12 ปี เหยื่อ​เมา​ขับ ค​ริ​ส เบญจ​กุล

อุบัติเหตุ​ทาง​ถนน​ทำให้​ค​ริ​ส เบญจ​กุล กลาย​เป็น​เหยื่อคำ​ว่า… “เหยื่อ” ทำให้​ชีวิต​ต้อง​ผกผัน​ ถึง​วัน​นี้​แม้​ว่า​วัน​เวลา​จะ​ผ่าน​มา​ยาว​นาน 12 ปี​เต็ม​แล้ว ชีวิต​เขา​ก็​ยัง​หนี​ไม่​พ้น​คำ​ว่า ​เหยื่อ

12 ปี เหยื่อ​เมา​ขับ ค​ริ​ส เบญจ​กุล

อนาคต​การ​แสดง​ที่​ กำลัง​ไป​ได้​สวย ชีวิต​การ​เรียน​ก็​กำลัง​จะ​จบ แฟน​ที่​คบ​มี​ฝัน​ร่วม​กัน​จะ​แต่งงาน​หลัง​เรียน​จบ…พอ​ประสบ​ อุบัติเหตุ งาน​ก็​หาย การ​เรียน​ก็​ขาด​ช่วง​ไป​หลาย​ปี แฟน​ก็​ทิ้ง…ชีวิต​เปลี่ยนหน้า​มือ​เป็น​หลัง​มือ

คริสโตเฟอร์ แจ๊ค เบญจ​กุล หรือ ค​ริ​ส เบญจ​กุล อายุ 35 ปี เหยื่อ​ผู้​เคราะห์​ร้าย​จาก​รถ​จักรยานยนต์​เมา​แล้ว​ขับ​ชน​ขณะ​ลง​ไป​ ช่วย​ผู้​บาดเจ็บ​ริม​ถนน จน​ต้อง​นอน​เป็น​เจ้าชาย​นิทรา​อยู่​นับ​สิบ​วัน

“ความเป็น​เหยื่อ​ก็​บอก​อยู่​แล้ว​ว่า​ไม่​ดี เป็น​เหยื่อ​ก็​ไม่​ดี​ เป็น​ผู้​ถูก​กระทำ​และ​คง​ไม่​มี​ใคร​อยาก​เป็น​ผู้​ถูก​กระทำ​หรอก​ ครับ…ทุก​คน​ก็​อยาก​มี​ความ​สุข ใช้​ชีวิต​ที่​เป็น​ไป​เรื่อยๆ” ค​ริ​ส ว่า

ช่วง​เวลา 12 ปี…การ​รณรงค์ ตระหนัก​รู้​ถึง​อุบัติเหตุ วัน​นี้​คน​ไทย​เปลี่ยนแปลง​ไป​มาก​น้อย​แค่​ไหน?

“ผมว่า…คน​ไทย​ระวัง​มาก​ขึ้น​หน่อย​เดียว​เอง”…ผ่าน​มา​นับ​สิบ​ปี​คน​ไทย​ยัง​ไม่​ระวัง​ป้องกัน​เรื่อง​อุบัติเหตุ ใน​ทรรศนะ​ค​ริ​ส เบญจ​กุล นั่น​เป็น​เพราะ​ละแวก​ที่​เขา​อาศัย​อยู่​นั้น ผ่าน​ไป​ไหน​มา​ไหน​บน​ท้อง​ถนน ผู้คน​ที่​ใช้​รถ​จักรยานยนต์​ เป็น​พาหนะ​ก็​ยัง​ใช้​รถ​ใช้​ถนน​ด้วย​ความ​เสี่ยง​เหมือน​เดิม จน​เป็น​ภาพ​ที่​ชิน​ตา

