‘หนูกินไม่เป็น-ผักไม่อร่อย-มันขม’

ที่มา : แฟนเพจสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม


ภาพประกอบจากแฟนเพจสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม


'หนูกินไม่เป็น-ผักไม่อร่อย-มันขม' thaihealth


“หนูกินไม่เป็น” “ผักไม่อร่อย มันขม” คำตอบจากปากของวัยจิ๋ว เฉลยปริศนาของเศษอาหารกลางวันที่เหลือทิ้งทุกวัน โดยเฉพาะประเภทผักและผลไม้ที่มักจะโดนเขี่ยทิ้ง ยิ่งหากวันไหนมีคะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ เป็นส่วนประกอบ เศษอาหารจะมากเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับผลไม้ประเภทมะละกอ และแก้วมังกร ที่เด็กๆ มักแอบทิ้งเป็นส่วนใหญ่


สภาพปัญหานี้เกิดขึ้นที่ โรงเรียนวัดศิริจันทาราม ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทางโรงเรียนไม่อาจมองข้ามได้ เพราะการที่เด็กมีทัศนคติไม่ชอบทานผักผลไม้ จะส่งผลไปถึงการเจริญเติบโต และพัฒนาการด้านอื่นๆ


สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องจัดให้เอื้อต่อการบริโภคผักผลไม้ และลำพังการจัดการภายในโรงเรียนคงทำไม่สำเร็จ จึงต้องดึงแกนนำผู้ปกครองและชุมชนเข้าร่วม ให้เป็นแหล่งผลิตผักและผลไม้ปลอดสารพิษสู้สถานศึกษา โดยมีครูทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงหลัก


'หนูกินไม่เป็น-ผักไม่อร่อย-มันขม' thaihealth


สารพัดวิธีที่คณะทำงานโครงการนำมาใช้ ได้แก่ 1.สมุดบันทึกนักเรียนที่บริโภคผักและผลไม้เหลือทิ้ง 2.อบรมให้ความรู้แก่แม่ครัว ให้จัดการอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ 3.จัดทำเมนูให้มีความเหมาะสม 4. พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ด้วยการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของผัก ผลไม้ชนิดต่างๆ แล้วให้แกนนำถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียน 5.กิจกรรมสื่อสารที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมหน้าเสาธง เสียงตามสาย โฮมรูม กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กิจกรรมเมนูเพื่อสุขภาพ อาทิ เมนูส้มตำ ผัก/ผลไม้เพื่อสุขภาพ, เมนูผักชุบแป้งทอดเพื่อสุขภาพล เมนูน้ำผัก/ผลไม้ต้านมะเร็งเพื่อสุขภาพ เมนูแซนด์วิชประกันชีวิต, เมนูสลัดผัก ผลไม้เพ่อสุขภาพ, เมนูยำสารพัดผักเพื่อสุขภาพ, เมนูบิงชูน้ำแข็งใสเพื่อสุขภาพ รวมถึงจัดเวทีคืนความรู้ “หนูน้อยรักผัก”

Shares:
QR Code :
QR Code