สร้างรากฐานให้ชีวิต ตั้งแต่เด็กประถมวัย
จากการสำรวจของกรมอนามัย ปี 2557 พบว่า เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัยถึงร้อยละ 27.5 ด้านผลการสำรวจสถานการณ์ความฉลาดทางอารมณ์ ( EQ) ลดลงจากเฉลี่ย 45.12 จุดในปี 2554 เหลือเฉลี่ย 44.21 จุด ในปี 2557 ส่วนสติปัญญา (IQ) ลดลงจากเฉลี่ย 98.59 จุด ในปี 2554 เหลือเฉลี่ย 93.1 จุด ในปี 2557
แฟ้มภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่อาศัยอยู่ในนอกเขตเมือง มี IQ เฉลี่ย 89.18 จุด ขณะที่เด็กในเขตเมืองมี IQ เฉลี่ยเท่ากับ 100.33 จุด แสดงให้เห็นถึงช่องว่างในการรับบริการและการดูแลเด็กปฐมวัยระหว่างเด็กไทยเขตเมืองและเขตชนบท ซึ่งมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ เช่น แม่วัยรุ่น ภาวะโภชนาการ ปัญหาสุขภาพ การ ได้รับธาตุเหล็กและไอโอดีน การได้รับนมมารดา การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวและสิ่งแวดล้อม และความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐ แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์คุณภาพเด็กปฐมวัยของไทย มีแนวโน้มลดลงในทุกด้าน
ล่าสุดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุม "สานพลังร่วมสร้างสุขภาวะเด็กปฐมวัย: ปฐมวัย…คุณภาพที่สร้างได้" โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานจากภาครัฐด้านนโยบาย ท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักการศึกษา ผู้ปกครอง กว่า 1,500 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวทางของเด็กปฐมวัยให้มีความยั่งยืนต่อไป
"การวางยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาให้ประชากรมีคุณภาพ จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ การสร้างรากฐานชีวิต จึงต้องเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัย คือตั้งแต่แรกเกิด-5 ปี ถือเป็นช่วงเวลาทองที่พัฒนาการมนุษย์ถูกสร้างและพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากพลาดในช่วงนี้ไปก็จะไม่สามารถเรียกกลับคืนมาและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชีวิตที่เหลืการลงทุนใน ช่วงอายุ 0-5 ปี จะได้รับผลตอบแทนสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่น และจะได้ผลตอบแทนคืนกลับมาอีก 7 เท่า จากการมีทักษะที่ดีขึ้น ผลการเรียนที่ดีขึ้น รายได้ที่สูงขึ้น การเจ็บป่วยที่ลดลง ค่าใช้จ่ายด้านสังคมสงเคราะห์ และอาชญากรรมที่ลดลง" ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวในพิธีเปิดการประชุม
ด้าน นางเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุน สุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ สสส. และภาคีเครือข่าย มุ่งหวังให้เกิดผลลัพธ์ในการทำงานดังนี้ 1. สร้างและขยายเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น บุคลากรด้านการศึกษา บุคลากรด้านสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย 2. สร้างความตระหนักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย 3. นำเสนอบทบาทและวิธีการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยที่หลากหลาย และเป็นรูปธรรม และ 4. สื่อสารให้สาธารณชนและสังคมมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กไทยได้รับการพัฒนาและเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ
ที่ผ่านมาประเทศ ไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมาก ดังตัวอย่างเช่นการที่รัฐบาลสนับสนุนเงินเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในครอบครัวที่ยากจน คน ละ 400 บาทต่อเดือน แต่การดูแลเด็กปฐมวัยก็ยังคงมีช่องว่างอยู่มาก ส่วนหนึ่งเพราะมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกัน โดยมีกระทรวงที่เกี่ยวข้องถึง 5 กระทรวง จำเป็นต้องทำงานให้เชื่อมโยงและประสาน กันอย่างใกล้ชิด
ที่ผ่านมายังมีอุปสรรคในการประสานงานกัน สสส. จึงได้เข้ามามีบทบาทในการเชื่อมโยง โดยเข้ามาสนับสนุนการทำงานวิชาการ การสร้างโครง การนำร่องที่สามารถเชื่อมเพื่อให้เกิด ผลในการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างแท้จริง
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