เน้นทักษะดูแลสุขภาพเสริมหลักสูตรนอกห้อง

   ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


เน้นทักษะดูแลสุขภาพเสริมหลักสูตรนอกห้อง thaihealth


แฟ้มภาพ


          ปัจจุบันการเรียนรู้ของเด็กได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนมากมาย โดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถเข้าไปพัฒนาการศึกษาของเยาวชนได้โดยไม่ต้องพึ่งตำราและการเรียนในห้องเพียงอย่างเดียว ที่จะทำให้เกิดความเครียดให้แก่ชีวิตพวกเขา รวมทั้งปัญหาสุขภาวะตามมาอีกด้วย


          ที่โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯ เมื่อไม่นานนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้สุขภาวะ เพื่อจัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมเรียนรู้สุขภาวะผ่านการปฏิบัติ (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเด็กในโรงเรียน


เน้นทักษะดูแลสุขภาพเสริมหลักสูตรนอกห้อง thaihealth


          ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สสส.ได้เข้าร่วมหารือกับ สพฐ.เกี่ยวกับการกำหนดเมนูกิจกรรมในโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มีทั้งสิ้น 5 กิจกรรมโปรแกรมการเรียนรู้ ได้แก่ ข้อ 1 โรงเรียนส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ข้อ 2 โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เด็กไทยแก้มใส ข้อ 3 โพธิสัตว์น้อย ลูกขอพ่อแม่เลิกเหล้า ข้อ 4 โรงเรียนปลอดบุหรี่ และข้อ 5 ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิตเยาวชนอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1-3 (ปวช.) โดยมีการอบรมเชิงปฏิบัติการไปแล้วตั้งแต่ช่วงเดือน เม.ย.2560


          กระทรวงศึกษาธิการจะนำชุดกิจกรรมไปขยายผลกับโรงเรียนที่เข้าร่วมนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เพื่อให้ครูสามารถนำกิจกรรมไปใช้ในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพให้เด็กได้อย่างเต็มที่ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการปรับใช้ให้ตรงกับเด็กแต่ละช่วงชั้น และมีลำดับความยากง่ายแตกต่างกันออกไป หลังจากนั้นโรงเรียนควรจัดให้มีการติดตามประเมินผลต่อไป" ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าวทิ้งท้าย


          ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้จะปรับปรุงแก้ไข 3 โปรแกรมการเรียนรู้สุขภาวะ ประกอบด้วย ข้อ 1 เด็กไทยแก้มใส ข้อ 2 โรงเรียนปลอดบุหรี่ และข้อ 3 โรงเรียนส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เพื่อนำเข้าสู่เมนู "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"


          "โดยกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะที่ สสส.ร่วมกับ สพฐ.ได้จัดทำขึ้นจะมุ่งเน้นให้สอดคล้องกับ 4 H (Head, Heart, Hand, Health) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทักษะด้านร่างกายและสุขภาพ (Health) เป็นหลัก เนื่องจากเป็นสื่อที่ฝึกการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ ฝึกสมาธิและความจำของผู้เรียน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อครูและผู้เรียนอย่างมาก โดยทางกระทรวงศึกษาธิการจะนำชุดกิจกรรมไปขยายผลกับโรงเรียนที่เข้าร่วมนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เพื่อให้ครูสามารถนำกิจกรรมไปใช้ในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพให้เด็กได้อย่างเต็มที่ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการปรับใช้ให้ตรงกับเด็กแต่ละช่วงชั้น และมีลำดับความยากง่ายแตกต่างกันออกไป หลังจากนั้นโรงเรียนควรจัดให้มีการติดตามประเมินผลต่อไป" ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าวทิ้งท้าย


เน้นทักษะดูแลสุขภาพเสริมหลักสูตรนอกห้อง thaihealth


          ด้าน ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กล่าวว่า สสส.และ สพฐ.ได้ร่วมกันจัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมเรียนรู้สุขภาวะขึ้น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ครูและบรรลุตามเป้าหมายของโครงการ โดยพัฒนาปรับปรุงแก้ไขเมนูกิจกรรมเพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ สามารถนำเมนูกิจกรรมโปรแกรมการเรียนรู้ไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม


          นอกจากนี้จะต้องจัดทำคู่มือการใช้งานสำหรับครู โดยมีรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติในแต่ละกิจกรรม มีแผนการจัดกิจกรรมพร้อมทั้งจัดทำเป็นสื่อออนไลน์และ VTR สำหรับเผยแพร่ผ่าน TEPE Online ให้โรงเรียนนำไปใช้ได้สะดวกและถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย ข้อ 1 การจัดทำคู่มือการใช้สำหรับคุณครู ข้อ 2 โปรแกรมกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ข้อ 3 การวิเคราะห์ 4 H ประกอบด้วย Head, Heart, Hand, Health และระบุตัวชี้วัดรายโปรแกรมการเรียนรู้ตามช่วงชั้นปี


          "ทั้งนี้ การออกแบบกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร จะต้องเป็นกิจกรรมที่กำหนดให้เรียนและเป็นกิจกรรมที่เลือกเรียน พร้อมทั้งมีแผนการจัดกิจกรรมรายชั่วโมง เพื่อให้สะดวกแก่ครูในการนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามบริบท ความต้องการ ความเหมาะสม และความพร้อมของโรงเรียน โดยเน้นเป้าหมายเพื่อพัฒนา 4 H พร้อมทั้งบูรณาการตัวชี้วัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องได้"


          "จึงเชิญผู้ทรงคุณวุฒิร่วมจัดทำแผนและตัวชี้วัดครั้งนี้ นำทีมโดย รศ.ดร.เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการและคณาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าทีมผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 ท่าน และคณะครู ซึ่งมีการระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สุขภาวะผ่านการปฏิบัติ (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ทั้ง 3 โปรแกรมการเรียนรู้สุขภาวะ นำเมนูขึ้นในเว็บไซต์ http://moderateclass.innoobec.com/moderate.php ให้ทันภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา2561" ดร.รัตนากล่าวทิ้งท้าย


          สำหรับกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"  คือเน้นให้เด็กนักเรียนผ่อนคลายมากขึ้น ไม่เครียดกับการเรียนในห้องเรียนจนเกินไป ไม่ใช่ท่องจำตำราอย่างเดียว ทำให้เด็กได้มีเวลาว่างเรียนรู้ตามวัย และเพิ่มกิจกรรมกลุ่มสร้างสรรค์ พร้อมเสริมสร้างทักษะด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้นอกห้องเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดของตนเอง ทำให้เด็กได้รู้จักคิดและปฏิบัติมากกว่าการท่องจำ


          อย่างเช่น โครงการ "เด็กไทยแก้มใส" ที่ สสส.จัดทำขึ้น จะให้ความสำคัญในการดำรงชีวิต การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และการมีจิตใจที่เป็นสุข ร่าเริง สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี เมื่อมีสุขภาพที่ดีนั้นก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มความสามารถ การสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงการมีกิจกรรมทางกายที่สร้างความแข็งแรง ก็จะช่วยป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพได้


          "การศึกษาด้วยการท่องจำอยู่แต่ในห้องเรียน ชีวิตของเด็กนักเรียนก็คงไม่ต่างจาก "หุ่นยนต์" ที่รอรับคำสั่งเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการสอดแทรกสื่อสมัยใหม่และกิจกรรมเสริมอย่างสร้างสรรค์เข้าไป จึงเป็นทางออกของการศึกษาในยุคนี้."


 


 


 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