อาหารที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย ที่จะเสริมสร้างพัฒนาการทางกาย
แคลเซี่ยม เด็กวัยนี้ต้องการแคลเซี่ยม 500mg/วัน แคลเซี่ยมจะช่วยในเรื่องการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยทำให้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม และช่วยในการเปลี่ยนแปลงสารอาหารให้เป็นพลังงาน ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ได้รับแคลเซี่ยมไม่เพียงพอเพราะการดื่มน้ำผลไม้ และเครื่องดื่มอื่นๆมากเกินไปจนทำให้ดื่มนมน้อยลง
ตัวอย่างแหล่งแคลเซียมสำหรับวัยเตาะแตะ
เหล็ก เด็กต้องการเหล็ก 7mg/วัน เพื่อช่วยในกระบวนการ hemoglobin และ myoglobin การขาดธาตุเหล็กจะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง นอกจากนั้นเหล็กยังมีความสำคัญในการพัฒนาสมองธาตุเหล็กมี 2 ประเภท คือ Heme Iron จะได้จากเนื้อสัตว์ต่างๆเช่น เนื้อ ปลา หมู ธาตุเหล็กประเภทนี้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และ Non heme Iron จะอยู่ในผักใบเขียว ผลไม้แห้ง ไข่แดงร่างกายควรได้รับธาตุเหล็กทั้ง 2 ประเภท และควรได้รับร่วมกับวิตามินซี เช่น ส้ม มะละกอ องุ่น แคนตาลูป มะเขือเทศ มะม่วง
ตัวอย่างแหล่งธาตุเหล็ก
สังกะสี เด็กต้องการ 3mg/วัน
สังกะสีจะช่วยการทำงานของเอ็นไซด์ต่างๆกว่า 70 ชนิดในการย่อยและการดูดซึม เด็กที่ขาดสังกะสีมักไม่ค่อยโต
ตัวอย่างแหล่งสังกะสี
วิตามินดี ประมาณ 200 IUs หรือ 5 ไมโครกรัมต่อวัน (ตั้งแต่เกิดจนอายุ 50) ช่วยในการดูดซึมสารอาหารเช่น แคลเซียมเพื่อสร้างกระดูกและฟัน
ตัวอย่างแหล่งวิตามินดี
วิตามินเอ เด็กต้องการประมาณ 300 ไมโครกรัม RAEs ต่อวัน วิตามินเอจะช่วยเรื่องสายตา การเจริญเติบโตของกระดูก การติดเชื้อ ช่วยในเรื่องของเซลล์และกล้ามเนื้อต่างๆเช่น ผิว ผม เล็บการได้รับวิตามินเอจากผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองเช่นแครอท ฟักทอง มากเกินไปอาจทำให้ผิวเหลืองได้
ตัวอย่างแหล่งวิตามินเอ
วิตามินซี เด็กต้องการวิตามินซี 15 มิลลิกรัมต่อวัน วิตามินซีช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ กระดูก เม็ดเลือดแดง ช่วยทำให้เหงือกและหลอดเลือดแข็งแรง ช่วยในการซ่อมแซมบาดแผลต่างๆและช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย และยังช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก (ที่ได้จากพืช)
ตัวอย่างแหล่งวิตามินซี
นอกจากอาหารหลัก 5 หมู่แล้ว ก็จะมีสารอาหาร 6 ตัวนี้ที่เด็กวัยเตาะแตะต้องการค่ะเราแปลสรุปออกมาอีกทีหนึ่งเพื่อให้เป็นแนวทางคร่าวๆ สำหรับน้องๆที่ทานไม่เก่ง เพราะจำคำที่คุณหมอเคยพูดไว้ว่า คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ เลยพยายามแยกออกมาเพื่อให้คุณแม่เห็น จริงๆแล้วผักผลไม้บ้านเราก็มีหลายอย่างที่มีสารอาหารเหล่านี้สูงนะคะ อย่างพวกงา ตำลึง ผักหวาน ...ต้องค่อยๆเอามาเทียบดูค่ะ
ที่มา: มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
แสดงความคิดเห็น