น้อย​คน​นัก​ที่​จะ​ใส่​หมวกกันน็อก ส่วน​ใหญ่​ไม่​ใส่ คน​ขับ​ก็​ไม่​ใส่ คน​ซ้อน​ก็​ไม่​ใส่ ค​ริ​ส​นึก​เอาเอง​ว่า “พวก​เขา​คง​นึก​ว่า​ใส่​หมวก​ผิด​กฎหมาย​ละ​มั้ง” ค​ริ​ส ย้ำ​ว่า อยาก​ให้​ตำรวจ​หา​มาตรการ​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้​อย่าง​จริงจัง ตั้ง​ด่าน…ตรวจ​จับ​มาก​ขึ้น ให้​มี​การ​ปฏิบัติ​อย่าง​เคร่งครัด ไม่​ใช่​เห็น​ว่า​ไม่​ใส่​กัน​เยอะ​ก็​ปล่อยๆ กัน​ไป เพราะ​ไม่​เฉพาะ​คน​ขับ​เท่านั้น​ที่​อันตราย พวก​เขา​ยัง​ทำให้​ผู้​ใช้​รถ​ใช้​ถนน​คน​อื่น​ตกเป็น​เหยื่อ​ได้

ภาพตรง​หน้าที่​เห็น​ผู้​ใช้​รถ​ใช้​ถนน​ระวัง​มาก​ขึ้น​นิดเดียว เชื่อม​โยง​ถึง​การ​รณรงค์​ภาค​รัฐ การ​บังคับ​ใช้กฎหมาย ผ่าน​มา​ถึง​วัน​นี้​พิสูจน์​ให้​เห็น​บ้าง​หรือ​ยัง​ว่า…กฎหมาย​เบา​ไป​ หรือ​เปล่า “ไม่​ใส่​หมวกปรับ 500 บาท ยัง​น้อย​ไป​ไหม เมา​แล้ว​ขับ​ก็​ปรับ​ห้า​ร้อย…พัน​นึง น่า​จะ​หนัก​กว่า​นั้น ถ้า​ต้อง​คุม​ประพฤติ แล้ว​ทำ​อะไร…กวาด​ลาน​วัด​ก็ได้ ได้​บุญ​อีก​ต่างหาก น่า​จะ​หนัก​กว่า​นั้น อาจจะ​ให้​ไป​เก็บ​ขยะ​ตามบ้าน ลอก​ท่อ​ระบาย​น้ำ”

กฎหมาย​เบา​สะท้อน​ตรงๆ ว่า ผู้​ปฏิบัติ​ก็​ไม่ค่อย​กลัว ทำให้​การ​บังคับ ​ใช้​ไม่ได้​ผล การ​ลด​ปัญหา​อุบัติเหตุ เหยื่อ​บน​ท้อง​ถนนค​ริ​สมอง​ว่า สำคัญ​ที่สุด​ต้อง​ให้​กฎหมาย​มี​บทลงโทษ​หนัก​ขึ้น ประการ​ถัด​มา​ผู้​บังคับ​ใช้​กฎหมายต้อง​ทำ​งาน​จริงจัง​มาก​ขึ้น พอ​เห็น​ทำ​ผิด​ก็​ต้อง​จับ​ทันที ไม่​มี​ข้อแม้

12 ปี​ที่​ผ่าน​มา เจอ​เพื่อนๆ พี่ๆน้องๆที่​เป็น​เหยื่อ ส่วน​ใหญ่​เป็น​เหยื่อ​ที่​พิการ เดิน​ไม่ได้ บาง​คน​ก็​บอก​เขา​เมา​เอง รถ​คว่ำ​เอง บาง​คน​ก็​เป็น​เหยื่อ​โดน​คน​เมา​ขับ​มา​ชนขณะ​ขับ​มอเตอร์ไซค์​กลับ​ บ้าน…

ใน​ภาพ​ใหญ่​ถ้า​กฎหมาย​เข้ม​ขึ้น ผู้​บังคับ​ใช้​กฎหมาย​ทำ​งาน​มาก​ขึ้น จับ​จริง ปรับ​จริง เพียง​เท่า​นี้ ค​ริ​สเชื่อ​ว่า เหยื่อ​อุบัติเหตุ​ใน​เมือง​ไทย​จะ​น้อย​ลง เพราะ​คน​จะ​หัน​มา​ป้องกัน ระมัดระวัง ใช้​รถ​ใช้​ถนน​อย่าง​ปลอดภัย

