สสส. หนุน อปท.จัดการความปลอดภัยทางถนนท้องถิ่น

“ซิ่งพากันตาย” เป็นปัญหาและปรากฏการณ์ในพื้นที่ ซึ่งในประเทศไทย อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของประชากรไทยต่อจากโรคเรื้อรังทั่วไป ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บเป็นกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ขณะที่สาธารณภัยอื่นๆ แม้จะมีความรุนแรง แต่เทียบไม่ได้กับอุบัติภัยทางถนน และอาจมีผู้เสียชีวิตสูงถึงปีละ 1.9 ถึง 2 ล้านคน หากไม่หาทางแก้ไขโดยเร่งด่วน

สสส. หนุน อปท.จัดการความปลอดภัยทางถนนท้องถื่น

ไทยมีสถิติการเสียชีวิตและบาดเจ็บสูง โดยเฉพาะการพิการถึงขั้นทุพพลภาพสูงถึง 5,000 คนต่อปี เมื่อเปรียบเทียบสถิติขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมีสถิติผู้สูญเสีย 19.6 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งยังสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ที่มีผู้สูญเสีย 4.8 คน ต่อ 100,000 คน

สสส. หนุน อปท.จัดการความปลอดภัยทางถนนท้องถื่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สรุปสถิติอุบัติเหตุ 14 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2540 – พ.ศ.2552) พบว่า อุบัติเหตุทางถนนมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 12,000 ราย และผู้บาดเจ็บเฉลี่ย 62,000 ราย ส่งผลต่อความเสียหายทางทรัพย์สินเพิ่มขึ้นระหว่าง พ.ศ.2540 ถึง พ.ศ.2552 จาก 1,500 ล้านบาทเป็น 12,000 โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญได้แก่ วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ และวันหยุดยาว เป็นต้น

ความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เนื่องจากแนวโน้มการเดินทางด้วยรถส่วนบุคคล ทั้งจักรยานยนต์ รถนั่งส่วนบุคคล มีสัดส่วนมากกว่าการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจ และโครงสร้างทางประชากร ความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐและท้องถิ่น จำกัดเฉพาะช่วงเทศกาลเป็นหลัก ขาดการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง

สสส. หนุน อปท.จัดการความปลอดภัยทางถนนท้องถื่นทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดของนโยบาย โครงสร้างการทำงาน งบประมาณ และกฎหมาย ขาดการทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบปัจจุบันข้อมูลกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2553 พบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดบนถนนนอกเขตทางหลวงแผ่นดินซึ่งเป็นถนนของ อบต. หมู่บ้าน เทศบาล ถนนทางหลวงชนบทร้อยละ 63.4

ปัจจุบันท้องถิ่นมีแนวโน้มในการพัฒนาและขยายตัวด้านโครงสร้างพื้นฐานมาก โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางคมนาคม การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวท้องถิ่น หรือการพัฒนาด้านอื่นๆ แต่ก็พบว่าพฤติกรรมเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เช่น การดื่มแล้วขับ การไม่สวมหมวกนิรภัย เป็นต้น ก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนของท้องถิ่นยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ และยังไม่สอดคล้องกับการขยายตัวทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน

สสส. หนุน อปท.จัดการความปลอดภัยทางถนนท้องถื่นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพิจารณาจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกโดยย่อว่า “ศปถ. อปท.” โดยมีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีคณะกรรมการ ศปถ. อปท. ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นประธานกรรมการ โดยมีผู้แทนหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคประชาสังคมและภาคเอกชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว เข้าร่วมเป็นกรรมการและมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับระเบียบนี้

โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ให้จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการเพื่อการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนนให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการกำหนดนโยบายการวางแผน งบประมาณ การดำเนินงาน และการติดตามประเมินผลส่งเสริมและสนับสนุนมาตรฐานความปลอดภัยทางด้านโครงสร้างสิ่งแวดล้อม และยานพาหนะ รวมไปถึงมาตรฐานด้านการดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย และส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย

สสส. หนุน อปท.จัดการความปลอดภัยทางถนนท้องถื่น

อปท.ส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดตั้ง ศปถ.อปท. ทางศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน (ศว.ปถ.) โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงสนับสนุนให้มีการจัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยทำงานร่วมกับพื้นที่เป้าหมาย รวม 7 ตำบล ได้แก่ 1.เทศบาลตำบลเชียงคานอำเภอเชียงคาน จ.เลย 2.องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหญ้าปล้องอำเภอวังสะพุง จ.เลย3.องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทองอำเภอเมือง จ.ชัยภูมิ 4.องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จ.อุดรธานี 5.องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จ.ขอนแก่น6.องค์การบริหารส่วนตำบลแคนเหนืออำเภอบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น7.องค์การบริหารส่วนตำบลป่าปออำเภอบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น

ขณะนี้กำลังดำเนินการชี้แจงและคัดเลือกผู้นำตำบลละ 10 คน เพื่อมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการเพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน ซึ่งจะนำเสนอและขยายผลในโอกาสต่อไป

         

เรื่อง:  สมพันธ์ เตชะอธิก
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

 
Shares:
QR Code :
QR Code