‘สุโขทัย-ลำปาง’ นำร่องจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
เพราะการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้พื้นที่หรือจังหวัดเป็นตัวตั้ง นอกจากจะทำให้เกิดการมอง ภาพของปัญหาได้อย่างถูกต้อง และเกิดแนว ทางการแก้ปัญหาเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นแล้ว ยังก่อให้เกิดพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัด ในการร่วมกันขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาบนเป้าหมายเดียวกันคือ "ลูกหลาน" ของเรา
ใน "เวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 33" ที่จัดขึ้นโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จึงได้หยิบยกเอาความสำเร็จของการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ในท้องถิ่น ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการต่อยอดพัฒนาระบบข้อมูลและเครือข่ายสร้างกลไกในการขับเคลื่อนขยายผลออกไปให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ "จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้พื้นที่เป็นฐานตอนที่ 3 : สุโขทัย vs ลำปาง"
นายมานพ ษมาวิมล ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2 สุโขทัย กล่าวว่า ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เป็นปัญหาใหญ่ที่สำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เพราะการอ่านออก เขียนได้ คือหัวใจหลักของการเรียนรู้ในทุกสาขาวิชา จากผลการสำรวจการอ่านและเขียนเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดตั้งแต่ปี 2551-53 พบว่ามีปัญหาด้านการอ่านและเขียนสูงถึงร้อยละ 12.9 และ 15.11 และมีค่าเฉลี่ยวิชาภาษาไทยที่ต่ำกว่าระดับประเทศถึงร้อยละ 1.72 ในปี 2554 จึงได้มีการกำหนดนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาวิชาภาษาไทย ภายใต้พันธสัญญา "ลูกพ่อขุนราม ลายมืองาม จบ ป.3 ต้องอ่านออก เขียนได้ทุกคน จบ ป.6 และ ม.3 ต้องมีทักษะการคิด การอ่าน สื่อสารได้สองภาษา"
"การทำงานของ สพป.สุโขทัยเขต 2 เริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายร่วมกันว่าการอ่านเป็นพื้นฐานและหัวใจหลักในการเรียนทุกวิชา และเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ของเด็ก พร้อมกับเชิญชวนให้ครู ผู้บริหาร และบุคลากรด้านการศึกษาร่วมแรงร่วมใจกันทำให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ พร้อมนำมาตรการต่างๆ มาใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาวิชาภาษาไทย เช่น เน้นการอ่านออก เขียนได้ ตั้งแต่ชั้น ป.1 จัดทำบัญชีคำพื้นฐานเพื่อเป็นเครื่องมือการสอนให้กับครู ปรับการสอนอ่านเป็นการแจกลูกประสมคำ ให้แต่ละโรงเรียนมีอิสระในการคิดนวัตกรรมการสอน เพื่อให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีการประเมินการอ่านและเขียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง มอบรางวัลให้โรงเรียนที่นักเรียนอ่านออกเขียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีการนิเทศติดตามแบบกัลยาณมิตร"
โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานยกระดับคุณภาพการศึกษาวิชาภาษาไทยของ สพป.