ช่วง​ชีวิต​เหยื่อ​อุบัติเหตุ​ที่​ต้อง​ปรับ​เปลี่ยน ค​ริ​ส…​จาก​ปกติ​ที่​วิ่ง​ได้​ เดิน​ได้ ออกกำลัง​กาย​อย่าง​ปกติ​ทุก​อย่าง​ก็​ทำได้​แค่​วิ่ง​เหยาะๆ ตี​เทนนิส…ทำได้​เต็มที่​แค่​เดิน​ตี น็อก​คอ​ร์ต อยาก​เล่น​เค​เบิล​สกี​ก็​เล่น​ไม่ได้

“สเ​ก็​ตบ​อร์ด…​เล่น​ไม่ได้​เลย เพราะ​ถ้า​ล้ม​ลง​ไป​กว่า​จะ​ลุก​ขึ้น​เอง​ได้ ต้อง​ใช้​เวลา​นาน​เป็น​ชั่วโมงๆ ลุก​ขึ้น​ได้​แล้ว​ขา​ก็​จะ​ชา​ต้อง​นั่ง​นิ่ง​เป็น​ชั่วโมง แล้ว​ถ้า​ลื่น​ล้ม เดิน​ล้ม ลุก​ขึ้น​มา​ก็​ต้อง​รอ​เวลา​กว่า​จะ​เดิน​ต่อ​ไป​ได้”

ความ​ลำบาก​ใน​ชีวิต​ประจำ​วัน เกิด​ขึ้น​ล่า​สุด​เช้า​วัน​ที่​ค​ริ​ส​จะ​เดินทาง​มา​ให้​สัมภาษณ์ ขณะ​ขึ้น​ลง​รถไฟ​ฟ้า​บี​ที​เอส​คน​แน่นๆ บรรยากาศ​เบียดเสียด ผลัก​ดัน​กัน​ไป​มา​จน​ค​ริ​ส​ล้ม ยัง​ดี​ที่​มี​คน​มา​ช่วย​ประคอง​จน​ยืน​ได้ ก็​ต้อง​ค่อยๆกะ​เ​ผลก​เดิน​อยู่​นาน​จนกว่า​จะ​ออก​มา​ได้

ความ​ลำบาก​ใน​เส้นทาง​ชีวิต​ใหม่​ที่​เรียก​ว่า ​เหยื่อ โดยที่​ค​ริ​ส​ไม่ได้​เลือก แม้​จะ​ลำบาก​กว่า​ชีวิต​ปกติ​อย่าง​สาหัส แต่​ค​ริ​ส​ก็​เลือก​ที่​จะ​สู้ เขา​บอก​ว่า… “ผม​ไม่​เคย​ยอม​แพ้​อยู่​แล้ว ยัง​ไง​ก็​ต้อง​สู้ ชีวิต​มัน​ต้อง​สู้”

วาง​แผน​ตัว​เอง​แต่ละ​วัน ถ้า​มี​งาน​เช้า​ก็​มา​ทำ​งาน ช่วง​วัน​หยุด​ก็​บริหาร​ร่างกาย รักษา​ตัว​เอง นอน​ยก​ขา ออกกำลัง​กาย​บ้าง ส่วน​ใจ​ไม่​ท้อ เรียก​ว่า​เกิน​ร้อย​มา​ตั้งแต่​ประสบ​อุบัติเหตุ ทำให้​ปัจจุบัน​ร่างกาย​ฟื้นฟู​ขึ้น​มา 95 เปอร์เซ็นต์​แล้ว ใคร​ถาม​ค​ริ​ส​ยัง​พูด​ติดตลก​ด้วย​ว่า “เหลือ​อีก 5 เปอร์เซ็นต์… ขอ​ฝาก​แบ​งก์เอา​ไว้​ก่อน”

