เปิดปัญหาเยาวชนกับสุรา

คาดอีก 40 ปีเยาวชน 1519 ปีจะกลายเป็นนักดื่มประจำ

 

 

        สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ การละเว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท  หนึ่งในศีล 5 ข้อ ที่ได้ยินและถูกพร่ำสอนกันมาแต่เล็ก แต่กลับพบว่าเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่หลงผิดกับสิ่งมอมเมาเหล่านี้

 

เปิดปัญหาเยาวชนกับสุรา

 

 

        ในการประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ 6 “สุราในโลกเสรี : alcohol problems in the globalized world” ซึ่งถือเป็นการประชุมครั้งใหญ่ที่เหล่าบรรดาภาคีเครือข่ายองค์กรงดเหล้า โดยมีศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน อาทิ แผนงานพัฒนาระบบ รูปแบบและวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาบริโภคสุราแบบบูรณาการ (ผรส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเป็นเวทีวิชาการในการรวบรวมองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการปัญหาแอลกอฮอล์ โดย นพ.บัณฑิต ศรไพศาล อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ได้เล่าถึงการเข้าถึง และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนให้ฟังว่า จากการสำรวจพบว่า เยาวชนชายร้อยละ 2040, หญิงร้อยละ 924 มีประสบการณ์การดื่มสุราแล้วในชีวิต แม้อายุไม่ถึงที่กฎหมายกำหนด โดยสัดส่วนของผู้ที่เคยดื่มฯ ในชีวิตในกลุ่มเยาวชนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา จำแนกตามระยะเวลาที่ดื่มครั้งสุดท้ายและเพศสองในสามของเยาวชนชาย และเกือบครึ่งของเยาวชนหญิง ดื่มใน 30 วัน

 

        เยาวชนมีพฤติกรรมดื่มฯ ที่เป็นอันตราย เกือบครึ่งของเยาวชนชาย (ร้อยละ 45.1) และเกือบหนึ่งในสี่ของเยาวชนหญิง (ร้อยละ 24.9) ที่ดื่มฯ มีพฤติกรรมดื่มแบบเสี่ยงสูงต่อการเกิดผลกระทบแบบเฉียบพลันโดยเฉลี่ยในรอบหนึ่งปี (ชายดื่มเบียร์ 3 ขวดกลม, หญิงดื่มเบียร์ 2 ขวดกลมต่อวันที่ดื่ม) สำหรับแนวโน้มความชุกของผู้ดื่มประจำของกลุ่มอายุต่างๆ อีก 40 ปีข้างหน้า พบว่าสองในสามของอายุ 1519 ปีจะกลายเป็นนักดื่มประจำ ซึ่งร้อยละ 2050 ของเยาวชนที่ดื่มฯได้รับผลกระทบต่อร่างกาย ชีวิต และการเรียนในทางใดทางหนึ่ง อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้อื่น โดยร้อยละ 40 ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจที่มีประสบการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยอมรับ ว่ากระทำความผิดภายใน 5 ชั่วโมงหลังดื่มฯ และสัดส่วนของผู้ที่กระทำความผิดระหว่างดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นตามระดับความรุนแรงของการกระทำความผิด ดังนี้ ร้อยละ 56 ของคดีผิดต่อชีวิตและร่างกาย ดื่มสุรา, ร้อยละ  46 ของคดีผิดเรื่องเพศ ดื่มสุรา, ร้อยละ 41 ของคดีพกอาวุธและวัตถุระเบิด ดื่มสุรา

 

เปิดปัญหาเยาวชนกับสุรา

 

 

        ผลสำรวจที่ออกมาถือว่าไม่น้อยที่ไทยเรามีเยาวชนตกเป็นทาสของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั่นอาจเป็นเพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนได้ง่ายหรือไม่อย่างไร? นพ.บัณฑิต มีคำตอบในเรื่องนี้ว่า ครึ่งหนึ่งของนักเรียนทั้งชายและหญิงสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ภายใน 10 นาที และเยาวชนในระบบการศึกษาระดับมัธยมและอาชีวศึกษาได้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากคนอื่นมากกว่าซื้อเอง  และยังพบว่าชายร้อยละ 20.4, หญิงร้อยละ 12 ได้มาจากคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี และสถานที่ที่เยาวชนมักเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มักเป็นสถานที่ที่ห่างไกลสายตาผู้ใหญ่ อาทิ สวน/ไร่นา  หอพัก และร้านรอบโรงเรียนในรัศมี 500 เมตร ยิ่งไปกว่านั้นมีถึงสองในสามของโรงเรียน และกว่าร้อยละ 90 ของหอพักมีร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในรัศมีเพียง 100 เมตร

 

        อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ได้เสนอคำแนะนำว่าต้องมีการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเป้าหมายที่กลุ่มเยาวชน เช่น การควบคุมการจำหน่ายเหล้าปั่น , ควบคุมแหล่งที่มาของเครื่องดื่มฯและสถานที่ดื่มฯ เช่น มาตรการจำกัดความหนาแน่นหรือการจัดโซนนิ่งของจุดจำหน่าย (โดยเฉพาะรอบสถานศึกษา) โดยกลไกการขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา มาตรการจำกัดวันเวลาและสถานที่จำหน่าย/ดื่ม , ควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเข้มข้น  เช่น การอนุญาตให้โฆษณาได้เฉพาะในสถานที่ซึ่งไม่อนุญาตให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าไปซื้อหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิงเช่นเดียวกับที่ได้ผลดีแล้วในกรณีห้ามโฆษณาบุหรี่ หรือการใช้มาตรการทางภาษีที่สามารถทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นที่นิยมดื่มของกลุ่มเยาวชนมีราคาแพง โดยคงระบบภาษีสรรพสามิต สองเลือกหนึ่งที่กรมสรรพสามิตใช้อยู่ในปัจจุบันไว้ และกำหนดอัตราภาษีให้สูงเพียงพอและปรับเพิ่มตามอัตราเงินเฟ้อทุกปี และควรนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกจากการดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเสรีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลดภาษีศุลกากรซึ่งจะเป็นผลให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราคาถูกเกินไป

 

        ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาที่นำเสนอผ่านในเวทีการประชุมสุราระดับชาติครั้งนี้ จะเป็นเพียงเสือกระดาษที่วาดเขียนไว้เท่านั้น หรือจะเป็นเรื่องที่จะเห็นได้จริงหรือไม่ ความจริงใจและจริงจังต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจและเกี่ยวข้องคือสิ่งที่ต้องบังเกิดผลให้เห็นชัด เพื่อไม่ทำให้ 1 ข้อจากศีล 5 ข้อเป็นเพียงการท่องจำของวิชาศาสนาพุทธเพียงเท่านั้น

 

 

 

 

ที่มา : สุนันทา สุขสุมิตร team content www.thaihealth.or.th

 

 

 

 

update : 08-12-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : สุนันทา สุขสุมิตร

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code