สุโขทัยเขต 2 ประสบความสำเร็จก็คือ การเพิ่มชั่วโมงการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อเน้นให้เด็กอ่านออก เขียนได้ ก่อนเป็นลำดับแรก ไม่ดึงเวลาครูในวันธรรมดาเพื่อไปฝึกอบรม เพื่อให้ครูได้มีเวลาในการสอนและดูแลเด็กๆ อย่างเต็มที่ และโรงเรียนแต่ละแห่งต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญแนวทางการทำงานต่างๆ เหล่านี้ทำให้ตัวเลขของเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนพบว่านักเรียนสามารถอ่านออกได้ตามเกณฑ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2556 และผลสอบรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.1-6 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-56 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศอย่างต่อเนื่องถึง 3 ปีจนล่าสุดทาง สกว. สสส. และ สสค. ได้เข้ามาสนับสนุนโครงการวิจัย "การวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการจัดการเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสุโขทัย" ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2 สุโขทัย เพื่อขยายผลการดำเนินงานสร้างเครือข่ายและกลไกการจัดการในระดับพื้นที่ที่ ยั่งยืน ที่จะนำไปสู่การก้าวข้ามการไม่รู้หนังสืออย่างเป็นระบบร่วมกันทั้งจังหวัด เพื่อให้เกิดบทเรียนและองค์ความรู้ที่พร้อมขยายผลสู่การปฏิบัติพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ
ด้านจังหวัดลำปาง โดย "มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง" เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. ในการทำวิจัยและพัฒนาการศึกษาเชิงพื้นที่ผ่าน "โครงการวิจัยพัฒนากลไกข้อมูลกระบวนการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพสถานศึกษาขนาดกลางในจังหวัดลำปาง" ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากเวทีกลางที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งในและนอกระบบการศึกษา มาร่วมกันค้นหาปัญหาในด้านของการศึกษาของจังหวัดลำปาง จนพบปัญหาสำคัญคือ "ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของคุณภาพสถานศึกษา"
ผศ.จำลอง คำบุญชู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวว่า เมื่อสาวลึกลงไปในปัญหาการศึกษา พบว่ามีความเหลื่อมล้ำคุณภาพสถานศึกษาเป็นจุดเชื่อมกลาง จนเกิดเป็นเป้าหมายในการทำงานกับโรงเรียนขนาดกลางที่มีจำนวนนักเรียน 500-2,000 คน โดยไม่มีการแบ่งแยกสังกัดในการขับเคลื่อนงานวิจัย โดยใช้โรงเรียนในกลุ่มนี้เป็นตุ๊กตาให้เกิดการมองเห็นภาพรวมของปัญหาร่วมกัน เกิดการประสานกลไกภาคีทุกภาคส่วนร่วมกัน โดยไม่ได้เป็นหน้าที่ของโรงเรียน ไม่ได้เอาพื้นที่เขตเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอากระทรวงศึกษาฯ เป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง แต่เอาพื้นที่ลำปางเป็นตัวตั้ง
"หลักสำคัญของการพัฒนาก็คือการทำงานบนฐานข้อมูล เพราะต้นสังกัดของแต่ละโรงเรียนก็มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง และมีอิสระที่จะบริหารจัดการข้อมูล แต่ถ้ามองข้อมูลภาพรวมลำปาง กลับพบว่ายังขาดตัวเชื่อม ซึ่งข้อมูลตรงนี้ถ้าหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการศึกษาได้มาพัฒนาและเห็นข้อมูลของลำปางร่วมกัน และอาศัยกลไกที่ที่เกิดขึ้นมาขับเคลื่อนผ่านข้อมูลตรงนี้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่สำคัญอันหนึ่งของโครงการวิจัย ว่าเราจะพัฒนาข้อมูลอย่างไร เราจะดึงกลไกเข้ามาร่วมทำให้เกิดข้อมูลที่เป็นของลำปางอย่างไร แล้วเราจะใช้ประโยชน์ร่วมกันของข้อมูลนี้อย่างไร เราจะจัดการข้อมูลนี้อย่างไร และข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดให้เห็นถึงคุณภาพของสถานศึกษาได้อย่างไร ณ วันนี้ ลำปางเราได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยหน่วยงานต่างๆ เริ่มเห็นตรงกันว่าสามารถที่จะทำกันได้โดยไม่ต้องอาศัยกระทรวงหรือต้นสังกัดเป็นคนสั่ง และว่า "การปฏิรูปการเรียนรู้หรือยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดลำปางควรจะเริ่มจากจุดเล็กๆ จากผู้ปฏิบัติงาน แล้วจึงค่อยๆ ขยายผลขึ้นไป" โดยตั้งเป้าว่าภายใน 2 ปีจะพัฒนาให้เกิดกลไก ฐานระบบข้อมูล ที่จะนำไปสู่การกำหนดรูปแบบ แนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสถานศึกษาที่เกิดขึ้นในจังหวัด
