อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต

          ผู้ป่วยที่ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ทำให้ขับของเสียได้น้อย ดังนั้นเพื่อที่จะ ชะลอความเสื่อมของไต และยืดเวลาการล้างไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมอาหารดังต่อไปนี้

/data/content/22126/cms/abegmquvw568.jpg

          1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ หมู่เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ หมู่ข้าว แป้ง หมู่ผัก หมู่ผลไม้ หมู่นม โดยปริมาณที่บริโภคแต่ละหมู่อาหารขึ้นอยู่กับระยะการเสื่อมของไต

          2. จำกัดการรับประทานสารอาหารโปรตีน โปรตีนคือสารอาหารจำเป็นในการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อในร่างกายเราพบโปรตีนในเนื้อสัตว์ ข้าวแป้ง ผัก ผลไม้เมื่อกินโปรตีน ร่างกายจะเปลี่ยนโปรตีนเป็นกรดอะมิโนและไนโตรเจน ซึ่งส่วนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ไนโตรเจน จะถูกขับออกมาในปัสสาวะตามปริมาณที่กินเข้าไป เหตุผลที่จำกัดโปรตีนเพราะ ไตเป็นแหล่งกำจัดของเสีย ร่างกายเผาผลาญโปรตีน ถ้ากินโปรตีนมากก็จะมีของเสียผ่านไตมาก ไตทำงานหนักมากขึ้น

          3. จำกัดอาหารที่มีโซเดียมสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมมาก เช่น เครื่องปรุง รสต่างๆ รวมทั้งอาหารหมักดองเค็ม และใช้เครื่องเทศ สมุนไพร มะนาว และน้ำตาล ในการช่วยชูรสอาหาร

          4. จำกัดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ฟอสฟอรัสมีมากในถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เมล็ดพืช เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ปลาทั้งกระดูก นม โยเกิร์ต เนยแข็ง ซ็อคโกแลต เครื่องดื่มน้ำอัดลมสีเข้ม เช่น โคล่า เป๊ปซี่

/data/content/22126/cms/befijv123589.jpg          5. จำกัดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผักสีเขียวเข้ม ผักสีเหลือง และผลไม้ที่มี โพแทสเซียมสูง ควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำและควรลวกหรือต้มผักให้สุก

          6. น้ำ เนื่องจากความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังนั้นจะลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการบวม มีความดันโลหิตสูง หากมีอาการบวมน้ำ ให้ดื่มน้ำไม่ควรเกินวันละ 750-1000 ซีซี หรือ 3-4 แก้วต่อวัน แต่ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการบวม สามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ

          7. พลังงาน ควรได้รับพลังงานจากอาหารให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด ภาวะที่มีการเผาผลาญมากกว่าการสร้าง ชนิดของไขมันส่วนใหญ่ควรเป็นไขมันที่มาจากพืช ควรใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง ในการปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ กะทิ และอาหารที่คอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ ปลาหมึก ปู กุ้ง หอย และควรใช้แป้งโปรตีนต่ำในการเพิ่มพลังงาน

          8. ขนมหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน สามารถรับประทานขนม หวานได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงขนมใส่กะทิ หรือขนมอบที่มีเนย เนยแข็ง เพราะขนมอบมักใส่ผงฟู ซึ่งเป็นสารจำพวกฟอสเฟต(ฟอสฟอรัส) สูง ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วย และระดับน้ำตาลในเลือดยังสูงอยู่ ควรหลีกเลี่ยงขนมหวานจัดซึ่งมีน้ำตาลมาก ไม่ควรใช้น้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

/data/content/22126/cms/oprsuxy24679.jpg          แนวทางในการรับประทานสารอาหารโปรตีน

          รับประทานอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพดี เพราะร่างกายจะนำเอาโปรตีนไปใช้อย่างเต็มที่ ทำให้มีของเสียเกิดขึ้นน้อย ไตไม่ต้องทำงานหนัก อาหารในกลุ่มนี้ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ นม และผลิตภัณฑ์นม โดยต้องกินปริมาณโปรตีนตามที่แพทย์กำหนด

          ควรรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ และไข่ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของโปรตีนที่ได้รับต่อวัน (ควรงดไข่แดงเมื่อระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง)

          ควรเลือกเนื้อสัตว์สด ไขมันต่ำ คลอเลสเตอรอลต่ำและไม่ผ่านการแปรรูป เช่น เนื้อปลา ควรหลีกเลี่ยง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต ตับอ่อน ปลาเค็ม ปูเค็ม กั้งดอง อาหารหมักดอง เช่น ปลาส้ม แหนม เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูแฮม กุนเชียง ไส้กรอก หมูยอ หมูสามชั้น สันคอหมู ขาหมูส่วนที่มีมัน เป็นต้น

 

 

          ที่มา : กลุ่มงานโภชนวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี

Shares:
QR Code :
QR Code