เบิ่งคนสารคาม แก้ปัญหา “ขยะ” เริ่มที่บ้าน
ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
ปัญหาจัดการขยะ เป็นปัญหาที่ทุกพื้นที่ต้องเผชิญรวมถึงจังหวัดมหาสารคาม ที่มีขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นถึงวันละตันหรือกว่าสามแสนห้าหมื่นตันต่อปี ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปีที่สำคัญขยะเหล่านี้ยังมีปริมาณตกค้างถึงตันและมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี
ซึ่ง"ขยะ" คือภาพสะท้อนชุมชนอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะเป็นบ่อเกิดปัญหาในหลายมิติทั้งเป็นแหล่งสะสมเพาะเชื้อโรคและพาหนะนำโรค ต้นเหตุปัญหาสุขภาพเศษขยะที่เกลื่อนกลาดย่อมทำให้สภาพแวดล้อมไม่เจริญตาสร้างมลพิษในอากาศและยังส่งผลต่อปัญหาเศรษฐกิจจากการ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดการขยะรวมถึงขยะที่กองทับถมจำนวนมาก ย่อมสะท้อนพฤติกรรมของคนในชุมชนที่ขาดวินัยและจิตสำนึก
เครือข่ายสภาฮักแพงเบิ่งแญงคนสารคาม จึงจับมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกันริเริ่มโครงการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ จ.มหาสารคามซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2556 โดยเน้นการสร้างกลไกลจัดการขยะของภาคีในท้องถิ่น ที่ช่วยกันออกแบบวิธีการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยระดับพื้นที่และระดับจังหวัด โดยมีเป้าหมายสำคัญคือสร้างแนวคิดการแก้ปัญหาขยะ ต้องเริ่มที่ตัวเองนั่นก็คือประชาชน
การดำเนินโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมจากคณะทำงานในหลากหลายท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย ทำให้ได้สะสมบทเรียนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงการสร้างพื้นที่ต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมในมหาสารคาม ซึ่งเกิดพื้นที่รูปธรรมในหลายแห่งด้วยกันทั้งระดับหมู่บ้านตำบล อำเภอ และขยายผลสู่ระดับนโยบาย ซึ่งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน จังหวัดมหาสารคามมีมติอนุมัติให้การจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม เป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของจังหวัดมหาสารคาม
ตลอดระยะเวลา 2 ปีกับพื้นที่รูปธรรมที่เกิดขึ้น นำมาสู่ห้องเรียนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานรวมพลคนจัดการขยะจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมาเป็นการรวมตัวของคนทั้งจังหวัดที่มุ่งมั่นร่วมแก้ปัญหาขยะแบบยั่งยืนครั้งสำคัญ
ดร.โชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามกล่าวว่าจังหวัด มีนโยบายสนับสนุนแนวคิดการจัดการขยะเองในแต่ละชุมชน เพราะการรณรงค์เรื่องขยะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยสิ่งสำคัญของกระบวนการนี้คือขยะเกิดที่ไหนชุมชนนั้นควรรับผิดชอบ ซึ่งชุมชนสามารถเลือกดำเนินการปัญหาเองได้ภายในชุมชน แต่หากปัญหาใดไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองก็ควรรวมกลุ่มจัดทำคลัสเตอร์ระหว่างท้องถิ่น โดยจังหวัดมหาสารคามได้มอบหมายให้แต่ละท้องถิ่นในจังหวัดขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวทั้งหมด 170 แห่งเพื่อให้เกิดองคาพยพ ในการขับเคลื่อนงานลดปริมาณขยะให้เป็นรูปธรรมต่อไป
