เปิดตัว `โฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน`

ที่มา : เว็บไซต์แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.


ภาพประกอบจากเว็บไซต์แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.


เปิดตัว 'โฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน' thaihealth


โรงเรียนบ้านโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนโรงเรียนต้นแบบ ของโครงการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการรณรงค์ลดน้ำหนักในเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้) ในภูมิภาค ปีที่ 3 เทอม 2 จัดนิทรรศการโครงการโฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน หวังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กในโรงเรียนให้เข้าใจและเท่าทันโรคอ้วน


นายมานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บอกว่า โครงการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการรณรงค์ลดน้ำหนักในเด็กฯ นี้ เป็นโครงการที่สนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักโภชนาการสมวัย สำนักงานบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เครือข่ายคนไทยไร้พุง และชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการใช้สื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย มุ่งใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านสุขภาวะ มีการถ่ายทอดให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อการสื่อสารสุขภาวะ ในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยให้ความสำคัญกับครูผู้สอน เด็กนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน ในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory learning) กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการ ได้แก่ ครู และนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)


เปิดตัว 'โฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน' thaihealth


 “ทั้งนี้ผลการดำเนินงานโครงการ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)” ปี 3 ที่ผ่านมา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ส่วนสูง และน้ำหนักของนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไป คือ หลังดำเนินโครงการฯ คณะกรรมการพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ส่วนสูง และน้ำหนักของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (สมส่วน) เพิ่มขึ้น ท้วมหรืออ้วนสูงลดลงเล็กน้อย ส่วนกลุ่มที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ผอม) ยังคงมีเท่าเดิม ซึ่งโดยภาพรวมการดำเนินงานเป็นที่น่าพึงพอใจของทุกฝ่าย แต่สำหรับสื่อสร้างสรรค์ที่ใช้ในการรณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ที่แต่ละโรงเรียนทำขึ้นนั้น ในหลายโรงเรียนทำได้ดี แต่ควรมีการพัฒนาให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น สามารถมีส่วนร่วมได้หลากหลายขึ้น ตลอดจนสามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถกระตุ้นหรือจูงใจให้เด็กนำไปใช้ บอกต่อไปยังครอบครับ ชุมชน และสังคมรอบข้างต่อไปได้ด้วย” นายมานพ แย้มอุทัย กล่าว


เปิดตัว 'โฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน' thaihealth


เมื่อเป็นเช่นนี้ นายมานพ แย้มอุทัย กล่าวต่อว่า สำหรับเทอม 2 นี้มีการต่อยยอด ขยายผลกิจกรรมและสื่อต่าง ๆ ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นเตือนให้เด็กและเยาวชนเท่าทันโรคอ้วน ซึ่งโรงเรียนบ้านโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ก็เป็น 1 ในโรงเรียนต้นแบบที่มีกิจกรรมน่าสนใจ ซึ่งในการตัดสินนั้นได้มีเกณฑ์ในการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการจะดูจาก 1.ความต่อเนื่องของแผนจากเทอมแรก (ที่ทำให้เด็กเกิดความตระหนัก) 2.การขยายเครือข่ายในการทำงาน 3.การสร้างผู้นำเด็ก 4.ภาวะโภชนาการและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.กิจกรรมทางกายที่สร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  6.การรู้เท่าทันสื่อ และ 7 การบูรณาการกับวิชาต่างๆ ในโรงเรียน โดยในเดือนพฤษภาคมนี้จะมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานใหญ่ของ 22 โรงเรียนเกิดขึ้นใจกลางเมือง สามารถติดตามกำหนดการของกิจกรรมได้ที่ www.artculture4health.com/nofat ซึ่งโรงเรียนที่ทำได้ตามเกณฑ์และมีความโดดเด่นที่สุดจะได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปครองด้วย จะเป็นโรงเรียนใดติดตามได้เร็ว ๆ นี้


