สุดยอดสรรพคุณของตังกุย หรือโสมตังกุยที่คุณอาจจะยังไม่รู้!!!
ตังกุย หรือโสมตังกุยเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับนิยมเป็นอย่างสูงในประเทศ จีน ญี่ปุน และเกาหลี โดยส่วนใหญ่ในตังกุยในการรักษา อาการปวดท้องประจำเดือน, อาการของผู้สูงอายุวัยทอง และอาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับผู้หมดประจำเดือน นอกจากนั้นยังใช้ในการรักษา หรือบรรเทาอาการดังต่อไปนี้
ลงลึกถึงสรรพคุณของตังกุย หรือโสมตังกุยผ่านงานวิจัย
จากงานวิจัยโดยการฉีดสารที่มีส่วนผสมของ ตังกุย, โสม และปักคี้ พบว่า ช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก, เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ
จากกงานวิจัยโดยการฉีดสารที่มีส่วนผสมของตังกุยเข้าทางเส้นเลือดดำปริมาณ 200 มล. เป็นระยะเวลา 20 วัน พบว่า ผู้ป่วยที่มีประวัติการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมีประสิทธิการทำงานของระบบสมองที่ดีขึ้น
การทดลองโดยการรับประทานส่วนผสมระหว่าง ตังกุย, ถั่วเหลือง และแบลกโคฮอส เป็นระยะเวลา 24 อาทิตย์ ติดต่อกัน พบว่า ช่วยลดอาการปวดศรีษะไมเกรนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนได้
การทดลองโดยให้กลุ่มทดลองสตรีที่อยู่ระหว่างตั้งครรถ์รับประทานส่วนผสมระหว่าง ตังกุย, กัญชาเทศ, โบตั๋น, กุหลาบเลื้อยพวงร้อย และเยรโรว์ ระหว่างช่วงตั้งครรถ์ พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงจากการแท้งลูกที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งกันของเลือด
การลดลองโดยฉีดสารที่มีส่วนผสมของตัวกุยที่ 250 มล. เป็นระยะเวลา 10 วัน พบว่า สามารถลดความดันโลหิต และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
การทดลองโดยการทาคลีมที่มีส่วนผสมของตังกุยสกัด และสมุนไพรจีนชนิดอื่นยังบริเวณอวัยวะเพศ พบว่า ช่วยลดปัญหาการหลั่งเร็วในสุภาพบุรุษได้
ข้อควรทราบสำหรับการรับประทานตังกุย หรือโสมตังกุย
การรับประทานตังกุยระหว่างตั้งครรถ์อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูกในครรถ์ เนื่องจากสารในตังกุยส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อมดลูก ทั้งนี้ยังเคยมีกรณีที่สตรีระหว่างตั้งครรถ์ทานสมุนไพรที่ส่วนผสมของตังกุยในช่วงระหว่างสามเดือนแรกเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการพิการในเด็ก
ทั้งนี้ ยังไม่มีหลักฐานมากเพียงพอในกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว อย่างไรก็ตามควรงดเว้นการรับประทานตังกุยในช่วงระหว่างตั้งครรถ์เป็นดีที่สุด
สารในตังกุยอาจส่วนผลให้การเกาะตัวกันของเกล็ดเลือดช้าลง ทำให้แผลเลือดออกหายได้ยากขึ้น นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่อ่อนไหวต่อฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งมดลูก, มะเร็งปากมดลูก, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เนื่องจากสารในตังกุยมีโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ร่างกายรับรู้สารดังกล่าวเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนได้
ผู้ป่วยที่ร่างกายขาดโปรตีน S มีความเสี่ยงเรื่องการเกิดโลหิตอุดตันได้ ทั้งนี้มีความกังวลว่าการรับประทานตังกุยจะทำให้เกิดความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้ เนื่องจากสารในตังกุยที่มีผลกระทบต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย
การทานตังกุยจะส่งผลให้ลิ่มเลือดเกาะตัวกันได้ช้าลง ส่งผลให้แผลหลังการผ่าตัดหายได้ช้าลง
บทสรุป
การรับประทานทาตังกุย หรือรากตังกุย สามารถช่วยบำรุงร่างกาย และรักษาโรคได้หลากหลายประเภท ทั้งในปัจจุบันยังมีทางเลือกในการรับประทานที่หลากหลาย เช่น การรับประทานสดโดยการนำไปปรุงกับมื้ออาหาร หรือการทานเป็นแบบสารสกัดแคปซูล ซึ่งมีความสะดวกสบายในการรับประทาน ทั้งนี้ ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าท่านสามารถทานตังกุยได้หรือไม่โดยการตรวจสอบคำเตือน และข้อห้ามเบื้องต้นก่อน หรือในกรณีที่ไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนการเริ่มรับประทานสมุนไพรจีนเพื่อเป็นการรักษาตามแพทย์แผนทางเลือก