โรงเรียนพอเพียง…โรงเรียนวัดหนองนาดำพิทยา

ที่มา : เว็บไซต์โรงเรียนสุขภาวะชุมชน


ภาพประกอบจากเว็บไซต์โรงเรียนสุขภาวะชุมชน


โรงเรียนพอเพียง…โรงเรียนวัดหนองนาดำพิทยา thaihealth


เข้าสู่ถนนดอกรักอีกครั้ง เช้านี้ฟ้า เริ่มใสขึ้นบ้าง แต่ยังวางใจไม่ได้ คิดว่าอย่างไรฝนก็ตกแน่นอน รถวิ่งเข้าสู่โรงเรียนวัดหนองนาดำพิทยา  สถานทีร่มรืนน่าอยู่ น่าเรียนรู้


วิลาสินี บุญม่วง ครูสาระวิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ออกมาต้อนรับและพาผมไปที่ห้องประชุมซึ่งอยู่ชั้นหนึ่งติดกับโรงอาหารไม่นานนัก คณะครูทยอยกันเข้ามาจนครบองค์ประชุม ครูวิลาสินีแนะนำให้ผมรู้จักกับ บำรุง สุขประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองนาดำพิทยา


เขาบอกว่า ที่นี่เป็นโรงเรียนขยายโอกาส สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1-2 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษานี้มีนักเรียน 83 คน


ส่วนใหญ่มาจากบ้านหนองนาดำ ขณะที่บางส่วนมาจาก บ้านเนินยาว เพื่อเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น นอกจากนี้ยังมีนักเรียนจากตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน ซึ่งมีพื้นที่ติดกัน ผอ.บำรุงบอกกับผมอย่างตรงไปตรงมาว่า โรงเรียนตามหมู่บ้าน ถ้าการเรียนการสอน วัดกันที่บทเรียนในตำรา คงมิอาจสู้กับเด็กในเขตเมืองได้


ยิ่งฐานะทางบ้านของเด็กส่วนใหญ่ไม่ถือว่าดี บางคนอาจไม่ได้เรียนต่อ ผมเลยหยิบเอาสิ่งที่เรามีหรือเป็นอยู่มาสนับสนุนบ่มเพาะประสบการณ์ หล่อหลอมให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อว่าวันหนึ่ง เขาอาจได้ใช้ประกอบอาชีพ ผอ.บำรุงกล่าว


ขณะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่อยากให้ลูกหลานเป็นเกษตรกร ด้วยงานหนักและเหนื่อยผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ผอ.บำรุงกลับมองว่าเกษตรกรรมคือโอกาส คือตัวตนที่แท้จริง ซึ่งไม่จำเป็นต้องหลบหรือเลี่ยง นั่นเป็นที่มาให้คณะทำงานช่วยกันขับเคลื่อนฐานการเรียนรู้


ภายในมาตั้งแต่ปี 2556 ตอนเริ่มนำร่องนั้น ผอ.บำรุงใช้ชั่วโมงกิจกรรมชุมนุมเป็นหลัก กระทั่งกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้


โรงเรียนพอเพียง…โรงเรียนวัดหนองนาดำพิทยา thaihealth


เมื่อปี 2558 ทางโรงเรียนจึงประยุกต์ฐานการเรียนรู้มาลงในช่วงเวลานี้ คือตั้งแต่ 14.00 น.ของทุกวัน โดยนักเรียนต้องเวียนกันเข้าฐานการเรียนรู้ 9 ฐาน แต่ละฐานมีกลุ่มนักเรียนรับผิดชอบ เพื่อถ่ายทอดความรู้


ฐานที่ 1 สหกรณ์ร้านค้า


ฐานนี้ฝึกการทำบัญชีรายรับรายจ่าย คิดต้นทุน กำไร พูดง่ายๆ ว่าสอนให้ทำการค้าเป็นนอกจากสินค้าที่โรงเรียนนำมาขาย สหกรณ์ยังเปิดให้นักเรียนนำผลิตภัณฑ์ของตนเองมาจำหน่ายเป็นรายได้เสริมด้วย


“ปกติสหกรณ์ร้านค้าเปิดทุกวันตอนเที่ยง มีกลุ่มนักเรียนรับผิดชอบ จำหน่ายสินค้าตั้งแต่อุปกรณ์การเรียน ขนม อาหารว่าง ที่นี่เราให้นักเรียนซื้อหุ้น หุ้นละยี่สิบบาท คนละไม่เกินสองหุ้น เมื่อครบปีการศึกษาจะมีเงินปันผลให้ กระทั่งออกจากโรงเรียนแล้วก็คืนหุ้นกันไป เขาจะรู้จักเรื่องของธุรกิจไปในตัว” ครูวิลาสินีเสริม


ฐานที่ 2 สมุนไพร


ชุมชนแทบทุกที่ในประเทศไทยมี สมุนไพรอยู่มาก แต่คนหลงลืมไปทั้งที่มีประโยชน์ บางชนิดรักษาหรือบรรเทาโรคภัยได้ เช่น ว่านหางจระเข้ บรรเทาแผลพุพองหญ้าหนวดแมว รักษานิ่ว รางจืด มีสรรพคุณล้างพิษ ถอนพิษได้ ถือเป็นองค์ความรู้ทั้งสิ้นโดยนักเรียนที่เป็นวิทยากรประจำฐานจะถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ ตลอดจนสอนวิธีการปลูก การดูแล ขณะที่การจัดหาสมุนไพรส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายผู้ปกครอง


