บทถอด :ถอดเทป สสส. กับการสร้างเสริมสุขภาพ --------------------------------------------------------------------- สสส. กับการสร้างเสริมสุขภาพ ในปัจจุบัน "โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง" หรือ NCDs ได้กลายเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพหลักของประชากรโลก จากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตจาก "กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง" คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมด โรคเหล่านี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากปัจจัยภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การขาดกิจกรรมทางกาย โภชนาการที่ไม่เหมาะสม ความเครียด หรือการกินเหล้า-สูบบุหรี่ จะลดพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ได้ก็ต้องชี้ให้ประชาชนตระหนึกถึงความสำคัญ และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ตลอดจนพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา โครงสร้างทางกฎหมาย เป็นต้น เราเรียกมาตรการเหล่านี้ว่า "การสร้างเสริมสุขภาพ" เนื่องจากมีประเด็นที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก การทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องมากมาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จึงถือกำเนิดขึ้นโดยนอกจากจะทำหน้าที่จัดสรรทุนเพื่อดำเนินการในโครงการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ แล้ว สสส. ยังทำหน้าที่เป็นกลไกเชื่อมต่อระหว่างองค์กร ชุมชน และบุคคลต่างๆ เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นที่ช่วยให้ฟันเฟืองหลักของการทำงานสร้างเสริมสุขภาพขับเคลื่อนไปได้ หัวใจสำคัญ ที่เป็นหลักของการทำงานของ สสส. มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง คือหลักพันธกิจ 4 ประการ ได้แก่ 1) จุดประกาย - ให้เกิดความสนใจ และอยากมีส่วนร่วม 2) กระตุ้น - ให้งานขับเคลื่อนไป และติดตามประเมินผล 3) สาน - ประสานงานระหว่างบุคคลและองค์กรต่างๆ 4) เสริมพลัง - สนับสนุนภาคีเครือข่าย ด้วยทรัพยากรในทุกๆ ด้าน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสุขภาวะ สสส. จะทำงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทยทุกคน สสส. กับการสร้างเสริมสุขภาพ ในปัจจุบัน "โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง" หรือ NCDs ได้กลายเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพหลักของประชากรโลก จากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตจาก "กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง" คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมด โรคเหล่านี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากปัจจัยภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การขาดกิจกรรมทางกาย โภชนาการที่ไม่เหมาะสม ความเครียด หรือการกินเหล้า-สูบบุหรี่ จะลดพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ได้ก็ต้องชี้ให้ประชาชนตระหนึกถึงความสำคัญ และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ตลอดจนพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา โครงสร้างทางกฎหมาย เป็นต้น เราเรียกมาตรการเหล่านี้ว่า "การสร้างเสริมสุขภาพ" เนื่องจากมีประเด็นที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก การทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องมากมาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จึงถือกำเนิดขึ้นโดยนอกจากจะทำหน้าที่จัดสรรทุนเพื่อดำเนินการในโครงการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ แล้ว สสส. ยังทำหน้าที่เป็นกลไกเชื่อมต่อระหว่างองค์กร ชุมชน และบุคคลต่างๆ เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นที่ช่วยให้ฟันเฟืองหลักของการทำงานสร้างเสริมสุขภาพขับเคลื่อนไปได้ หัวใจสำคัญ ที่เป็นหลักของการทำงานของ สสส. มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง คือหลักพันธกิจ 4 ประการ ได้แก่ 1) จุดประกาย - ให้เกิดความสนใจ และอยากมีส่วนร่วม 2) กระตุ้น - ให้งานขับเคลื่อนไป และติดตามประเมินผล 3) สาน - ประสานงานระหว่างบุคคลและองค์กรต่างๆ 4) เสริมพลัง - สนับสนุนภาคีเครือข่าย ด้วยทรัพยากรในทุกๆ ด้าน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสุขภาวะ สสส. จะทำงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทยทุกคน ---------------------------------------------------------------------