เดินหน้าแก้กฎหมาย เมาแล้วขับ

เดินหน้าแก้กฎหมาย เมาแล้วขับ thaihealth


ภาคประชาชนเดินหน้า เสนอแก้กฎหมาย เมาแล้วขับไม่ใช่ประมาทแต่เท่ากับเจตนาฆ่า


10 พ.ค. 58 ที่โรงแรมเอทัสลุมพินี ถนนพระราม4 ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายปลอดภัยทางถนน และมูลนิธิเมาไม่ขับ ร่วมจัดเสวนา "เมา + ขับ = ฆาตกร: บทเรียนกรณีเมาแล้วขับชนจักรยานสามศพ" เพื่อร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในเหตุการณ์เหยื่อเมาแล้วขับให้สังคมเกิดความตระหนักในความปลอดภัยบนท้องถนนยิ่งขึ้นโดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายจักรยานจังหวัดเชียงใหม่ร่วมการเสวนา


โดย นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวถึงสถานการณ์เมาแล้วขับกับเหยื่อจักรยานว่า จากสถิติอุบัติเหตุการจราจรทางถนนประเภทจักรยานจะเกิดขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 370 ครั้งซึ่งส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตไม่ต่ำกว่าวันละ 2 รายโดยการเมาแล้วขับถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆขึ้นโดยที่ผ่านมาคนไทยกว่า 26 เปอร์เซ็นต์ถูกครอบงำด้วยความคิดที่ว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องของโชคชะตาเคราะห์กรรมแต่แท้จริงแล้วอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เกิดจากความประมาทการขาดสติของบุคคลโดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากการเมาแล้วขับถือเป็นสิ่งที่บุคคลนั้นขาดสติจนทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบได้รับบาดเจ็บจนถึงขั้นเสียชีวิต


อย่างไรก็ตามในต่างประเทศ ที่ตนจะกล่าวถึงคือประเทศญี่ปุ่นซึ่งแต่เดิมมองว่าโทษเมาแล้วขับจนทำให้การเกิดอุบัติเหตุเป็นโทษจากความประมาทแต่ก็ได้มีการปรับแก้กฎหมายจนทำให้โทษเมาแล้วขับกลายเป็นโทษที่จากเจตนาฆ่าซึ่งจะมีบทลงโทษที่รุนแรงมากขึ้นการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวของประเทศญี่ปุ่นส่งผลให้สามารถลดอัตราการตายจากกรณีเมาแล้วขับได้ถึง10เปอร์เซ็นต์ดังนั้นถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมีการแก้ไขมาตรการทสงกฎหมายต่างๆซึ่งสิ่งที่ควรแก้ไขโดยเร็วคือ 1.โทษของการเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิตมีโทษจำคุก10ปีควรเป็นโทษที่ไม่มีการรอลงอาญา 2.รัฐต้องเร่งแก้กฎหมายการเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นถึงแด่ความตายเป็นการเจตนาฆ่า ไม่ใช่เกิดจากความประมาท 3.เมื่อเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้นจะต้องมีการตรวจวัดแอกอฮอล์ของผู้ขับขี่ในทีนที 4.รัฐต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดมีเดินหน้าแก้กฎหมาย เมาแล้วขับ thaihealthการตรวจเมาแล้วขับอย่างต่อเนื่อง


นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ เผยว่า ตนดำเนินการรณรงค์เมาไม่ขับมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปีแต่ก็ยังมีเหตุการณ์ความสูญเสียต่าง ๆ บนท้องถนนเกิดขึ้นจากการเมาแล้วขับอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังคมยังไม่ตระหนักถึงปัญหาและเร่งแก้ไขก็จะทำให้คนบริสุทธิ์ต้องเสียชีวิตจากคนเมาเพิ่มมากขึ้นดังนั้นภาคประชาชนจึงต้องตื่นตัวและร่วมกันเรียกร้องให้ภาครัฐทำให้ถนนเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับยานพาหนะทุกประเภท และมีการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำผิดกฎหมายเมาแล้วขับอย่างรุนแรงและสูงสุดและร่วมกันทำให้คนเมาไม่สามารถอยู่บนถนนได้อีกต่อไป


ด้านนายณรงค์ เทียมเมฆ ตัวแทนเครือข่ายจักรยาน กล่าวว่า การปั่นจักรยานในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 3ประเภทคือ 1.การปั่นเพื่อสุขภาพ 2.การปั่นในชีวิตประจำวัน 3.การปั่นเพื่อการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ ซึ่งบนท้องถนนนักปั่นส่วนใหญ่จะเป็นการปั่นเพื่อการเดินทางและเพื่อสุขภาพอย่างไรก็ตามคนที่ไม่ใช่จักรยานมักมองว่าการปั่นรถจักรยานบนท้องถนนเป็นสิ่งกีดขวาง เกะกะการสัญจรของยานพาหนะอื่นๆแต่แท้จริงแล้วจักรยานถือเป็นยานพาหนะที่ช่วยโลกลดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและถนนถือเป็นสถานที่สำหรับยานพาหนะทุกประเภทไม่เพียงรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เท่านั้นอีกทั้งภาครัฐก็ยังมีการรณรงค์ให้ประชาชนใช้จักรยานเพื่อสุขภาพและเพื่อการเดินทางกันมากขึ้นแต่ภาครัฐกลับยังไม่มีมาตรการรองรับที่เพียงพอดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมกันสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนให้แก่ผู้ขับขี่ทุกประเภท โดยเฉพาะจักรยานซึ่งถือเป็นยานพาหนะที่บอบบางที่สุด


อีกทั้งนายเอกชัย แก้วเกีรติ นักปั่นจากเครือข่ายนักปั่นจักรยานจังหวัดเชียงใหม่ ที่อยู่ในเหตุการณ์กรณีเมาแล้วขับชนจักรยานสามศพ กล่าวว่า จากเหตุการณ์กรณีเมาแล้วขับจนทำให้เกิดอุบัติเหตุชนนักปั่นจักรยานเสียชีวิตซึ่งนักปั่นจักรยานเป็นเพื่อนสนิทที่ปั่นจักรยานกันเป็นประจำและปั่นกันเป็นกลุ่ม โดยปั่นจักรยานเรียงหนึ่งตามไหล่ถนนอย่างมีวินัยแต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นจากคนเมาแล้วขับทำให้เพื่อนสนิทต้องเสียชีวิตวันนี้จึงขอข้อเรียกร้อง 5 ข้อ เพื่อลดความเสี่ยงและไม่ให้มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำอีกคือ อยากให้เพิ่มโทษให้หนักขึ้นทั้งจำและปรับพร้อมทั้งให้มีด้านตรวจแอลกอฮอล์ถาวรรวมถึงอยากให้สถานบันเทิงปิดไม่เกิน24.00น.ซึ่งอยากให้ออกกฎและบังคับใช้จริงจังอีกทั้งให้สร้าง BikeLane เพิ่มขึ้นและขอความอนุเคราะห์รถปิดท้ายขบวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสร้างความปลอดภัยให้นักปั่นจักรยานมากยิ่งขึ้น


 


 


ที่มา:  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