ด้วย​ความ​ที่​ค​ริ​ส​ไม่​ยอม​แพ้​ตั้งแต่​ต้น ทำให้​วัน​นี้​เหยื่อ​อุบัติเหตุ​คน​นี้​กลับ​มา​เดิน​ได้​อีก​ครั้ง เจอ​เพื่อน​ที่​เป็น​เหยื่อ​จะ​บอก​ทุก​คน​ที่​หมด​หวัง ท้อแท้​ว่า​ให้​พยายาม​สู้ พยายาม​เดิน หลาย​คน​บอก​ว่า​เขา​ยืน​ไม่ได้ บาง​คน​บอก​ว่า​เดิน​ได้​ก้าว​เดียว​ก็​ล้ม​แล้ว หรือ​ไม่​ก็​เพราะ​เหตุผล​อย่าง​นั้น​อย่าง​นี้

ค​ริ​สบ​อก​กลับ​ ไป​ว่า​ไม่ได้​บังคับ ต้อง​พยายาม เพราะ​ถ้า​ไม่​เริ่ม ไม่​มี​ก้าว​แรก คุณ​ก็​จะ​เดิน​ไม่ได้​ตลอด…คุณ​ต้อง​สู้​กับ​ชีวิต​เพราะ​ชีวิต​ต้อง​เดิน​ต่อ​ไป

ค​ริ​ส​วาด​ฝัน​เป็น​แรง​ใจ​เอา​ไว้ ด้วย​ความ​ที่​ชอบ​เดินทางไป​หลาย​จังหวัด​แล้ว​ใน​ประเทศไทย ช่วง​แรกๆพอ​พยาบาล​บอก​ให้​ลุก​ขึ้น​ยืน ยอม​รับ​ว่า​เจ็บ​น้ำตา​ไหล แต่​ใน​ใจ​ก็​บอก​กับ​ตัว​เอง ยอม​แพ้​ไม่ได้ เพราะ​มี​ฝัน​อยาก​ไป​ให้​ได้​ทั่ว​ประเทศไทย คำ​ว่า​ไป​ให้​ได้ ไม่​ใช่​แค่​เดินทาง​ผ่าน แวะ​เข้า​ห้องน้ำ…แต่​อย่าง​น้อยๆ แต่ละ​จังหวัด​ต้อง​พัก 1 คืน

ใน​วัน​ที่ 11 พฤษภาคม​ที่​จะ​ถึง​นี้ ที่​ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์… เมือง​ไทย​จะ​จัด​งาน​พร้อม​กับ​อีก​หลาย​ประเทศ​ทั่ว​โลก ร่วม​ประกาศ​เจตนารมณ์ “ทศวรรษ​แห่ง​ความ​ปลอดภัย​ทาง​ถนน พ.ศ.2554–2563” โดย​ศูนย์​อำนวยการ​ความ​ปลอดภัย​ทาง​ถนน (ศปถ.) สสส. ร่วม​กับ​หน่วย​งาน​ภาคี​เครือ​ข่าย​ลด​อุบัติเหตุ​ทาง​ถนน

ตาม​แผน​ใน​ปี 2554 นี้ มาตรการ​แรก​ที่​รัฐบาล​ไทย​จะ​เร่ง​ดำเนิน​การ คือ​การ​ส่งเสริม​ให้​ผู้​ขับขี่…ผู้​โดยสาร​รถ​จักรยานยนต์​สวม​หมวก​ นิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ โดย​มุ่ง​ไป​ที่​การ​ปรับ​พฤติกรรม​หรือ​ค่า​นิยม​ผู้​ใช้​รถ​จักรยานยนต์ ตระหนัก​ถึง​ความ​ปลอดภัย

และ​ใน​ปี​ต่อๆ ไป​ภาค​รัฐ​และ​เอกชนจะ​ร่วม​รณรงค์​ความ​ปลอดภัย​ใน​ด้าน​ ต่างๆ ไม่​ว่า​เรื่อง​ลด​พฤติกรรม​เสี่ยง​จาก​การ​ดื่ม​แล้ว​ขับ การ​แก้ไข​จุด​เสี่ยง… จุด​อันตราย​บน​ท้อง​ถนน การ​ปรับ​พฤติกรรม​ขับ​รถ​เร็ว ระบบ​การ​แพทย์​ฉุกเฉิน ฯลฯ

