เร่งช่วยคนตกงาน บรรเทาปัญหาโควิด – 19

ที่มาและภาพประกอบจาก : ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน


เร่งช่วยคนตกงาน บรรเทาปัญหาโควิด - 19 thaihealth


จากสถานการณ์โควิด – 19 ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานเป็นจำนวนมาก ทางกระทรวงแรงงานจึงออกมาตรการปรับลดขยายเวลานำส่งเงินสมทบประกันสังคม พร้อมจ่ายว่างงานช่วยเหลือสถานการณ์โควิด – 19


หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมแถลงข่าว ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 25 มี.ค.63 ในประเด็นมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยกล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ในเรื่องของการลดอัตราเงินสมทบ ขยายเวลาส่งเงินสมทบ และการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย มีสาระสำคัญ ดังนี้


ลดอัตราเงินสมทบ


> นายจ้าง เหลืออัตราร้อยละ 4 ระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. – พ.ค.63)


> ผู้ประกันตน มาตรา 33 เหลืออัตราร้อยละ 1 ระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. – พ.ค.63)


> ผู้ประกันตน มาตรา 39 เหลือร้อยละ 1.8 ระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. – พ.ค.63)


เร่งช่วยคนตกงาน บรรเทาปัญหาโควิด - 19 thaihealth


ขยายเวลาส่งเงินสมทบ นายจ้าง และ ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39


สำหรับงวดเดือน มีนาคม – พฤษภาคม ออกไปอีก 3 เดือน


 ค่าจ้าง เดือน มีนาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กรกฎาคม 2563


ค่าจ้าง เดือน เมษายน 2563 ให้นำส่งภายใน 15 สิงหาคม 2563


ค่าจ้าง เดือน พฤษภาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กันยายน 2563


เพิ่มสิทธิประโยชน์ กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป


> นายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด 19


รับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 วัน


> หน่วยงานภาครัฐสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว


รับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 60 วัน


และยังได้มีมติเพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน ดังนี้


> ผู้ประกันตนลาออก รับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน (บังคับใช้ 2 ปี)


> ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง รับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 200 วัน (บังคับใช้ 2 ปี)


สำหรับมาตรการความช่วยเหลือดังกล่าว ได้ผ่านการเห็นชอบจาก ครม. แล้ว ซึ่งกระทรวงแรงงานจะได้ออกประกาศและกฎกระทรวงแรงงาน เพื่อบังคับใช้ให้เร็วที่สุดต่อไป ทั้งนี้ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนให้มากที่สุด

Shares:
QR Code :
QR Code