โครงการบูรณาการความรู้และทักษะการเดินและการใช้จักรยานในสถานศึกษา กิจกรรม“ปิดเทอมสร้างสรรค์….ตอนทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค”

โครงการบูรณาการความรู้และทักษะการเดินและการใช้จักรยานในสถานศึกษา
กิจกรรม“ปิดเทอมสร้างสรรค์….ตอนทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค”
1. หลักการและเหตุผล
การผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการเดินและการใช้จักรยานในเยาวชนคนรุ่นใหม่ แนวทางหนึ่งที่จะดึงนักเรียน เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ง่ายและมีความต่อเนื่อง คือ การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน เพราะโรงเรียนจะมีกระบวนวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบดังนั้น กิจกรรมการเดินและปั่นจักรยานในโรงเรียนจะช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีรากฐานจากความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง อาทิ ความรู้และทักษะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การเดินและการใช้จักรยานที่ช่วยลดผลกระทบจากพฤติกรรมส่วนตัวสู่สิ่งแวดล้อม เป็นต้น และจะนามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบนฐานความรู้ซึ่งจะฝังลึกในจิตสานึกของเยาวชนและการผลักดันให้เกิดกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องในโรงเรียน จะเป็นการบ่มเพาะให้เกิดเป็นพฤติกรรมในเยาวชนที่ส่งผลกระทบทางบวกสู่สังคมในวงกว้างต่อไป
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อการบูรณาการการเดินและปั่นจักรยานที่มุ่งให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรมนั้น มีกระบวนการทางานให้เกิดผลในโรงเรียน โดยเริ่มต้นที่ครูเห็นความสาคัญและบรรจุเนื้อหาการเดินและปั่นจักรยานลงสู่การรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ของกระทรวงศึกษาธิการนั้น เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาเป็นหลัก จากนั้นเชื่อมต่อการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกโรงเรียนภายใต้กลุ่มสาระการงาน อาชีพ และเทคโนโลยี ซึ่งทั้งสองกลุ่มสาระการเรียนรู้มีรายวิชาที่สามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการเดินและปั่นจักรยานได้อย่างเป็นรูปธรรม
การส่งเสริมหรือสร้างกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน นอกจะจัดให้เด็กได้เลือกเรียนในช่วงเวลาเรียนตามกาหนดแล้ว (ช่วงเปิดเทอม) การจัดกิจกรรมเสริมในช่วงปิดเทอมนั้น ก็สามารถทาได้ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมให้เด็กได้มีกิจกรรมทางกาย ลดภาวะเฉื่อย เนือยนิ่ง ดูทีวี เล่นเกมส์ ติดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของเด็กยุคนี้ ด้วยการใช้จักรยานเป็นเครื่องมือในการสารวจชุมชนหรือโรงเรียน (รัศมีการสารวจอย่างน้อย 1 กม.) และนาสิ่งที่ได้จากการสารวจมาวางแผนแก้ปัญหา หรืออนุรักษ์ อีกทั้งการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยหลักอริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคในการสารวจพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียน เป็นการสอดแทรกการเรียนรู้เรื่องพุทธศาสนาให้เด็กๆรุ่นใหม่ยุค Generation Z1 ได้เข้าใจด้วย โครงการฯ จึงจัดให้มีกิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์…ทุกข์ สมุทัย นิโรท มรรค” ขึ้นในช่วงปิดเทอมเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2558 นี้
1 เด็ก Generation Z หรือที่เกิดหลังปี 2000 จะมีความรู้สึกว่าตัวเองพิเศษยิ่งกว่า และเชื่อมั่นยิ่งกว่า อะไร ๆ ก็ต้องให้ได้เดี๋ยวนั้น ชีวิตมีเทคโนโลยีมาเป็นส่วนสาคัญ และค่อนข้างติดสบาย
นอกจากนักเรียนจะได้เรียนรู้กระบวนการจากกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแล้ว โครงการฯ คาดหวังการนาเสนอผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมต่อผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารท้องถิ่น ชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เพื่อผู้มีหน้าที่ ผู้ใหญ่ใจดีได้รับทราบข้อมูล และนาไปสู่การปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอม เรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียน ผ่านกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) โดยใช้จักรยานหรือการเดินเป็นเครื่องมือในการค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา และเพื่อนาไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชน/ ของโรงเรียน
3. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนระดับประถมศึกษา (ป.5-ป.6) และหรือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 -3 โรงเรียน/พื้นที่ละประมาณ 25-30 คน พิจารณาคัดเลือกจากโรงเรียนที่มีการทางานขับเคลื่อนผลักดันโครงการชุมชนจักรยาน หรือโรงเรียนแนวร่วมที่มีความสนใจจะพัฒนาพื้นที่หรือชุมชนเป็นชุมชนสุขภาวะ จานวน 5 โรงเรียน ดังนี้
(1) โรงเรียนเชียงคาวิทยาคม อ.เชียงคา จ.พะยา (อบรมฯ 23-24 พ.ค.58)
(2) โรงเรียนตั้งพิรุห์ธรรม (ชุมชนสกุลทิพย์) กทม. ดำเนินการแล้ว
(3) โรงเรียนเทศบาล 4 อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ (อบรมฯ 14-15 พ.ค.58)
(4) โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม อ.เมือง จ.อุดรธานี (อบรมฯ 28-29 พ.ค.58)
(5) โรงเรียนบ้านไร่ร่วมวิทยาคาร จ.กาญจนบุรี (อบรมฯ 19-20 พ.ค. 58)
4. Time Line จัดกระบวนการ
ระยะเวลาดาเนินงาน จานวน 3 เดือน (ระยะเวลาตั้งแต่ 15 มีนาคม – 15 มิถุนายน 2558)
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
(1) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้ใช้เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียนในการร่วมกิจกรรมนอกห้องเรียน
(2) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายรับรู้ เข้าใจ ต่อประโยชน์ของการใช้จักรยาน (หรือเดิน) ในชีวิตประจาวัน
(3) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้กระบวนการสำรวจชุมชน ทาแผนที่ เสนอแนวทางจัดการชุมชน/โรงเรียน
8. ผู้รับผิดชอบ
โครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย
ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย
02 618 4434 หรือ 02 618 5990