ฐานที่ 3 การทำปุ๋ยหมัก


เป็นเรื่องสำคัญ เพราะดินแถบนี้เป็นดินเหนียวไม่เหมาะกับการเพาะปลูก จึงต้องนำฟาง  แกลบ และขี้วัว มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อใส่ดิน เตรียมปลูกพืช ค่อยเป็นค่อยไปจนสภาพดินดีขึ้นนอกจากทำใช้เองแล้ว ยังแบ่งส่วนหนึ่งใส่ถุงไว้ขายครูและผู้ปกครองที่สนใจ ในราคาถุงละ 10 บาทด้วย


ฐานที่ 4 การเลี้ยงกบในวงปูน


เพื่อให้เด็กรู้จักวงจรชีวิตของกบ ตั้งแต่เป็นลูกอ๊อดกระทั่ง เจริญเติบโตเต็มที่ โดยนักเรียนต้องคอยสังเกตและคัดแยก กันไม่ให้แม่กบกินลูกอ๊อดเมื่อเพาะกบได้จำวนมากพอ จึงขายให้แก่ สหกรณ์ร้านค้า ก่อนจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันต่อไป


“ที่ต้องซับซ้อนแบบนี้ เพราะอยากให้เด็กเรียนรู้การทำธุรกิจ ฐานนี้ยังช่วยให้โรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่าย ด้วยใช้เงินซื้อพันธุ์กบแค่ครั้งเดียวแล้วมาขยายพันธุ์เอง ส่วนช่วงปิดเทอมอาศัยนักการภารโรงช่วยดูแลแทน ซึ่งไม่ได้สร้างภาระมากมายนัก เนื่องจากเป็นหน้าร้อนกบอยู่ในภาวะจำศีล


ฐานที่ 5 การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน


เดิมโรงเรียนมีโครงการเลี้ยงปลาในกระชัง แต่ ฤดูแล้งน้ำแห้งจัด เลยหันมาทำบ่อปูน ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตรจำนวน 1 บ่อ และขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร อีก 1 บ่อ แล้วซื้อพันธุ์ปลาดุกมาเลี้ยง รุ่นหนึ่งใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน จึงนำไปขายให้สหกรณ์ร้านค้า เพื่อจำหน่ายต่อให้ โครงการอาหารกลางวัน และนำเงินที่ได้ไปหมุนเวียนซื้อพันธุ์ปลารุ่นใหม่


ฐานที่ 6 การปลูกพืชผักสวนครัว


ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของชีวิต ลงทุนน้อย และมั่นใจ ได้ว่าสะอาดปลอดภัยกว่าไปซื้อกิน โดยแปลงของเด็กๆ ที่นี่ มีทั้งโหระพา ตะไคร้ กะเพรา ข่า พริกขี้หนู มะกรูด มะนาว ผักบุ้ง และผัก ตามฤดูกาล เมื่อได้ผลผลิตก็จัดการรูปแบบเดิม คือจำหน่ายให้สหกรณ์ร้านค้าเพื่อ ขายต่อให้โครงการอาหารกลางวัน


ฐานที่ 7 เรือนเพาะชำ


ขยายความ ว่า ฐานนี้ว่าด้วยเรื่องเทคนิคการขยายพันธุ์พืช เริ่มจากง่ายไปยาก ตั้งแต่การเพาะด้วยเมล็ดพันธุ์ ปักชำ ตอนกิ่ง ไปจนถึงเรียนรู้การอนุบาลต้นกล้า กระทั่งสามารถเพาะลงแปลงได้


ฐานที่ 8 การปลูกพืชไร้ดิน


ถือเป็นฐานเรียนรู้เพิ่มเติมจาก 7 ฐานเก่า เล็งเห็นว่า เทคนิคการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์เป็นเทคโนโลยีเกษตรที่น่าสนใจ แต่ทำได้แค่ครั้งเดียว เพราะต้องใช้เงินทุนซื้อสารละลายที่เป็นอาหารของพืช ภายหลังจึงเปลี่ยนมาสอนการปลูกพืชในพื้นที่จำกัด เช่น ขวด พลาสติก ถุงท่อพีวีซีและยางรถยนต์


ฐานที่ 9 ธนาคารขยะ


เป็นอีกหนึ่งฐาน เรียนรู้ใหม่ ซึ่งได้แนวคิดมาจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ที่อยากให้โรงเรียน มีธนาคารขยะ เริ่มต้นให้นักเรียนนำขยะมา ขายที่ธนาคารขยะของโรงเรียนซึ่งเปิดรับซื้อทุกเช้าวันพุธและเช้าวันศุกร์ โดยมีกลุ่มนักเรียนและครูช่วยกันชั่งน้ำหนักขยะ และลงบัญชีในสมุดเงินฝากของแต่ละคน


เมื่อได้ขยะมากพอ ก็นำไปขาย แล้วจ่ายเงินคืนให้นักเรียน ขณะที่ในชั่วโมงลดเวลาเรียน เน้นให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ตลอดจน การประดิษฐ์ การแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าขยะตอนนี้ทุกกลุ่มพร้อมอยู่ที่ฐานแล้ว


ครูวิลาสินีที่เดินมาด้วยกันช่วยเสริมว่านักเรียนจะลงฐานร่วมกันทุกสัปดาห์ด้วย “แต่เด็กที่ประจำกลุ่ม เขาต้องดูแลรับผิดชอบงานของตัวเองอยู่แล้ว ในแต่ละวันเขารู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง” ครูวิลาสินีกล่าว


ฐานการเรียนรู้ได้ ต้องเริ่มจากสร้างความตระหนักในกลุ่มครูและผู้ปกครอง ทุกฐานเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และยังเป็นเรื่องที่เด็กๆ อาจได้ใช้ต่อยอดในชีวิตประจำวันได้อย่างพอเพียง

Shares:
QR Code :
QR Code