“สื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็ก LD ประจำปี 2557”

   /data/content/26787/cms/e_acjktuvx2356.jpg        


          โครงการสื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็ก LD เป็นโครงการที่จัดประกวดผลงานสื่ออ่านสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities : LD) ซึ่งในปีนี้ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 โดยเปิดรับสมัครผลงานตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2557 ที่ผ่านมา มีคุณครู พ่อแม่ผู้ปกครอง หน่วยงาน องค์กร ตลอดจนบุคคลทั่วไปทั้งจากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ให้การตอบรับเป็นอย่างดีในการร่วมส่งผลงานเข้าประกวด


           วันที่11 ธันวาคม 2557 เป็นโค้งสุดท้ายของการตัดสินผลงานรอบชิงชนะเลิศ และพิธีมอบรางวัลสำหรับ ผู้ชนะเลิศในโครงการ “สื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็ก LD”


           คุณสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ในฐานะผู้จัดโครงการฯ กล่าวถึงภาพรวมโครงการฯ  ภาพรวมของโครงการฯ สำหรับการจัดประกวดที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 มีผลงานหนังสืออ่านสร้างสุข และสื่ออ่านสร้างสรรค์เข้าร่วมโครงการจากทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด นับเป็นการต่อยอดเพื่อจุดประกายให้สังคมหันมาผลิตสื่ออ่านที่มีคุณภาพเพื่อช่วยเหลือเด็ก LD อีกทั้งยังเป็นการช่วยกระตุ้นและสร้างเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์หนังสือ และสื่ออ่านที่ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นให้เด็กได้ใช้การอ่านไปสู่การสร้างสุขในชีวิต และนำศักยภาพที่สำคัญของการอ่านสร้างความสุขเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ด้วย รวมถึงจะได้นำสื่อที่ชนะการประกวดเผยแพร่ให้เป็นสมบัติสาธารณะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คุณครู พ่อแม่ และผู้แวดล้อมเด็ก LD นำไปใช้ และเป็นตัวอย่างให้เกิดการพัฒนาสื่ออ่านสร้างสุขให้มากยิ่งขึ้น


         พญ.เลิศสิริ ราชเดิม จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันราชานุกูล และหนึ่งในคณะกรรมการผู้ตัดสินโครง/data/content/26787/cms/e_eilmptvx1679.jpgการฯ กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาช่วยเหลือเด็ก LD  LD (Learning Disabilities) เป็นความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำว่าศักยภาพที่แท้จริง ทั้งที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและความสามารถด้านอื่นปกติดี สิ่งสำคัญของการดูแลเด็ก LD คือการจัดแนวทางการเรียนรู้โดยการสร้างสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ และส่งเสริมทักษะด้านอื่นๆ ที่เด็กสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาได้เต็มศักยภาพ


        นอกจากนี้ผู้เชียวชาญด้านเด็ก LD ให้แนวคิดต่างๆ  “สื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็ก LD ควรเป็นอย่างไร” ได้อย่างน่าสนใจ,ดร.ผดุง อารยะวิญญู ประธานสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทย “การสร้างสื่อสำหรับเด็กแอลดี ต้องสอดคล้องกับหลักวิชาการ รู้ว่าเด็กเรียนรู้อย่างไร มีปัญหาอย่างไร” ,พญ. อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล

“สื่อควรดึงดูดความสนใจให้ติดตาม เราให้เกิดการเรียนรู้ ชัดเจนทั้งภาพและตัวอักษร ง่านต่อการจดจำ”,รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รักษาราชการแทนผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ "คุณพุ่ม”

“สื่อที่ดี ต้องกระตุ้นประสาทสัมผัสทุกด้านคือได้ยิน เห็น สัมผัส ลงมือทำ ควบคู่ไปกับการจัดการที่ดีของเด็ก” ,ผศ.นพ.มนัท  สูงประสิทธิ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ “เรื่องราวต้องสนุกสมวัย การอ่านไม่ยาก ช่วยให้เด็กสนุกกับการอ่าน “


         จากความคิดเห็นเบื้องต้นของผู้ที่ทำงานในแวดวงการทำงานด้านเด็กแถวหน้าของประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ครู /data/content/26787/cms/e_dfghilorsw25.jpgพ่อแม่ และคนที่อยู่รอบข้าง ล้วนแต่มีความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ แน่นอนว่า หนังสือ สื่ออ่านสร้างสรรค์ ที่ดี ก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยกระตุ้น และพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งสร้างสุขให้กับเด็กในการเรียนรู้ ให้กับเด็ก LD ได้เป็นอย่างดี


           โดยในปีนี้ มีผลงานที่น่าสนใจส่งเข้าร่วมโครงการจากหลายหน่วยงานด้วยกัน โดยมีผลวานที่เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ประเภท


          “หนังสืออ่านสร้างสุข” ได้แก่


          คุณอรอุมา ธรรมประดิษฐ์  (ชื่อผลงาน : หนังสืออ่านสร้างสุข น้อง1 รู้จักเพื่อนใหม่)


          คุณอรอุมา ธรรมประดิษฐ์  (ชื่อผลงาน : เพื่อนๆ น่ารักจัง)


          ประเภท “สื่ออ่านสร้างสรรค์”  ได้แก่


          คุณแก้วปัญญา ศรีหาตา และคณะเพื่อนร่วมทีม  (ชื่อผลงาน : แดนดินถิ่นสกล)


          คุณพรพะนา ประเทพา  (ชื่อผลงาน : ดอกไม้แสนสวย)


          คุณเพียงใจ ทองพวง และคณะเพื่อนร่วมทีม  (ชื่อผลงาน : สระเอีย (เล่นไปอ่านไป))


          คุณลัดดาวัลย์ นาขันที และ คุณตำหนัก นาคแท้  (ชื่อผลงาน : ตาปริศนา)


          ร่วมลุ้น และติดตามผลการประกวดรอบชิงชนะเลิศ ได้ที่ www.happyreading.in.th,www.motherandcare.in.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0-2241-8000 ต่อ 326,330


 


 


           ที่มา : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน 

Shares:
QR Code :
QR Code