โครงการบูรณาการความรู้และทักษะการเดินและการใช้จักรยานในสถานศึกษา

กิจกรรม“ปิดเทอมสร้างสรรค์….ตอนทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค”

หลักการและเหตุผล

การผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการเดินและการใช้จักรยานในเยาวชนคนรุ่นใหม่ แนวทางหนึ่งที่จะดึงนักเรียน เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ง่ายและมีความต่อเนื่อง คือ การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน เพราะโรงเรียนจะมีกระบวนวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบดังนั้น กิจกรรมการเดินและปั่นจักรยานในโรงเรียนจะช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีรากฐานจากความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง อาทิ ความรู้และทักษะเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การเดินและการใช้จักรยานที่ช่วยลดผลกระทบจากพฤติกรรมส่วนตัวสู่สิ่งแวดล้อม เป็นต้น และจะนามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบนฐานความรู้ซึ่งจะฝังลึกในจิตสานึกของเยาวชนและการผลักดันให้เกิดกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องในโรงเรียน จะเป็นการบ่มเพาะให้เกิดเป็นพฤติกรรมในเยาวชนที่ส่งผลกระทบทางบวกสู่สังคมในวงกว้างต่อไป

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อการบูรณาการการเดินและปั่นจักรยานที่มุ่งให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรมนั้น มีกระบวนการทางานให้เกิดผลในโรงเรียน โดยเริ่มต้นที่ครูเห็นความสาคัญและบรรจุเนื้อหาการเดินและปั่นจักรยานลงสู่การรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ของกระทรวงศึกษาธิการนั้น เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษาเป็นหลัก จากนั้นเชื่อมต่อการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกโรงเรียนภายใต้กลุ่มสาระการงาน อาชีพ และเทคโนโลยี ซึ่งทั้งสองกลุ่มสาระการเรียนรู้มีรายวิชาที่สามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการเดินและปั่นจักรยานได้อย่างเป็นรูปธรรม

