สํานักงานสถิติแห่งชาติสํารวจพฤติกรรมการเล่นกีฬา
การเล่นกีฬาหรือออกกําลังกายเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลจํานวน และคุณลักษณะทั่วไปของผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายรวมทั้งพฤติกรรมการเล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย
สําหรับประกอบการจัดทํานโยบายหรือวางแผนในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปสําหรับการสํารวจใน พ.ศ.2554 นี้ เป็นการสํารวจครั้งที่ 4 โดยเก็บข้อมูลจากประชากรที่มีอายุ 11 ปีข้นไปที่ตกเป็นตัวอย่างทั่วทั้งประเทศในเดือนมีนาคม พ.ศ.2554 โดยมีผลสรุปที่สําคัญดังนี้
1. ความถี่ในการเล่นกีฬาหรือออกกําลังกายของประชากรต่อเดือน
ในช่วง 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ มีผู้ที่เล่นกีฬาหรื อออกกําลังกาย (ร้อยละ 38.7) เล่ นกี ฬ าหรื อ ออกกําลังกาย 11 – 20 วัน รองลงมาคือผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย 3 – 10 วัน และ 21 – 30 วัน (ร้อยละ 31.7และ 25.7 ตามลําดับ) และต่าสุดคือผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายน้อยกว่า 3 วัน คิดเป็นร้อยละ 3.9 และพบว่าผู้ชายและผู้หญิงในแต่ละกลุ่มของความถี่ของการเล่นกีฬาหรือออกกําลังกายมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการเล่นกีฬาหรือออกกําลังกายของประชากรต่อครั้ง
จากแผนภูมิ พบว่า ร้อยละ 36.6 ของประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไป เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายในช่วง 1 เดือน ก่อนวันสัมภาษณ์ครั้งละ 31 – 60 นาทีรองลงมาซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือครั้งละ 21 – 30 นาที (ร้อยละ 34.6) และพบว่า ร้อยละ 8.5 ที่ออกกําลังกายครั้งละมากกว่า 60 นาทีขึ้นไป
3. ระยะเวลาที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายอย่างต่อเนื่อง
จากผลการสํารวจพบว่าเกือบ 3 ใน 4 ของผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายมีการเล่นติดต่อกันมานาน 7 เดือนขึ้นไป สูงสุดคือ ร้อยละ 73.2 โดยผู้ชายมีสัดส่วนสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 77.2 และ 69.0ตามลําดับ) ส่วนที่เหลือคือผูที่เล่นไม่เกิน 6 เดือน โดย เล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย 1 – 3 เดือน และ 4 – 6 เดือน มีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือร้อยละ 13.5 และ 12.1 ตามลําดับ
4. ประเภทของการเล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย
จากจํานวนผู้ ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย 15.1 ล้านคน พบว่า 1 ใน 3 เป็นผู้ที่เล่นกีฬา (ร้อยละ 34.7) ที่เหลือ (ร้อยละ 65.3) คือผู้ที่ออกกําลังกายด้วยวิธีต่างๆ เช่น เดิ น วิ่ง การใช้ อุปกรณ์ ประกอบ เป็นต้น โดยสัดส่วนของการออกกําลังกายด้วยการเดินมีสัดส่วนสูงสุด คือร้อยละ 20.0 รองลงมาคือการวิ่ง ร้อยละ 18.5และการใช้อุปกรณ์ออกกําลังกายต่างๆ ร้อยละ 14.4ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 12.4 เป็นการออกกําลังกายด้วย วิธีการอื่นๆ เช่น โดยการเต้น เล่นโยคะ เป็นต้น
5. เหตุผลทีเล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย
จากการสํารวจ พบว่า มากกว่า 3 ใน 4 ของผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกาย (ร้ อ ยละ 74.6) เล่นเพราะต้องการให้ร่างกายแข็งแรง ส่วนเหตุผลอื่นๆ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 23.6 คือ เล่นเพราะมีคนชวนเล่น เพราะมีปัญหาสุขภาพ ต้องการลดน้ำหนัก เป็นต้น
6. สุขภาพกาย
จากการศึกษาความสัมพันธ์ของการเล่นกีฬาหรือออกกําลังกายของผู้ป่วย พบว่ า จากจํานวนประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไป
ทั้งหมด 57.7 ล้านคน มีอาการป่วยในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา จํานวน 17.1 ล้านคน ซึ่งในจํานวนนี้เป็นผู้ที่ไม่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 73.1 ซึ่งอาจเป็นเพราะเล่นไม่ไหว ไม่ต้องการเล่น ไม่เคยเล่น เป็นต้น ส่วนผู้ที่เข้าพักรักษาในสถานพยาบาล ระหว่าง 12 เดือน ก่อนวันสัมภาษณ์ มีจํานวน 3.1 ล้านคน ซึ่งในจํานวนนี้เป็นผู้ที่ไม่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายในรอบ 1 เดือน ที่ผ่านมาถึงร้อยละ 76.0
7. สุขภาพจิต
เมื่อเปรียบเทียบสุขภาพจิตคนไทยในปี 2554กับการสํารวจครั้งที่ผ่านมาพบว่า ในปี 2551 – 2553 คะแนนสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พร้อมๆกับการที่สัดส่วนของคนที่มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปลดลงอย่างต่ อเนื่องแต่ผลการสํารวจในปี 2554 พบว่า สุขภาพจิตในภาพรวมคะแนนเริ่มลดลงและมีสัดส่วนของผู้ท่มสุขภาพจิตต่ากว่าคนทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบจากภาวะน้าท่วมใน 54 จังหวัดของประเทศไทย
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