เปิดตัว 'โฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน' thaihealth


ซึ่ง นางสาวดนตรี บุญลี  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ บอกว่า สถานการณ์ในประเทศไทย โรคอ้วนในเด็กมีจำนวนมากขึ้น จากการศึกษาของกรมอนามัยในช่วงระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง พบว่า เด็กในวัยเรียนอายุ 6–13 ปี อ้วนเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 15.5 เด็กที่อ้วนและมีน้ำหนักเกินส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำงานเชื่องช้าไม่ชอบออกกำลังกาย จากการศึกษาการเจริญเติบโตของเด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านโนนสูงในปีการศึกษา 2560 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 129 คน พบว่ามีเด็กอ้วนหรือน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 6.72 และเด็กกำลังจะอ้วนคิดเป็นร้อยละ 2.52 จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กอ้วนเหล่านี้น่าจะมาจากนิสัยการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ชอบรับประทานน้ำหวาน ขนมกรุบกรอบ และการดำเนินชีวิตที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อได้รับพลังงานจากอาหารเสริมมากกว่าที่ร่างกายนำไปใช้จึงส่งผลให้เด็กอ้วน ที่สำคัญเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมักมีความเสี่ยงของโรคหัวใจ มีคลอเลสเตอรอลสูง ระดับอินซูลินสูง และมีความดันโลหิตสูง นอกจะเกิดปัญหาทางกายแล้ว เด็กที่อ้วนอาจจะเจอกับภาวะทางจิตใจด้วย เช่น เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก ถูกเพื่อนล้อเลียนและแกล้ง ชอบแยกตนออกจากกลุ่มเพื่อนฝูง บุคลิกภาพไม่ดี ความสัมพันธ์ทางสังคมไม่ดี ส่งผลต่อการเรียนรู้ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ จากการดำเนินโครงการส่งเสริมการรับประทานผักและผลไม้ ลดหวานมันเค็ม และสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ทำให้ครู ผู้ปกครองเริ่มให้ความสนใจหันมาพัฒนาอาหารและสุขภาพของตนเองและลูกหลาน ส่วนครูและนักเรียนเริ่มหันมาดูแลเรื่องสุภาพ และเด็กก็ได้เรียนรู้วิธีดูแลสุภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาสุขภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อันจะส่งผลให้ภาวะโรคอ้วนในเด็กนักเรียนลดลง โรงเรียนบ้านโนนสูง จึงได้ทำโครงการที่มีชื่อว่า “โฮมพลคนสี่เผ่าไม่เอาโรคอ้วน” ขึ้น


เปิดตัว 'โฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน' thaihealth


“คำว่า “โฮม” เป็นภาษาอีสานแปลว่า รวมคน คำว่า “คนสี่เผ่า” เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ดั้งเดิมซึ่งประกอบด้วย เผ่าลาว เผ่าเขมร เผ่าส่วย และเผ่าเยอ ซึ่งใช้การแต่งกายและภาษาเป็นสื่อ ในปัจจุบันบ้านโนนสูงมีคนเผ่าต่าง ๆ อาศัยอยู่ทั้ง 4 เผ่า ซึ่งในโครงการโฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน นี้ ได้มีการนำการแสดงของสี่เผ่ามารวมกันผ่านกิจกรรม “สี่เผ่า เร้าอารมณ์” ในชุด รำสี่เผ่าไทย โดยเผ่าเขมร มีการแสดงในเพลงกะโน๊บติงตอง, เผ่าลาวมีการแสดงในเพลง มาม่วนเมืองขุนหาญ, เผ่าส่วยมีการแสดงในเพลง รำแม่มด และเผ่าเยอมีการแสดงในเพลง เซิ้งสะไน ขึ้นเป็นการปลูกฝังให้เด็กกล้าแสดงออก และมีสุขภาพดีทางด้านอารมณ์ด้วย สำหรับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ และการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เหมาะสมนั้นมีการบูรณาการโดยให้ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการสื่อสารและรณรงค์ร่วมกันผ่านหนังสือเล่มเล็ก, จดหมาย สารประชาสัมพันธ์, ตราสัญลักษณ์ผ่านเสื้อ หรือแม้แต่หนังสั้นรู้เท่าทันสื่อที่จัดทำขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยผลที่เกิดขึ้นจากโครงการในเทอมที่ 1 คือ นักเรียนร้อยละ 50 ที่มีภาวะทุพโภชนาการและจำนวนเด็กอ้วนในเด็กวัยเรียนลดลง, ครู นักเรียน มีพฤติกรรมรักการออกกำลังกายสูงขึ้นร้อยละ 80, ครู นักเรียนร้อยละ 80 มีสุขนิสัยในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ขึ้น และที่สำคัญ ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองและชุมชนที่ให้ความร่วมมือและมีความตระหนักในการพัฒนาสุขภาพมากขึ้น” นางสาวดนตรี บุญลี กล่าว


เปิดตัว 'โฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน' thaihealth


สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นางสาวดนตรี บุญลี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกิจกรรมนอกจากมีการแสดงรำสี่เผ่าไทยแล้วยังมีนิทรรศการ “โฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน” และกิจกรรม “สี่เผ่าไทย หัวใจแกร่ง” ซึ่งแบ่งเป็น 6 ฐานการเรียนรู้ดังนี้ ฐานที่ 1 ปั่นพอเพียง,ฐานที่ 2 สะพานล้อ, ฐานที่ 3 กบหรรษา, ฐานที่ 4 ลดแลกพลัง, ฐานที่ 5 การละเล่นพื้นบ้าน และฐานที่ 6 สัญญาณไฟจราจร โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ต้องการให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการมีโภชนาการที่ดีและปฏิบัติได้อย่างจริงจังและยั่งยืน สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติในการรับประทานอาหารไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็ม และเพิ่มผักผลไม้ ในทุก ๆ มื้ออาหาร และชวนออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติให้มีใจรักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ที่สำคัญเมื่อเด็กเรียนรู้แล้วสามารถขยายความรู้และถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้และเข้าใจในแบบเดียวกัน เชื่อว่าจะสามารถลดปัญหา “โรคอ้วน” ในสังคมลงได้


ซึ่งผู้ที่สนใจ และต้องการติดตามการทำงาน ความเคลื่อนไหวของ โรงเรียนบ้านโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ และโรงเรียนอื่นๆ ทั้ง 22 โรงเรียนได้

Shares:
QR Code :
QR Code