ณ​ริน​ทร์​พร ภูษิต​รา​นุ​สร​ณ์ มูลนิธิ​ป้องกัน​อุบัติภัย​แห่งชาติ เสริม​ว่า “หมวกกันน็อก”…ต้อง​รณรงค์​ตั้งแต่​เด็ก ปลูกฝัง​จิตสำนึก​เพื่อ​สร้าง​นิสัย​การ​ใช้​รถ​ใช้​ถนน​ที่​ดี​ร่วม​กับ​ ผู้​ร่วม​ทาง​โดยที่​มี​มาตรฐานการ​รณรงค์​ใน​เด็ก ขีด​วง​ที่​เด็ก​ไทย

ณ​ริน​ทร์​พร บอก​ตรงๆ ว่า​ เด็ก​ไทย​ไม่​ยาก แต่​ที่​ยาก​คือ​ผู้​ปกครอง เรา​สอน​เด็ก​รู้สึก​อยาก​ใส่ เวลา​ออก​จาก​บ้าน… พ่อ​ก็​บอก​ว่า​เร็วๆ รีบ​ขึ้น​รถ…จะ​ไป​แล้ว เด็ก​ก็​ไม่​ใส่​แล้ว​ก็​เห็น​ว่า​พ่อ​ก็​ไม่​ใส่ เกิด​อย่าง​นี้​สอง…สาม​ครั้ง เด็ก​ก็​จะ​เริ่ม​คิด​ว่า​ไม่​ใส่​ก็ได้ ทำให้​ต้อง​สอน​ต่อ​เนื่อง​ทุก​เดือน เพื่อ​เป็น​การ​ตอก​ย้ำ

บ้าน​เรา​อุบัติเหตุ​ทาง​มอเตอร์ไซค์​เยอะ ใน​ภาพ​ใหญ่​ต้อง​ใช้​กำลัง​จาก​หลายๆ ฝ่าย​ช่วย​กัน บาง​คน​ถือ​ใน​มือ​แต่​ไม่​ใส่ พอ​เห็น​ตำรวจ​ก็​เอา​ขึ้น​มา​ใส่ ผ่าน​ไป​แล้ว​ก็​ถอด​ออก…คุณ​ต้อง​รัก​ตัว​เอง ต้อง​ระวัง แล้ว​ก็​ต้อง​ร่วม​กับ​การ​บังคับ​ใช้​กฎหมาย​ที่​เคร่งครัด อย่าง​น้อยๆ เวลา​ที่​ใช้​น่า​จะ 3 ปี​เป็น​อย่าง​น้อย​ถึง​จะ​เห็น​ผล

ทศวรรษ​แห่ง​ความ​ปลอดภัย​บน​ท้อง​ถนน จะ​เป็น​รูป​เป็น​ร่าง​นำไปสู่​การ​ปฏิบัติ​มาก​น้อย สถิติ​เจ็บ​ตาย​จะ​เป็น​ตัว​ชี้​วัด ซึ่ง​ค​ริ​ส​อยาก​จะ​ฝาก​ทิ้งท้าย​ใน​เรื่อง​ความ​ปลอดภัย​ใกล้​ตัว สั้นๆ ง่ายๆ ว่า…

“ถ้า​คุณ​จะ​เดินทาง​ไป​ไหน​มา​ไหน​ก็​ขอ​ให้​เช็ค ​ตัว​คุณ​เอง​ก่อน ง่วง​ไหม เมา​ไหม…ก่อน​ขับ​รถ​ไม่​ว่า​มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ ต่อ​มา…ก็​ต้อง​เช็ก​สภาพ​รถ​ว่า​พร้อม​ไหม ลม​ยาง เบรก​โอ​เค​ไหม แล้ว​ก็​ต้อง​ศึกษา​เส้นทาง ขับ​รถ​อย่าง​มี​สติ รู้​ว่า​คุณ​จะ​ไป​ไหน…แล้ว​ที่​สำคัญ​ก็​ต้อง​ไม่​ขับ​เร็วขับ​ซิ่ง”

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Shares:
QR Code :
QR Code