ที่มา : คู่มือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน โดยสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ภาพจากเว็บไซต์ medicinenet.com
โรคลิชมาเนีย หรือ ลีชมาเนียซิส (Leishmaniasis) เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เป็นโรคของสัตว์แต่แพร่สู่คนได้ โดยมี “ริ้นฝอยทราย” เป็นตัวพาหะนำโรค
โดยริ้นฝอยทรายดูดเลือดสัตว์เป็นอาหาร ไปกัดสัตว์ที่มีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ จากนั้นนำเชื้อไปสู่คน ปกติพบโรคนี้ในประเทศแถบตะวันออกกลาง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ ปากีสถาน ปัจจุบันประเทศไทยพบโรคนี้ประปราย ปีละ 1-4 ราย มีสาเหตุจากเชื้อโปรโตซัวในสกุล ลิซมาเนีย (Leishmania) ซึ่งอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาว (Macrophage) ของคน
การติดต่อ
โรคลิชมาเนีย แพร่สู่คนอื่นโดยผ่านการกัดของแมลง “ริ้นฝอยทราย” ซึ่งหลังจากกินเลือดสัตว์ที่มีเชื้อแล้วมากัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คนได้ โดยริ้นฝอยทรายมีขนาดเล็กกว่ายุงประมาณ 3-5 เท่า (ขนาด 1.3-3.5 มม.) มีขนปกคลุม ขายาว มีปีก 1 คู่ แต่บินได้ไม่ดี กระโดดได้สูงไม่เกิน 1 เมตร วงจรชีวิตของริ้นฝอยทรายค่อนข้างสั้นประมาณ 60 วัน หากินห่างแหล่งเพาะพันธุ์ประมาณ 100 – 300 เมตร ออกดูดเลือดตอนพลบค่ำและกลางคืน มักชอบกัดนอกบ้านมากกว่าในบ้าน วางไข่และอาศัยบนพื้นดิน ในที่มืดเย็น และมีความชื้น ได้แก่ กองอิฐ กองหิน ไม้ฟืน จอมปลวกเก่า รอยแตกของฝา ตอไม้ผุ มูลสัตว์ ในป่า ตามพื้นดินที่มีใบไม้คลุม ใกล้คอกสัตว์ หรือใกล้แหล่งอาหาร มีรายงานพบการกระจายตัวของริ้นฝอยทรายในพื้นที่หลายแห่งในประเทศไทย สัตว์รังโรคเป็นสัตว์กัดแทะจำพวก กระรอก กระแต หนูชนิดต่าง ๆ สัตว์เลื้อยคลานเช่น จิ้งจก ตุ๊กแก สัตว์เลี้ยง สุนัข แมว สุนัขจิ้งจอก ปศุสัตว์ เช่น แพะ แกะ เป็นต้น
อาการมีหลายลักษณะ
การรักษา
ยารักษาโรคลิชมาเนีย เป็นยาในกลุ่มต้านเชื้อรา เช่น Pentavalent antimoniasis หรือ Amphotericin B เป็นต้น รวมไปถึงการผ่าตัด การรักษาตามอาการ เช่น ให้เลือดหากซีดมาก ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ Liposornal Amphotericin B ชนิดฉีดครั้งเดียว ในการรักษาผู้ป่วยลิชมาเนีย แม้ว่าอาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาจะน้อยกว่ายาตัวอื่น ๆ แต่ยังคงต้องใช้ความระมัดระวังและอยู่ในความดูแลของแพทย์
การป้องกันและควบคุมโรคในคน
แสดงความคิดเห็น