เมื่อค่า“จีดีพี”กลายเป็นเพียงภาพลวงตา
ความสุข-ความพึงพอใจไม่ได้ตอบด้วย ‘ตัวเลข‘
เวลานี้ประชาชนทั้งโลกกำลังประสบชะตากรรมเดียวกัน คือครองทุกข์ด้วยปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำย่ำแย่เหมือนกันหมดแม้แต่ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาที่ว่าเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดก็ยังแย่สุดๆ
แล้วอย่างประเทศไทยจะไปเหลือรอดสันดรได้ยังไง เพราะคนไทยมักจะหลงลืมตัวในการใช้ชีวิตคือประมาทกับการใช้ชีวิตคือมักจะเผลอไผลไปในทางฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อวันนี้คนไทยส่วนหนึ่งที่มีพฤติกรรมเช่นนี้กำลังประสบผลแก่ตัวแก่ครอบครัว คือกำลังทุกข์กายทุกข์ใจเพราะสภาพคล่องที่เคยฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยวันนี้ไม่คล่องเหมือนก่อนแล้ว
แต่ยังมีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งไม่มากนักเมื่อเทียบจำนวนทั้งประเทศยังมีความสุขกายสุขใจปกติเหมือนอดีต เพราะเขาไม่ประมาทในชีวิตไม่ฟุ้งเฟ้อไม่ฟุ่มเฟือยคนไทยจำนวนนี้ยึดหลักการดำเนินชีวิตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางไว้หลายสิบปีทำให้เดือดร้อนกายใจน้อยที่สุด
ยิ่งเป็นคนระดับรากหญ้าเดินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงก็ยิ่งไม่ทุกข์กายทุกข์ใจมากมายนัก
รัฐบาลไทยของเราพยายามปลอบใจประชาชนว่าวันนี้เศรษฐกิจผ่านระดับต่ำสุดแล้วกำลังโงหัวขึ้น พยายามสร้างภาพที่ดีเพื่อให้เกิดความคลายทุกข์ แต่ความจริงมันใช่หรือเปล่า แม้ว่าจะมีการเอาตัวเลขเอาจีดีพีมาตอกย้ำให้เกิดมุมมองที่ดีขึ้น
แต่เมื่อการตีค่า ‘ความสุขและความพึงพอใจ‘ ไม่ได้ตอบโจทย์ได้ด้วย ‘ตัวเลข‘
นักคิดค้นตัวชี้วัด “ผลผลิตมวลรวมในประเทศ” (Gross Domestic Product) หรือ “จีดีพี” (GDP) ไซมอน คุซเนตส์นำเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ตั้งแต่ปี 1934 ถูกโจมตีอย่างไม่รู้จบว่า ไม่สามารถสะท้อนสภาพความเป็นจริงในสังคมปัจจุบันได้
ได้มีการจัดสัมมนาหัวข้อ “อนาคตของประเทศไทยหลังวิกฤติโลก : หนทางสู่สังคมอุดมสุข” (
ดร.สติกลิทซ์เริ่มการเสวนาด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นในปี 2007 เนื่องมาจากการอิงค่า “จีดีพี” ที่ไม่ได้สะท้อนสภาพความเป็นจริงในสังคม กล่าวคือ เมื่อ “ตัวชี้วัด”(Index) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสะท้อนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมบกพร่องก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ผิด และการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด เพราะเมื่อมองเห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่แสดงการเติบโตทั้งที่สภาพความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น มันก็จะเกิดการตีความและสื่อค่าที่ผิดทั้งระบบ
“จีดีพีในปี 2005 ที่ชี้ว่าเศรษฐกิจอเมริกากำลังไปได้สวยนั้นกลายเป็นเพียงภาพลวงตาเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2007 จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นจีดีพีไม่สามารถบอกถึงสภาพความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนถาวรได้ เพราะงั้นคนอย่างบิลล์ เกตต์ยังคงเสวยสุข แต่คนชนชั้นล่างกลับแย่เพราะแม้จีดีพีจะเพิ่มขึ้นจริง แต่เป็นการเพิ่มขึ้นที่ไม่ได้เกิดกับคนระดับล่าง 99% ที่เป็นรากฐานของสังคม” ดร.สติกลิทซ์กล่าวในช่วงหนึ่ง ดร.สติกลิทซ์ยังชื่นชมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยว่ายังทำให้เกิดการจ้างงานมากกว่าในประเทศสหรัฐฯ เสียอีก
“แม้จีดีพีจะยังมีคุณค่าสำหรับงานวิจัยแต่สังคมก็ต้องพูดคุยกันว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญในสังคม และอะไรที่เป็นมาตรฐานการวัดที่เหมาะสมในอนาคต” ดร.สติกลิทซ์กล่าว
คำถามต่อมาจึงอยู่ที่ว่านโยบายสาธารณะต่างๆ ควรจะยังผูกติดกับค่า ‘จีดีพี‘ อีกหรือไม่หรือเราจะมีตัวชี้วัดอื่นๆ ที่พอจะเป็นแนวทางในการพัฒนาทางสังคมโดยรวมร่วมกันอย่างไร ซึ่งดร.สติกลิทซ์ได้นำเสนอรูปแบบการคัดกรองตัวชี้วัดใหม่ว่า ควรอยู่ภายใต้คณะกรรมการที่มาจาก 3 กลุ่มย่อยคือ 1.กลุ่มที่ยังคงเห็นชอบการชี้วัดแบบจีดีพี 2.กลุ่มที่มองคุณภาพในชีวิตเป็นเรื่องสำคัญและ 3.กลุ่มที่เน้นเรื่องความยั่งยืนถาวรในเรื่องการพัฒนาและสภาพแวดล้อมทั้งนี้ก็เพื่อการแสวงหาความหลากหลายในเรื่องตัวชี้วัดที่ไม่ใช่สะท้อนเพียงแต่สถิติตัวเลข แต่มองไปถึงค่าความสุข ความรู้สึกความปลอดภัยและมั่นคงในชีวิตที่ ‘จีดีพี‘อาจวัดไม่ได้
นั่นเป็นเพียงหลักคิดอย่างย่นย่อของ ดร.สติกลิทซ์ ที่พอจะชี้ทางสว่างได้บ้างว่าอะไรคือภาพลวงตาและอะไรที่จะก่อให้เกิดภาพที่แท้จริง
ต้องลองติดตามการแสวงหาทางออกจากการคิดค้นตัวชี้วัด “ตัวใหม่” ที่กำลังจะเปิดตัวในวันที่ 14 กันยายนนี้ จะช่วยอุดช่องว่างของ ‘จีดีพี‘ ด้วยการลดสภาวะ‘ลวงตา‘ ซึ่งจะนำมาสู่การสะท้อนสภาพเศรษฐกิจและสังคมมวลรวมได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
Update 22-09-52
อัพเดทเนื้อหาโดย : อารยา สิงห์สวัสดิ์