meter สามารถคลิกดูรายละเอียดและดาวโหลดหนังสือ Emo-meter (Employee Engagement on meter) เครื่องมือการวินิจฉัยความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากร ซึ่งในเล่มยังมีผลของโครงการนำร่องทดลองใช้ Emo-meter บริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรโรงพยาบาลรัฐ 15 แห่งทั่วประเทศ ได้ที่เว็บไซต์ www.happy8workplace.com


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code