การทดลองใช้เกมกับ Tester
6 มีนาคม 2559 8.30 – 17.00 น. ณ ห้องประชุมอาศรม ชั้น 3 ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ
บรรยากาศในการประชุมสนุกสนานมาก สมาชิกมาถึงก่อนเวลานัดหมายต่างก็งัดเอาเกมที่ตัวสร้างขึ้นมาให้เพื่อนทดลองเล่น จึงเกิดวงเล่นเกมกันอย่างไม่เป็นทางการ 4 – 5 วง จนถึงเวลาวิทยากรต้องขอเวลานอกเพื่อให้สมาชิกแยกวง กลับเข้าสู่การประชุมซึ่งวิทยากรแจ้งว่า Workshop ในวันนี้จะแบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 แนะนำเกม
ช่วงที่ 2 ทดลองเล่นเกม
ช่วงที่ 3 พัฒนาเกม
ช่วงที่ 1 แนะนำเกมที่แต่ละโรงเรียนกลับไปพัฒนาและทดลองให้เด็กเล่นเกมที่โรงเรียนของตนพบว่าจาก 5 เกมในการประชุมครั้งที่ 1 ได้ขยายเป็น 12 เกม ผู้สร้างเกมนำเสนอเกมของตนบอกแรงบันดาลใจและวัตถุประสงค์ของเกม ดังนี้
1.เกมเศรษฐีใหม่ไร้ควันบุหรี่ โรงเรียนนครไทย จ.พิษณุโลก
2.เกมชีวิตเลือกได้ โรงเรียนวัดกาฬสินธุ์ จ.สุราษฎร์ธานี
3.เกมมะเร็งแลนด์แดนมหัศจรรย์ โรงเรียนศรีโกสุมพิทยาสรรค์ จ.มหาสารคาม
4.เกมบันได No Smoking โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น
5.เกมจับคู่สู้ภัยบุหรี่ โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น
6.เกม Goal Let’ s go โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
7.เกมไขรหัสลับสารพิษในควันบุหรี่ โรงเรียนนครไทย จ.พิษณุโลก
8.เกมเขย่าไล่ควันบุหรี่ โรงเรียนผดุงนารี จ.มหาสารคาม
9.เกม Strong or Silly Fools โรงเรียนศรีโกสุมพิทยาสรรค์ จ.มหาสารคาม
10.เกม 29 ขั้นบันไดไร้ควันบุหรี่ โรงเรียนนารีนุกูล จ.อุบลราชธานี
11.เกม Bingo No Smoking โรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย จ.อุบลราชธานี
12.เกม Killing Smoking Bugs วิทยากรสร้างขึ้น
และแบ่งกลุ่มสมาชิกเลือกเล่นเกมที่ตนเองสนใจเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เกมชีวิตเลือกได้, เกมมะเร็งแลนด์แดนมหัศจรรย์, เกม 29 ขั้นบันไดไร้ควันบุหรี่, เกมบันได No Smoking
กลุ่มที่ 2 เกมเศรษฐีใหม่ไร้ควันบุหรี่, เกมจับคู่สู้ภัยบุหรี่, เกมเขย่าไล่ควันบุหรี่, เกม Bingo No Smokingก
กลุ่มที่ 3 เกม Goal Let’ s go, เกมไขรหัสลับสารพิษในควันบุหรี่, เกม Strong or Silly Fools
เกม Killing Smoking Bugs
ช่วงที่ 2 ทดลองเล่นเกม โดยแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่มเดิมที่แบ่งช่วงเช้า ให้ Tester (เด็กที่ไม่เคยเล่นเกมนี้มาก่อน)ได้เล่นเกมในห้องย่อย 3 ห้อง ห้องที่ 1 เป็นเด็กประถม เล่นเกมกลุ่มที่ 1 ห้องที่ 2 เป็นเด็กมัธยมต้น เล่นเกมกลุ่มที่ 2 ห้องที่ 3 เป็นเด็กมัธยมปลาย เล่นเกมกลุ่มที่ 3 โดยผู้ที่สร้างเกมจะเป็น Master เป็นผู้อธิบายและกำกับการเล่นเกม มีObserver คอยจดบันทึกสิ่งที่เป็นจุดอ่อน จุดแข็ง เมื่อเล่นครบทั้ง 4 เกมให้ Tester สะท้อนความรู้สึกว่าชอบเกมใด ตรงไหนที่ควรปรับปรุง
ช่วงที่ 3 พัฒนาเกม สมาชิกกลับเข้าห้องใหญ่โดยให้ Tester ให้ข้อมูลย้อนกลับวิพากษ์ว่าเกมนี้เป็นอย่างไร และObserverของแต่ละกลุ่มสะท้อนถึงสิ่งที่สังเกตและบอกจุดอ่อน จุดแข็งของเกม สมาชิกช่วยกันปรับปรุง
จาก 12 เกม วิทยากรได้คัดเลือก 4 เกมที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดและนำออกเผยแพร่คือ เกมชีวิตเลือกได้, เกม Goal Let’ s go, เกมเขย่าไล่ควันบุหรี่ และ เกม Killing Smoking Bugs