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผน สสส. ได้ให้คำแนะนำถึงแนวทางการขยายผลการทำงานของจังหวัดสุโขทัยและลำปางว่า โครงการของจังหวัดสุโขทัยจะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นถ้ามองเรื่องของการอ่านให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยปูพื้นฐานเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ในครรภ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจะเกิดความเชื่อมโยงระหว่างระบบสาธารณสุข ระบบของท้องถิ่น และโรงเรียน ที่จะช่วยทำให้ความสามารถทางภาษาซึ่งจะเป็นพื้นฐานการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์ คุณธรรม การใช้เหตุและผล ตรงจุดนี้จะสามารถเพิ่มพลังของจังหวัดให้ครอบคลุมทุกกลุ่มระบบที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน
"ส่วนจังหวัดลำปาง ถ้าเราสามารถดึงพลังของโรงเรียนจากทุกสังกัดมาร่วมกันได้ จะเกิดการเชื่อมโยง 2 การเชื่อมโยง คือ หนึ่ง เชื่อมโยงระหว่างระบบ เช่น จากปฐมวัยมาสู่ประถม ถ้าเราร่วมมือกับท้องถิ่นก็จะเกิดการเชื่อมโยง เช่น เด็กควรจะไปในโรงเรียนที่ควรไป ไม่ควรต้องเดินทางไกลมากเกินไป สองคือ เกิดเชื่อมโยงภายในระบบเดียวกัน ระหว่างประถมกับมัธยม เช่น การยุบโรงเรียนขยายโอกาสที่ไม่จำเป็น โดยไปเน้นที่โรงเรียนมัธยมในพื้นที่ให้เข้มแข็งขึ้น และเกิดความเชื่อมโยงระหว่างมัธยมสู่อาชีวะ ตรงนี้เราสามารถดูได้ว่าเด็กลำปางของเราควรจะไปอยู่ที่ไหน ผลิตภาพของอาชีวะต้องการเกษตรเท่าไร ท่องเที่ยวเท่าไร อุตสาหกรรมเท่าไร พาณิชยกรรมเท่าไร แล้วหาทางทำให้เด็กมีความชอบในสัมมาชีพตั้งแต่อยู่ประถมและมัธยม และก็สามารถเดินไปสู่ช่องทางวิชาชีพที่เหมาะสม"
ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี ระบุว่า จากการจัดเวทีมาตลอด 3 ปี แนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่ยึดเอาจังหวัดหรือพื้นที่เป็นตัวตั้ง ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าทำให้เกิดการบูรณาการ และพลังจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการร่วมกันทำงานเพื่อยกระดับการศึกษา จากเดิมที่การสั่งการผ่านระบบราชการไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้เนื่องจากเพราะระบบราชการคือระบบการควบคุมที่ไม่สอดคล้องกับการศึกษาซึ่งเป็นความงอกงาม
"การปฏิรูปการศึกษาจะต้องเน้นการกระจาย ไปยืนเข้าคิวเหยียดยาวซื้อช็อกโกแลต คนอำนาจลงไปในระดับพื้นที่ ส่วนกระทรวงศึกษาฯ ชอบซื้อ ทำยังไงก็ไม่เลิกซื้อ และคงซื้อกันจนวาระก็ควรจะต้องปรับตัวเองมาเป็นผู้สนับสนุนในเชิงสุดท้ายทั้งของทัวร์และของชีวิต นโยบายและด้านวิชาการ โดยให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล ดิฉันกลับถึงเมืองไทยด้วยความดีใจมากมาย และจัดการศึกษา กระบวนการปฏิรูปก็จะเกิดขึ้นแม้จะไม่ได้เกิดความประทับใจจากการท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ โดยไม่เกิดความขัดแย้งกับใคร สิ่งญี่ปุ่นเท่าไรนัก แต่ก็รู้สึกขอบคุณแดนอาทิตย์อุทัยที่สำคัญคือจะต้องทำงานบนฐานข้อมูล จึงจะครั้งนี้เป็นยิ่งนัก เพราะการมาญี่ปุ่นเที่ยวนี้ ทำให้สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในดิฉันตระหนักในสัจธรรมสำคัญของชีวิตว่า อย่าทำมิติต่างๆ ที่ส่งผลกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อะไรเกินตัว และเกินกำลังของตัวเองเป็นอันขาด อย่างตรงจุด" ศ.ประเวศกล่าวสรุป
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต