เรื่องเล่าชุมชน คนตามรอยพ่อสู่วิถีพอเพียง

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


เรื่องเล่าชุมชนคนตามรอยพ่อ สู่วิถีพอเพียง thaihealth


ฟังประสบการณ์จริงจากพื้นที่สองศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นความสามารถในการจัดการท้องถิ่นโดยชุมชนเอง หากหลายต้นกำเนิดการเรียนรู้ยังมีที่มาจากการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปฏิบัติ


การจัดการชุมชนจนสร้างผลลัพธ์ความสำเร็จและสร้างชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน เกิดขึ้นภายในสวนเศรษฐกิจพอเพียงโรงพยาบาลรือเสาะ จ.นราธิวาส ที่โรงพยาบาลรือเสาะ เทศบาลตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จะมีสวนขนาดสองไร่ บรรยากาศร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ทำหน้าที่เป็นปอดของโรงพยาบาล และแหล่งอาหารสำหรับบุคลากร เรื่องเล่าชุมชนคนตามรอยพ่อ สู่วิถีพอเพียง thaihealthจากเดิมพื้นที่รกร้างว่างเปล่า จนเป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษ ได้รับการบุกเบิกอย่างจริงจังในปี 2556 โดยมีหัวเรี่ยวหัวแรงคนสำคัญคือ มาหะมะ แนแว รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลสวนทั้งหมด


โดยมีเกษตรอำเภอคอยมาช่วยอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกพืช ส่วนปุ๋ยและน้ำแทบไม่ต้องใช้เลยเพราะตรงนี้มีบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเพียงแค่เพิ่มออกซิเจนในน้ำ ก็ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุ นำไปใช้รดพืชผักได้โดยปริยาย ไม่เพียงปลูกพืชผักสวนครัว พืชหมุน เวียนต่างๆ นำมาปรุงเป็นอาหารกลางวัน แต่ในบ่อยังมีปลาช่อนซึ่งประมงจังหวัดเคยนำมาปล่อยไว้ขยายพันธุ์เติบโตกลายเป็นโปรตีนชั้นดีสำหรับทุกคนได้ ต่อมาปี 2557 ทางโรงพยาบาลอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ที่มีรายได้เดือนประมาณ 5,000 บาท มาทำครัวโบราณในพื้นที่ ครัวแห่งนี้ไม่ใช้แก๊สแต่ใช้ไม้ฟืน ซึ่งหาได้ง่ายในป่าของโรงพยาบาล


ผลจากการมีครัวแห่งนี้ ช่วยลดทอนค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารของบุคลากร โรงพยาบาลจากหัวละ 50 บาทลดลงมาเหลือเพียง 8 บาท แต่นอกจากจะเป็นแหล่งอาหารปลอดภัยของชาวโรงพยาบาลรือเสาะแล้ว "พ่อบ้านหญิง" ประจำโรงพยาบาลเล่าว่า นูรียา ซาริคาน นักจัดการงานทั่วไป หรือสวนเศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่สานสัมพันธ์และสร้างสังคมแบ่งปันของคนภายใน เพราะบุคลากรทุกคนจะนำเงินมารวมกันเป็นกองกลางเพื่อซื้อไข่ ข้าวสาร และวัตถุดิบอื่นๆ เงินทุนก้อนนี้ยังได้รับการสมทบโดยผู้อำนวยการ คณะแพทย์ พยาบาล ที่ช่วยบริจาคเพิ่มเติม แถมบางวันพวกเขาก็มาร่วมวงนั่งกินข้าวพร้อมหน้า สร้างสัมพันธภาพที่ดีเกิดขึ้นในหน่วยงาน "โดยปกติเราจัดเวรกันทำอาหาร ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ 11 โมงครึ่ง ทุกวันจันทร์ ถึงศุกร์ ส่วนเวลาอาหารเหลือ คนที่มา ช่วยงานยังสามารถนำอาหารเหล่านี้ กลับไปบ้านได้"เรื่องเล่าชุมชนคนตามรอยพ่อ สู่วิถีพอเพียง thaihealth


ไม่เพียงเท่านั้นครัวแห่งนี้ยังมีกระบวนการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยจะแยกขยะที่ขายได้ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ความสำเร็จยังกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบสำหรับประชาชนเข้ามาเรียนรู้เรื่องการจัดการพื้นที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงในช่วงวันสำคัญ อาทิ วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่สวนก็มักจะมีกิจกรรมปลูกต้นไม้ ขุดลอกบ่อ ที่ได้พลังใจและแรงหนุนทั้งจากคนในโรงพยาบาล ประชาชนในพื้นที่และทหารมาร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง


อาจกล่าวได้ว่า พื้นที่ตรงนี้จึงเป็นทั้งความภาคภูมิใจของโรงพยาบาลอย่างแท้จริงศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 1 ไร่ 1 แสน เทศบาลตำบลกลางหมื่น จ.กาฬสินธุ์ ปัญหาส่วนใหญ่ของเกษตรกรที่ ทำนา คือมักจะมีช่วงเวลาที่ต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตนานถึง 4 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักเลือกการออกไปทำงานรับจ้างทั่วไป เพื่อหารายได้มาเลี้ยงประทังชีพ


แนวทางดังกล่าวทำให้เกิดคำถามในใจของ ชูชาติ ภูวาสโสม ว่าเกษตรกรจะมีทางเลือกอื่นหรือไม่ที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยไม่ต้องออกไปทำงานหาเงินไกลบ้าน ปี 2555 เขามีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดหลักตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน) ที่จัดโดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์


เรื่องเล่าชุมชนคนตามรอยพ่อ สู่วิถีพอเพียง thaihealthชูชาติ ได้นำความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของตนเอง รวมทั้งยังศึกษาต่อยอดความรู้ต่อเนื่อง จนสามารถปรับปรุงผลผลิตเป็นที่น่าพอใจและยังลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเชื้อเพลิง ต้นทุนการผลิตในการทำเกษตร ความสำเร็จระดับส่วนตน ทำให้เขากลายเป็นบุคคลต้นแบบที่มีคนในชุมชนต้องการเรียนรู้กระบวนการของเขา หลังปรึกษาหารือจึงเห็นพ้องควรจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 1 ไร่ 1 แสน ขึ้นในเทศบาลตำบลกลางหมืน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยหลักคิดสำคัญของศูนย์แห่งนี้ คือแนวคิดที่ว่า "ใช้พื้นที่ 1 ไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด" เน้นการประยุกต์หลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช การดูแลกลุ่มและศูนย์แห่งนี้เป็นที่น่าพอใจ โดยมีการสานต่อความรู้โดยการเข้าร่วมอบรมโครงการต่างๆ


และที่สุด ในปี 2557 ชูชาติ ได้เป็นตัวแทนกลุ่ม เข้าประกวดนวัตกรรมอินทรียวัตถุ ดีเด่น (ประเภทปุ๋ย) และได้รับรางวัลชนะเลิศ รับใบประกาศนียบัตรเป็นบุคคลต้นแบบดีเด่น ปี 2557 ด้านการจัดการศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานแบบพอเพียง จากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ นอกจากนี้ยังได้รับประกาศนียบัตรเกษตรกรตัวอย่างผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ จากโครงการประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวชาวนาไทห้วยโพธิ์ ประจาปี 2557 ปัจจุบันศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง 1 ไร่ 1 แสน ยังทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานการเกษตรต่างๆ เพื่อศึกษาหาความรู้ต่อเนื่อง รวมทั้งจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจ


'โดยหลักคิดสำคัญของศูนย์แห่งนี้ คือแนวคิดทีว่า "ใช้พื้นที 1 ไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด" เน้นการประยุกต์หลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช'

Shares:
QR Code :
QR Code