ผมอยากบอกท้องถิ่นว่า ขยะเป็นทรัพย์สินที่อาจจะสามารถสร้างรายได้กลับมาให้ชุมชนได้ในอนาคต แต่อยากเรียนว่าพื้นฐานสำคัญที่สุดของการจัดการขยะ คือทุกคนต้องทำหน้าที่ตัวเองในขั้นต้น ประชาชนต้องแยกขยะเป็นก่อนจะจัดการด้านอื่น ถือเป็นการลงทุนที่ต่ำที่สุดส่วนภาคท้องถิ่นก็ควรออกเทศบัญญัติหรือวางมาตรการและมีแผนการจัดการขยะด้วย จะเป็นทิศทางการทำงานที่ทำได้ง่าย
ขณะที่ภาพสะท้อนจากมุมคิดของ ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ปัญหาขยะต้องจัดการที่บ้านหรือต้นทางที่ก่อให้เกิดขยะหลายๆที่หากเริ่มจัดการจะเห็นได้เลยว่าขยะลดลง
การจัดการขยะโดยเริ่มจากการคัดแยกขยะที่บ้าน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทั้งชุมชน ขณะเดียวกันอยากให้ภาควิชาการและภาคีที่มีองค์ความรู้เข้ามาช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ และเติมเข้าไปในชุมชนเพราะการแก้ปัญหาต้องเริ่มจากความรู้และเข้าใจ และสุดท้ายภาคนโยบายเข้ามาช่วยหนุนเสริมการขับเคลื่อนของชุมชน
พร้อมกล่าวว่า การจัดการขยะนอกจากจะช่วยชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น และลดค่าใช้จ่ายจากการจัดการในชุมชนได้ ยังเกิดความเข้มแข็งในชุมชนท้องถิ่น จากการที่ภาคประชาสังคมทุกคนจัดการปัญหาด้วยตัวเองได้ ซึ่งจะเป็นรากฐานที่เข้มแข็งในการเขยื้อนเรื่องอื่นๆต่อไป
ขณะที่ ศักดิ์เจริญ ภวภูตานนท์ เลขาธิการสภาฮักแพงเบิ่งแญงคนสารคาม ให้ข้อมูลว่าก่อนหน้านี้การจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดมหาสารคาม ยังไม่เป็นที่น่าภูมิใจนักเพราะยังมีขยะเพียงร้อยละ 9 เท่านั้น ที่กำจัดด้วยวิธีการที่ถูกต้องที่เหลืออีก 98,000 ตัน ยังไม่สามารถกำจัดได้อย่างถูกต้อง มีองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกแห่งที่ยังไม่มีการจัดการขยะที่เป็นระบบขยะเหล่านี้ ยังไม่ได้นำกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์แท้จริงและถูกวิธี การจัดการขยะที่ผ่านมาทาให้เกิดกลไกและนักขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมทุกระดับ
พร้อมกล่าวเสริมว่า แท้จริงแล้วในด้านการทำงานของสภาฮักแพงฯ ขยะเป็นตัวเดินเรื่องหนึ่งที่จะช่วยจุดประกายให้เกิดการกระบวนการมีส่วนร่วม และสร้างความร่วมมือร่วมใจของภาคประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม เป้าหมายหลักของเราคือ การทำให้คนมหาสารคามพึ่งตนเองได้และหันมาดูแลบ้านเมืองตัวเอง ด้วยความรักและหวงแหนการขับเคลื่อนเรื่องขยะจึงสอดคล้องกับเจตนารมย์ของเรา เพราะใครจัดการขยะได้ย่อมพึ่งตนเองได้และดูแลท้องถิ่นบ้านเขาเองได้
หน้าที่ของสภาฯ คือชวนผู้คนมาร่วมมือกับทางานให้ส่วนรวมและท้องถิ่นการ หนุนเสริมสิ่งที่ขาดสร้างการเชื่อมโยงเครือข่ายให้เกิดขึ้น และพยายามส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพของชาวมหาสารคาม ให้จัดการปัญหาชุมชนด้วยตนเองได้
แยกขยะเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่จะทำอย่างไรให้พฤติกรรมนี้กลายเป็นกิจวัตรของผู้คนนั่นคือ เป้าหมายปลายทางเพราะจิตสำนึกเป็นเรื่องที่พูดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำให้เขาเห็นต้องผลักดันให้เขาลงมือทำด้วยตัวเอง สองปีที่ผ่านมาผมมองว่าการขับเคลื่อนยังอยู่ในระยะขั้นต้น คือการจุดประกายให้เขาเริ่มรับรู้และเข้าใจสุดท้ายขยะจะถูกขยายผลไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความรู้สึกนึกคิดจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นใหม่ให้มีวินัยและรับผิดชอบต่อสังคม
เลขาธิการสภาฮักแพงฯ เอ่ยย้้ำทิ้งท้ายว่า นี่คือเส้นทางปฏิรูปประเทศไทยที่ชุมชนทำด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญไหนๆ