แนะผู้สูงอายุฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ที่มา :  คมชัดลึก


แนะผู้สูงอายุฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน thaihealth


แฟ้มภาพ


แม้จะมีรายงานว่าการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันการป่วยได้ 38% แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60-65 ปี และกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงยังคงมีความจำเป็นเนื่องจากวัคซีนสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ลดการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากปอดบวมและลดการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้คนรอบข้างก็ควรตระหนักในเรื่องนี้เช่นกัน


ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร กรรมการบริหาร ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานแถลงข่าว ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง "สังคมผู้สูงอายุ : วัคซีนที่ต้องฉีด" ว่าคนมักเข้าใจผิดว่าวัคซีนสำหรับเด็กเท่านั้น แต่ความเป็นจริงวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนในวัยเด็กลดลง ซึ่งวัคซีนสามารถลดการติดเชื้อ ลดการนอนโรงพยาบาล และโรคติดเชื้ออาจมีอาการรุนแรงขึ้นหากไม่ฉีดวัคซีนโดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว


สำหรับวัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ 60-65 ปี ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญและพบเป็นสาเหตุที่ต้องเข้าโรงพยาบาลหรือป่วยหนัก ทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิต ปัจจุบันมีการให้บริการฉีดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หอบหืด ถุงลมปอดโป่งพอง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน และหญิงตั้งครรภ์กว่า 3.5 ล้านโดส และจะเพิ่มเป็น 6 ล้านโดสในปีถัดไป


รวมถึง วัคซีนป้องกันนิวโมคอคคัสซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียตัวการทำให้อาการป่วยหนักขึ้น บางรายถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิตหรือเสียชีวิต ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันปอดบวมจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส แต่ประเทศไทยยังไม่มีให้บริการฟรี เนื่องจากราคาสูงราว 1,000p2,000 บาท นอกจากนี้การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ วัคซีนป้องกันงูสวัด กระตุ้นทุก 10 ปี ก็มีความสำคัญ เช่นกัน


ศ.นพ.ธีระพงษ์ กล่าวว่าโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหน้าฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคมตุลาคม ขณะที่ฝั่งยุโรปจะพบผู้ป่วยมากในช่วงหน้าหนาว เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อโดยการหายใจหรือการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง อาจมีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ทำได้โดยการรักษาอนามัยส่วนบุคคล การล้างมือและการฉีดวัคซีน ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ลดการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากปอดบวมและลดการเสียชีวิตได้ แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่โดยฉีดเข้ากล้ามบริเวณต้นแขนปีละ 1 ครั้ง


ป้องกันได้ 38% ดีกว่าไม่ฉีดเลย


แม้สหรัฐอเมริกาจะระบุว่าการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันการป่วยจากไข้หวัดใหญ่ได้ 38% ป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H3N3) 22% ป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1 pdm09) 62% และป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B 50% อย่างไรก็ตาม จากการคำนวณทางระบาดวิทยา พบว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในชาวอเมริกัน สามารถป้องกันการป่วยจากไข้หวัดใหญ่ได้ถึง 7.1 ล้านคน ป้องกันการป่วยจากไข้หวัดใหญ่ ที่ต้องพบแพทย์ 3.7 ล้านคน ป้องกัน การป่วยจากไข้หวัดใหญ่ที่ต้องนอน โรงพยาบาล 1.09 แสนคน และสามารถป้องกันการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ ได้กว่า 8,000 คน


คนในครอบครัวอย่าชะล่าใจ


ทั้งนี้จากรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เป็นกลุ่มก้อน โดยสำนักระบาดวิทยา จำแนกตามสถานที่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมp30 เมษายน 2562 พบว่า สถานที่ที่พบผู้ป่วยคล้าย ไข้หวัดใหญ่มากที่สุด ได้แก่ โรงเรียน รองลงมาคือ เรือนจำ โรงพยาบาล ค่ายฝึกตำรวจและค่ายทหาร ตามลำดับ ขณะเดียวกันจากรายงานในปี 2552 พบผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อปอดบวมในประเทศไทย 200p250 คนต่อแสนประชากร ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กอายุระหว่าง 0p4 ปี แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปกลับสูงมากกว่า


สะท้อนให้เห็นว่าแม้ผู้สูงอายุ บางรายจะอยู่แค่ในบ้าน แต่ก็ไม่ปลอดภัยและห่างไกลโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น บุคคลซึ่งใกล้ชิดกับผู้สูงอายุหรือกลุ่ม ผู้มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ  จึงต้องให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนด้วย เพราะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้ที่มีปัจจัย เสี่ยงสูงเมื่อตนเองป่วย โดยเฉพาะ ผู้ดูแลที่เป็นแรงงานต่างด้าว อาทิ ประเทศลาว ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการระบาดของโรคคอตีบ และประเทศพม่า พบเชื้อวัณโรคดื้อยาสูง โดยเฉพาะในพื้นที่กาญจนบุรี เนื่องจากการให้วัคซีนแรกเกิดของพม่ากับลาวยังไม่เพียงพอ


แพทย์ควรให้คำแนะนำ


ศ.นพ.ธีระพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยพบว่ายังมีผู้สูงอายุที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนอยู่เป็นจำนวนมาก สาเหตุหลักคือห่างไกลโรงพยาบาลและแพทย์ไม่แนะนำให้ฉีด รวมถึงประชาชนยังไม่รู้ถึงประโยชน์ในการฉีดวัคซีน และมีความกังวลว่าการฉีดวัคซีนอาจมีผลข้างเคียง แต่ในความเป็นจริงผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไม่รุนแรงและมักเป็นอาการเฉพาะที่เช่น ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ และหายได้ภายใน 2-3 วัน ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุและการป้องกันโดยการฉีดวัคซีนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดการทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บป่วย และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล


ที่ผ่านมาราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยได้จัดทำ "แนวทางการให้วัคซีนในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ" เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แพทย์และประชาชนเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนใน ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคเรื้อรังอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุผู้ในครอบครัวในด้านการป้องกันโรคและผลักดันภาครัฐ สังคม และเอกชน ให้เห็นความสำคัญในการสนับสนุนการให้วัคซีนแก่ผู้สูงอายุมาอย่างสม่ำเสมอ


ล่าสุดสถานเสาวภา สภากาชาดไทย มีการจัดทำโปรแกรม "สถานเสาวภา"เพื่อให้แพทย์และประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้ถึงวัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคเรื้อรังที่ควรได้รับการฉีดตามคำแนะนำดังกล่าวเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งสามารถเข้าใช้ได้โปรแกรมได้โดยผ่านทาง QR Code หรือ http:medschedule.md.chula.ac.th/vaccine โดยปัจจุบันมีจำนวนดาวน์โหลดแล้วมากกว่า 1 หมื่นดาวน์โหลด

Shares:
QR Code :
QR Code