เคยรู้สึกเจ็บแปลบ ๆ ที่บริเวณฝ่าเท้าหรือส้นเท้าในช่วงแรก ๆ ที่ลงน้ำหนักหรือไม่? ถ้ามีอาการเหล่านั้นนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรครองช้ำ หรือ โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างมีความน่ากวนใจไม่น้อยเลย เพราะจะรู้สึกเจ็บเท้าในบางครั้งที่ก้าวเดิน แต่แล้วโรครองช้ำนี้สามารถรักษาให้หายได้โดยการรักษาที่เหมาะสม
รองช้ำ หรือ โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ(Plantar Fasciitis) คือ ภาวะที่เอ็นใต้ฝ่าเท้ามีอาการอักเสบ เป็นโรคที่มักพบผู้ป่วยช่วงอายุ 40-60 ปีส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิง โดยส่วนมากอาการมักจะเกิดในช่วงที่ลุกออกจากเตียง หรือ ช่วงที่เพิ่งลุกก้าวเดิน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บเท้าแบบแปลบ ๆ เหมือนมีอะไรมาทิ่มเท้า และมักจะเป็น ๆ หาย ๆ ตามอาการของโรค หากไม่เข้ารับการรักษาตามความเหมาะสมอาการอักเสบก็จะเพิ่มขึ้นจนปวดเรื้อรังถึงเอ็นร้อยหวาย และมักพบหินปูนเกิดขึ้นบริเวณกระดูกส้นเท้าในกรณีที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง
อาการที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นโรครองช้ำ ในระยะแรกผู้จะรู้สึกปวดแสบ ๆ และเจ็บแปลบ ๆ บริเวณส้นเท้าในช่วงหลังออกกำลังกาย หรือ มีการเดินหรือยืนเป็นระยะเวลานาน แต่ในกรณีที่อาการรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยก็จะรู้สึกปวดหรือเจ็บส้นเท้าเมื่อลุกขึ้นเดิน 2-3 ก้าวแรกหลังตื่นนอน หรือรู้สึกปวดหรือเจ็บหลังจากที่ยืนนาน ๆ หรือนั่งนาน ๆ แต่ถ้าได้เดินเป็นระยะหนึ่งเอ็นบริเวณฝ่าเท้าจะค่อย ๆ ยืดหยุ่น อาการก็จะทุเลาลง แต่ในบางคนอาจจะมีอาการรุนแรงมากขนาดรู้สึกปวดส้นเท้าตลอดเวลา
รองช้ำ มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะร่างกายหรือพฤติกรรม รวมถึงรองเท้าที่สวมใส่ ดังนี้
สำหรับผู้ที่มีอาการของโรครองช้ำ ทางบทความมีท่าบริหารเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อช่วยลดอาการปวดตามฝ่าเท้าหรือส้นเท้า เช่น
ท่านี้จะเป็นท่าสำหรับบริหารเท้า ก่อนทำท่าบริหารให้หาที่จับที่มั่นคงเพื่อไม่ให้ร่างกายเสียสมดุล เมื่อจับที่จับแล้วให้ยกปลายเท้าขึ้นโดยส้นเท้าสัมผัสกับพื้น แล้วจึงค่อย ๆ ลดระดับลง จากนั้นค่อย ๆ ยกส้นเท้าขึ้นและให้ปลายเท้าสัมผัสกับพื้นแทน ทำสลับไปมา 20 ครั้งต่อรอบ ทำซ้ำ 3 รอบ
ท่านี้จะมีการใช้ลูกบอลขนาดเล็ก เช่น ลูกเทนนิส ในการบริหารเท้า แต่ในกรณีที่ไม่มีก็สามารถใช้ขวดน้ำในการทำบริหารได้ โดยนั่งแล้วนำลูกบอลหรือขวดน้ำมานวดคลึงฝ่าเท้าไปมาจนรู้สึกว่าพังผืดที่ฝ่าเท้าคลายตัวลง
นอกจากการบริหารเท้าเพื่อลดอาการของโรคแล้ว ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่จะช่วยรักษาโรครองช้ำให้อาการทุเลาลงได้ ดังนี้
เครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave)
เป็นวิธีการรักษาโดยการใช้เครื่องปล่อยคลื่นให้ไปกระกระแทกบริเวณพังผืดฝ่าเท้า หรือบริเวณที่อักเสบให้อักเสบซ้ำ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมบริเวณที่มีการอักเสบและะช่วยลดอาการปวด
คลื่นเหนือเสียง (Ultrasound Therapy)
เป็นวิธีการรักษาโดยการใช้คลื่นเสียงที่มีความสูงกว่า 20000 เมกกะเฮิร์ต เพื่อช่วยลดอาการปวดและอักเสบของเนื้อเยื่อ และเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อชั้นลึก และช่วยคลายกล้ามเนื้อส่วนที่เกร็งด้วย
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
เป็นวิธีการรักษาโดยการใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ และยังช่วยลดอาการตึงและอาการปวดที่เท้า
คลื่นกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulator; PMS)
เป็นวิธีการรักษาโดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากระตุ้นเส้นประสาทโดยตรง ซึ่งจะช่วยทำให้ผ่อนคลายและลดอาการปวด ชา จากปลายประสาทให้ดีมากขึ้น
เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser)
เป็นวิธีการรักษาโดยการใช้แสงเลเซอร์กำลังสูงเพื่อรักษาอาการปวดของกระดูก กล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของเส้นเอ็น และยังช่วยกระตุ้นร่างกายให้เกิดการซ่อมแซมเส้นเอ็นได้อีกด้วย
การประคบร้อน-ประคบเย็น (Heat&Cold pack)
เป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวด-อักเสบ หรืออาการบวม โดยประคบร้อนหรือเย็นที่เท้าประมาณ 15-20 นาที
รองช้ำ แม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่ได้มีอาการรุนแรงมากนัก แต่ถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะทำให้อาการปวดฝ่าเท้าและส้นเท้ารุนแรงมากขึ้น จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสบายใจ ดังนั้น เมื่อสังเกตร่างกายตนเองแล้วพบว่าอาจเป็นโรครองช้ำ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษารวมถึงทำกายภาพบำบัด เพื่อให้อาการของโรคเบาลง