ที่มา : หมอชาวบ้าน
แฟ้มภาพ
หลายท่านอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ แล้วอาหารมังสวิรัตินั้นต่างจากอาหารเจอย่างไร ก่อนอื่นขอขยายความหมายของคำว่า “มังสวิรัติ” เสียก่อน
คำว่า “มังสวิรัติ” นี้มาจากคำว่า “มังสะ” แปลว่า เนื้อสัตว์ “วิรัติ” แปลว่า การงดเว้น รวมความแล้วจึงแปลได้ว่า การงดเว้นเนื้อสัตว์ หรือกากรไม่กินเนื้อสัตว์ ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า เวเจแทเรียนนิซึม (vegetarianism) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ เวเจทัส (Vegetus) แปลว่า สมบูรณ์ดีพร้อม สดชื่น เบิกบาน หรือมีความหมายว่า ผู้ซึ่งละเว้นจากการนำสัตว์ทุกชนิดมาเป็นอาหาร ทั้งนี้อาจรวมหรือไม่รวมถึงไข่และผลิตภัณฑ์จากนม
กล่าวกันว่ามังสวิรัตินั้นมีผู้ถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน และกลายเป็นแนวปฏิบัติทางศาสนาสำหรับหลายศาสนาในตะวันออกกลางมาหลายพันปีแล้ว เช่น ศาสนาเซน ศาสนาฮินดูบางนิกาย ศาสนาโซโรแอสเตอร์ ศาสนาพุทธ และศาสนาอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วการกินอาหารมังสวิรัติแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
สำหรับอาหารหลักของนักมังสวิรัติไม่ว่าจะอยู่กลุ่มใดก็ตาม ก็สามารถแบ่งได้เป็น 4 หมู่ ดังนี้
ที่สำคัญอีกอย่าง ก็คือ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว นอกจะทำให้เซลล์สดชื่นแล้ว ยังช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายอีกด้วย
ถึงตรงนี้ถ้ามองเฉพาะในเรื่องของอาหาร ระหว่างอาหารเจและอาหารมังสวิรัติ (เคร่งครัด) ดูจะที่ต่างอยู่ประการเดียวเท่านั้น คือ อาหารมังสวิรัติไม่ได้ระบุว่า ห้ามกิน (เสพ) พืช 5 ชนิด อันได้แก่ หัวหอม หลักเกียว กระเทียม กุยช่าย และใบยาสูบ เช่นคนที่กินอาหารเจ ส่วนในแง่ข้อปฏิบัติทางด้านศาสนานั้นพบว่า ทั้งผู้ที่กินอาหารเจและมังสวิรัติมักจะเป็นผู้ที่เคร่งครัดในข้อปฏิบัติทางศาสนาหรือสนใจในสุขภาพเป็นส่วนใหญ่
แสดงความคิดเห็น