เปิบ ‘น้ำพริก’ระวัง! สารกันเสีย

ที่มา : เว็บไซต์สยามรัฐ


เปิบ ‘น้ำพริก’ระวัง! สารกันเสีย thaihealth


แฟ้มภาพ


          เปิบ 'น้ำพริก' ระวัง! สารกันเสียอื้อ ยังพบเชื้ออาหารเป็นพิษ/สำเร็จรูปทั้งแบบแห้ง-แบบเปียก


          นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากที่ได้เก็บตัวอย่างน้ำพริกพร้อมบริโภค เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา น้ำพริกเผา น้ำพริกปลาร้าสับ น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก แจ่วบอง ที่จำหน่ายตามตลาดสด ตลาดนัด ศูนย์โอทอป ศูนย์ของฝากทั่วประเทศ ตั้งแต่ปีงบฯ55-58 รวม 1,071 ตัวอย่าง พบไม่ผ่านมาตรฐาน 164 ตัวอย่าง (15%) เป็นน้ำพริกพร้อมบริโภคแบบเปียก 346 ตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตรฐาน 84 ตัวอย่าง (24%) และน้ำพริกแบบแห้ง 725 ตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตรฐาน 80 ตัวอย่าง ( 11%)


          สาเหตุพบใช้วัตถุกันเสียเกินปริมาณที่อนุญาต ที่พบมากสุด ได้แก่ กรดเบนโซอิค โดยพบในน้ำพริกแบบแห้ง 1,089-6,872 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และแบบเปียก 1,005-14,004 มก./กก. (ข้อกำหนดอ้างอิงตามมาตรฐาน โคเด็กซ์ ไม่เกิน 1,000 มก./กก.) พบปนเปื้อนจุลินทรีย์-เชื้อโรคอาหารเป็นพิษเกินมาตรฐาน4.7% พบมากที่สุดในน้ำพริกแห้งจากผลตรวจที่ได้ พบน้ำพริกแบบเปียกใช้วัตถุกันเสีย เกินมาตรฐานมากกว่าแบบแห้ง ขณะแบบแห้ง ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์มากกว่าแบบเปียก เชื้อโรคอาหารเป็นพิษ น้ำพริกทั้ง 2 แบบ มีโอกาสตรวจพบเท่ากัน


          นพ.อภิชัยกล่าวว่า น้ำพริกพร้อมบริโภคมีคุณภาพไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนใหญ่ใช้วัตถุกันเสียเกินกำหนด แต่เมื่อประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคน้ำพริกคลุกข้าวยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย แต่ก็ต้องตรวจเฝ้าระวังประจำ ขณะจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษที่ติดปนมากับพริก เครื่องเทศ สปอร์เชื้อทำลายได้ยากภายใต้กระบวนการผลิตน้ำพริกที่ใช้ความร้อนไม่สูงนัก ซึ่งเขตสุขภาพที่พบว่าน้ำพริกสำเร็จรูปไม่ผ่านมาตรฐานมากที่สุด 2 อันดับแรกคือ เขตสุขภาพที่ 1 จ.เชียงใหม่ เชียงราย และเขตสุขภาพที่ 9 จ.นครราชสีมา ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งควรเลือกซื้อที่ผลิตใหม่ๆ มีฉลาก-เลขสารบบอาหาร วันผลิต-หมดอายุ เมื่อเปิดแล้วควรเก็บเข้าตู้เย็น

Shares:
QR Code :
QR Code