4 นวัตกรรมแก้ปัญหาสังคม

ที่มา : เดลินิวส์


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


4 นวัตกรรมแก้ปัญหาสังคม thaihealth


แฟ้มภาพ


ประกาศผล 4 ทีมเยาวชนคว้าทุนต่อยอดนวัตกรรม ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาสังคม ในโครงการ "บ่มเพาะนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สังคม : Active Citizen : Geek so Good"


ที่เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดขึ้น เพื่อบ่มเพาะนวัตกรรม พร้อมทั้งสร้างความตระหนักให้กับเยาวชนถึงปัญหาสังคม มีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้าง สรรค์และสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสังคม  จากผู้เข้าร่วมโครงการฯ 14 ทีมที่ร่วมนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ


มี 4 ทีมที่ได้รับทุนเพื่อต่อยอดนวัตกรรมสู่การนำไปใช้จริง ผลงานแรกคือ "เว็บไซต์แนะนำการหางานสำหรับผู้พิการ" ของทีม Enabled จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างแพลตฟอร์มที่เป็นศูนย์กลางช่วยหางานสำหรับผู้พิการให้ตรงกับความต้องการของผู้พิการและผู้จ้างงาน เพื่อพัฒนาคนพิการสู่ตลาดสากล


ผลงานที่สองคือ "เครื่อง ขอ.ขวด" เปลี่ยนขวดเป็นเงิน เพื่อเด็กกำพร้าและยากไร้ ของทีมCSMJU78 จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แพลตฟอร์มเพื่อสังคมด้วยการเปลี่ยนขยะขวดพลาสติกเป็นเงินด้วยเครื่อง "ขอ.ขวด" เพื่อให้ประชาชนที่บริจาคขวดสามารถสะสมแต้มรับสินค้า รายได้ส่วนหนึ่งหักให้กับมูลนิธิแสงไทยดรุณเพื่อเด็กกำพร้า ยากไร้


และผลงานที่สามคือ "วัคซีน พ็อกเกต" (Vaccine Pocket) ของทีมPrime Soft จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย แอพพลิเคชั่นบันทึกการรับวัคซีนสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี สำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์ โดย4 นวัตกรรมแก้ปัญหาสังคม thaihealthสามารถแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดรับวัคซีนครั้งต่อไป  


และผลงานสุดท้ายคือ "Light Life" ของทีม You light up! my life จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น แอพพลิเคชั่นสำหรับป้องกันและ ช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการพยายามทำร้ายตนเอง พร้อมทั้งคำแนะนำในการปฏิบัติตนให้พ้นจากภาวะเสี่ยง บทความให้กำลังใจ รวมถึงสายด่วนสุขภาพจิตที่สามารถติดต่อขอรับการช่วยเหลือได้


นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า โครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการสร้างสตาร์ทอัพ ด้านโซเชียล เอ็นเตอร์ไพร์ซ (Social Enterprise) ที่มีการนำเทคโนโลยีเป็นฐานในการประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหาสังคมมากขึ้น ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการมีไอเดียดี ๆ หลายด้าน และสามารถนำเสนอออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นให้ประชาชนในสังคมได้ใช้เทคโนโลยีที่สะดวก   เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมในปัจจุบัน

Shares:
QR Code :
QR Code