“เบาหวาน-หัวใจ-อ้วน” โรคยอดฮิตของผู้แทนไทย

แนะวิธีดูแลสุขภาพอย่างง่าย เลี่ยงโรคที่เกิดจากการทำงาน

 “เบาหวาน-หัวใจ-อ้วน” โรคยอดฮิตของผู้แทนไทย

          คนจำนวนมากเมื่ออายุขึ้นเลข 3 มักมองหาแหล่งตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหาโรค

 

          บางคนกว่าจะรู้ผลว่าเป็นโรคร้าย ก็ยากต่อการเยียวยารักษา หรือต้องใช้เงินที่เก็บมาทั้งชีวิตหมดไปกับการรักษาร่างกาย

 

          แต่จะมีสักกี่คน ที่เริ่มหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ โดยควบคุม “ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค”

 

          เร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี เครือข่ายคนไทยไร้พุง วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์จัดโครงการ “สถานีสุขภาพ ตรวจความผิต ส.ส. ครั้งที่ 2” ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม ณ อาคารรัฐสภา 1 เพื่อเป็นต้นแบบของการตรวจสุขภาพที่มุ่งการค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค โดยค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรค และยังเป็นการเตรียมความพร้อมกับปัญหาสุขภาพที่อาจมีขึ้นในอนาคต

 

          เนื่องจาก ส.ส.ถือเป็นต้นแบบสำคัญของการดูแลสุขภาพ กิจกรรมตรวจสุขภาพครั้งนี้ จึงมีการมอบรางวัลให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีผลการตรวจสุขภาพดีเด่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพมากยิ่งขึ้น

 

          จากหนัง “7 โรคยอดฮิตในกลุ่มผู้บริหาร ระบุว่า โครยอดฮิตที่พบบ่อยในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงของไทย ประกอบด้วย โรควูบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และความเครียด

 

          ขณะที่ผลการตรวจสุขภาพส.ส.-ส.ว.ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2551 โดยผลการตรวจสุขภาพ BAMA-EGAT-Score ซึ่งประเมินสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในภาพรวม พบว่า ส.ส. และ ส.ว. มีไขมันสะสมมากเกินเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 91 ของกลุ่ม ส.ส. และ ส.ว. ที่มาเข้ารับบริการทั้งหมด

 

          และยังพบว่ามีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ (>.25 kg/m2) ซึ่งจัดว่าอยุ่ในกลุ่มที่เป็นโรคอ้วน คิดเป็นร้อยละ 60 ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรงในระยะเวลา 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 35 ของกลุ่ม ส.ส.และ ส.ว. ที่มาเข้ารับบริการทั้งหมด

 

          “เบาหวาน” “เส้นเลือดหัวใจตีบ” และ “โรคอ้วน” จึงถือเป็นโรคที่ผู้บริหารระดับสูงต้องควรระวัง

 

          ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรค คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารขาดการออกกำลังกาย ประกอบกับ ความเสี่ยงจากการทำงาน อันได้แก่ การเผชิญกับภาวะความเครียด แรงกดดัน การพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้โรคประจำตัวที่มีอยู่แสดงอาการเร็วขึ้น

 

          ผลการสำรวจการตรวจสุขภาพนี้ ไม่แตกต่างกับกลุ่มผู้บริหารจากองค์กรอื่นๆ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยสำรวจมา สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยมีภาวะความเสี่ยงทางสุขภาพ

           ภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสามารถป้องกันได้ หากมีการดูแลและป้องกันร่างกายตั้งแต่ต้น ด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เหมาะสม

 

          วิธีดูแลสุขภาพอย่างง่าย 3 ขั้นตอน เพื่อหลีกเลี่ยงโรคที่เกิดจากการทำงานมีดังนี้  1. จัดระบบงานที่เหมาะสม โดยระยะเวลาการทำงานต้องไม่ควรทำมากกว่า 48 ชม./สัปดาห์  2. มีเวลาพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  3. ตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพเป็นประจำ

 

          สำหรับวิธีคลาดเครียด สามารถจัดการได้ 3 วิธีง่ายๆ ดังนี้ 1. อย่าเข้าหาความเคียด 2. ต้องมีวิธีรับรู้ความเครียด และรับรู้อย่างเป็นระบบ นั่นคือปัญหาอยู่ที่ไหนก็แก้ที่นั่น 3.หาวิธีบำบัดความเครียด เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เหมาะสม และตรวจสุขภาพเป็นระยะ

 

          ไม่เพียงแต่ผู้บริหารประเทศเท่านั้น บุคคลทั่วไปย่อมสามารถเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่อโรคได้เช่นกัน จึงยังไม่สายเกินไป  หากหันมาดูแลสุขภาพ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ตั้งแต่วันนี้

 

 

 

 

 

เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

 

 

 

 

Update : 01-09-51

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code