ข้อมูลองค์กร
สสส.จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544
มีหน้าที่หลักในการสนับสนุน
- ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทย
ทำงานสนับสนุนและร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมมหาวิทยาลัย และชุมชนท้องถิ่น ผ่านยุทธศาสตร์ไตรพลัง ที่ประกอบด้วย
พลังปัญญา พลังสังคม และพลังนโยบาย ทำงานสอดประสานร่วมกันขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพ
ให้ทุกคนในสังคมไทยมีสุขภาพดีครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ กาย จิต ปัญญา และสังคม
- วิสัยทัศน์
ทุกคนบนแผ่นดินไทย
มีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
ที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี
วิสัยทัศน์
ทุกคนบนแผ่นดินไทย
มีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
ที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี
พันธกิจ
จุดประกาย กระตุ้น สาน และ เสริมพลังบุคคลและองค์กรทุกภาคส่วนให้มีขีดความสามารถและสร้างสรรค์ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ
- พันธกิจ
จุดประกาย กระตุ้น สาน และ เสริมพลัง
บุคคลและองค์กรทุกภาคส่วน
ให้มีขีดความสามารถและสร้างสรรค์
ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ
- รายรับของกองทุนฯ
กฎบัตรออตตาวา 5 ข้อ
(Ottawa charter forhealth promotion)
บทเรียนความสำเร็จของการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพกว่า 20 ปี ในประเทศไทย ที่สะท้อนผ่านหลากหลายโครงการที่มุ่งควบคุมปัจจัยเสี่ยงภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เช่น การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอุบัติเหตุ เป็นต้นโครงการเหล่านี้ เป็นการกำหนดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับแนวคิด
การสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวาเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพกฎบัตรออตตาวา 5 ข้อ
- การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ทำให้ประเด็นหรือผลกระทบทางสุขภาพอยู่ในความตระหนักและหน้าที่รับผิดชอบของผู้กำหนดนโยบาย
- การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ จัดการเพื่อให้สิ่งแวดล้อมในระดับต่างๆ สามารถเอื้อหรือส่งเสริมซึ่งกันและกันต่อสุขภาพได้
- การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ดึงศักยภาพของบุคคลและทรัพยากรในชุมชน ให้สามารถ ช่วยเหลือตนเอง สนับสนุนซึ่งกันและกัน กำหนดอนาคตของตนเองได้
- การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ให้ข้อมูลเสริมสร้างความรู้ ด้านสุขภาพ และการพัฒนา ทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างให้บุคคลในทุกช่วงวัย มีความสามารถในการควบคุมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้เอง
- การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการปรับบริการสุขภาพ (ที่มากกว่าการดูแลรักษา) เพื่อสนับสนุนบุคคลและชุมชนที่ต้องการมีสุขภาพดีขึ้น เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมสนับสนุนการดูแล สุขภาพอย่างเชื่อมโยงกัน
-
รูปแบบการทำงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส.
(Working Model: Health Promotion)
รูปแบบการทำงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ยึดแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพร่วมสมัยที่ประยุกต์จากตัวแบบการสร้างเสริมสุขภาพ
ของ Green and Tones 2012 และ 5 กลยุทธ์สร้างเสริมสุขภาพตาม กฎบัตรออตตาวา มาเป็นพื้นฐาน ตามตัวรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ
ได้แสดงองค์ประกอบต่างๆ และเส้นทางความสัมพันธ์ของการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีครบ 4 มิติ
และรังสรรคนวัตกรรม
สนับสนุนงานวิชาการและรังสรรค์นวัตกรรม
ชี้แนะสังคม
สื่อสาร จุดประกาย ชี้แนะ สังคม
ชุมชนและองค์กร
พัฒนาศักยภาพบุคคล ชุมชน และองค์กร
นโยบายสังคมและสถาบัน
พัฒนาระบบกลไกทางนโยบาย สังคม และสถาบัน
สานเสริมพลังเครือข่าย
- ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ
ยุทธศาสต์การทำงานของ สสส. ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์เฉพาะ
1) สนับสนุนงานวิชาการและรังสรรค์นวัตกรรม
2) พัฒนาศักยภาพบุคคล ชุมชน และองค์กร
3) สานเสริมพลังเครือข่าย
4) พัฒนากลไกทางนโยบาย สังคม และสถาบัน
5) สื่อสาร จุดประกาย ชี้แนะ สังคม อยู่บนฐานของการบูรณาการตามยุทธศาสตร์หลัก
“สานสามพลัง” หรือ “ไตรพลัง” คือพลังปัญญา พลังนโยบาย และพลังสังคม ทำงานสอดประสานร่วมกันขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพให้ทุกคนในสังคมไทยมี
สุขภาพดีครบทั้ง 4 ด้าน
ได้แก่
กาย จิต ปัญญา และสังคม
- แผนหลัก สสส. 15 แผน
การสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จำเป็นต้องมีวิธีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ การจัดโครงสร้างแผนเพื่อให้เกิดการบริการจัดการและเน้นให้เกิดการทำงานแนวราบที่เป็นวิธีการทำงานที่สำคัญของสสส. สามารถจำแนกวิธีการทำงานออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อให้เหมาะสมต่อบริบทของงานและเสริมการบูรณาการระหว่างแผน ดังนี้
1) แผนเชิงประเด็น
เน้นการทำงานยุทธศาสตร์เชิงลึก พัฒนางานวิชาการและนวัตกรรมให้ทันกับปัจจัยเสี่ยงที่มีพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมปัจจัยเสี่ยงอันจะส่งผลกระทบกับประชากรในวงกว้าง
2) แผนเชิงกลุ่มประชากรและองค์กร
เน้นการพัฒนาศักยภาพพัฒนาเครือข่าย สร้างความเข้มแข็งให้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายและเครือข่ายองค์กรสุขภาวะ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3) แผนเชิงพื้นที่
เน้นการสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายชุมชน พื้นที่ เข้มแข็ง มีขีดความสามารถในการแก้ปัญหาสุขภาพ เพื่อให้เกิดกลไกการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่ชุมชนเป็นเจ้าของ เป็นผู้ดำเนินการให้สอดคล้องเหมาะสมกับกับบริบทของพื้นที่และชุมชน
4) แผนเชิงระบบ
เป็นกลุ่มแผนที่ทำหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ เกิดการพัฒนาระบบกลไกทางสังคมและสุขภาพร่วมกับเจ้าภาพหลัก เพื่อให้เกิดการทำงาน เชิงระบบอันจะทำให้เกิดการทำงานที่ต่อเนื่อง
- องค์ประกอบของแผนหลัก สสส. 15 แผน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์
ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่สนับสนุนต่อสุขภาวะที่ดี
พันธกิจ
จุดประกาย กระตุ้น สานและ
เสริมพลังบุคคล ชุมชน และองค์กรทุกภาคส่วน ให้มีขีดความสามารถ
และสร้างสรรค์ระบบสังคมที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์
ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ
1. ยาสูบ
2. สุราและสิ่งเสพติด
3. อาหาร
4. กิจกรรมทางกาย
5. ความปลอดภัยทางถนน
6. สุขภาพจิต
7. มลพิษจากสิ่งแวดล้อม
8. ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่
ยุทธศาสตร์ไตรพลัง (พลัง
นโยบายพลังความรู้ พลังสังคม)
1. ส่งเสริมวิชาการและนวัตกรรม
2. สานพลังภาคีและเครือข่าย
3. พัฒนาศักยภาพบุคคล ชุมชน
องค์กร
4. พัฒนากลไกทางนโยบายสังคม
และสถาบัน
5. สื่อสารสังคม
การจัดโครงสร้างแผนและ
กลไกสนับสนุน
โครงสร้างแผน
1. เชิงประเด็น
2. เชิงพื้นที่
3. เชิงองค์กรและกลุ่มประชากร
4. เชิงระบบ
กลไกสนับสนุน
1. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
และภาคีเครือข่าย
2. การสนับสนุนโครงการ
3. ระบบข้อมูลและการจัดการ
ความรู้
4. การกำกับ ติดตาม
และประเมินผล
5. ระบบงาน ดิจิทัล-ไอที
หนังสือที่ระลึกงาน 20 ปี เล่มยุทธศาสตร์แผน 10 ปี 3 ปี
- 29 พฤศจิกายน 2564
- 1.24 MB
- 428
- แจ้งไฟล์เสีย
การกำเนิด สสส.
- 29 พฤศจิกายน 2564
- 1.24 MB
- 428
- แจ้งไฟล์เสีย