การส่งเสริมหรือสร้างกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน นอกจะจัดให้เด็กได้เลือกเรียนในช่วงเวลาเรียนตามกาหนดแล้ว (ช่วงเปิดเทอม) การจัดกิจกรรมเสริมในช่วงปิดเทอมนั้น ก็สามารถทาได้ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมให้เด็กได้มีกิจกรรมทางกาย ลดภาวะเฉื่อย เนือยนิ่ง ดูทีวี เล่นเกมส์ ติดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของเด็กยุคนี้ ด้วยการใช้จักรยานเป็นเครื่องมือในการสารวจชุมชนหรือโรงเรียน (รัศมีการสารวจอย่างน้อย 1 กม.) และนาสิ่งที่ได้จากการสารวจมาวางแผนแก้ปัญหา หรืออนุรักษ์ อีกทั้งการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยหลักอริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคในการสารวจพื้นที่ชุมชนหรือโรงเรียน เป็นการสอดแทรกการเรียนรู้เรื่องพุทธศาสนาให้เด็กๆรุ่นใหม่ยุค Generation Z1 ได้เข้าใจด้วย โครงการฯ จึงจัดให้มีกิจกรรม “ปิดเทอมสร้างสรรค์…ทุกข์ สมุทัย นิโรท มรรค” ขึ้นในช่วงปิดเทอมเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2558 นี้

1 เด็ก Generation Z หรือที่เกิดหลังปี 2000 จะมีความรู้สึกว่าตัวเองพิเศษยิ่งกว่า และเชื่อมั่นยิ่งกว่า อะไร ๆ ก็ต้องให้ได้เดี๋ยวนั้น ชีวิตมีเทคโนโลยีมาเป็นส่วนสาคัญ และค่อนข้างติดสบาย

นอกจากนักเรียนจะได้เรียนรู้กระบวนการจากกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแล้ว โครงการฯ คาดหวังการนาเสนอผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมต่อผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารท้องถิ่น ชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เพื่อผู้มีหน้าที่ ผู้ใหญ่ใจดีได้รับทราบข้อมูล และนาไปสู่การปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม

วัตถุประสงค์

เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอม เรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียน ผ่านกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) โดยใช้จักรยานหรือการเดินเป็นเครื่องมือในการค้นหาปัญหา สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา และเพื่อนาไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชน/ ของโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนระดับประถมศึกษา (ป.5-ป.6) และหรือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 -3 โรงเรียน/พื้นที่ละประมาณ 25-30 คน พิจารณาคัดเลือกจากโรงเรียนที่มีการทางานขับเคลื่อนผลักดันโครงการชุมชนจักรยาน หรือโรงเรียนแนวร่วมที่มีความสนใจจะพัฒนาพื้นที่หรือชุมชนเป็นชุมชนสุขภาวะ จานวน 5 โรงเรียน ดังนี้

(1) โรงเรียนเชียงคาวิทยาคม อ.เชียงคา จ.พะยา (อบรมฯ 23-24 พ.ค.58)

(2) โรงเรียนตั้งพิรุห์ธรรม (ชุมชนสกุลทิพย์) กทม. ดำเนินการแล้ว

(3) โรงเรียนเทศบาล 4 อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ (อบรมฯ 14-15 พ.ค.58)

(4) โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม อ.เมือง จ.อุดรธานี (อบรมฯ 28-29 พ.ค.58)

(5) โรงเรียนบ้านไร่ร่วมวิทยาคาร จ.กาญจนบุรี (อบรมฯ 19-20 พ.ค. 58)

Time Line จัดกระบวนการ

ระยะเวลาดำเนินงาน จำนวน 3 เดือน (ระยะเวลาตั้งแต่ 15 มีนาคม – 15 มิถุนายน 2558)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้ใช้เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียนในการร่วมกิจกรรมนอกห้องเรียน

(2) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายรับรู้ เข้าใจ ต่อประโยชน์ของการใช้จักรยาน (หรือเดิน) ในชีวิตประจาวัน

(3) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้กระบวนการสำรวจชุมชน ทาแผนที่ เสนอแนวทางจัดการชุมชน/โรงเรียน

ผู้รับผิดชอบ

โครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

โทร. 02 618 4434 หรือ 02 618 5990

ที่มา : ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

Shares:
QR Code :
QR Code