สร้างพัฒนาการสมวัย 1,000วันแรกของชีวิต

ที่มา: กรมอนามัย


สร้างพัฒนาการสมวัย 1,000วันแรกของชีวิต thaihealth


แฟ้มภาพ


กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตสำคัญสุดต่อสมอง จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด หวังให้เด็กไทย   สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย


นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการเรื่อง ขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัยณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซนเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ว่า ใน 1,000 วันแรกของชีวิตนับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงวัยทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง เพราะเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายใยประสาทนับล้านโครงข่าย ซึ่งการที่เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อกันทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วันอยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี)  ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทยให้มีคุณภาพกรมอนามัยจึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัยเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด (Child Project Manager)


นายแพทย์อรรถพล กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลส่งเสริมเด็กอา 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย ทั้งด้านโภชนาการ ทันตสุขภาพ พัฒนาการ กิจกรรมทางกาย การนอน สุขาภิบาลอาหารและน้ำ ด้วยความร่วมมือจากสถานบริการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนา   เด็กเล็ก ชุมชน และครอบครัว เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายผลการดำเนินงาน โดยให้ผู้ปฏิบัติงานได้แลกเปลี่ยนแนวคิดและแนวปฏิบัติให้กับผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ นำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง และขยายผลไปยังพื้นที่อื่นต่อไป โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในระดับจังหวัดซึ่งมีการแต่งตั้งผู้จัดการแผนงาน (Project Manager)เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนงาน เนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งการพัฒนาศักยภาพ Child Project Manager จะทำให้สามารถเป็นผู้บริหารจัดการการดำเนินงานสตรีและเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด 

Shares:
QR Code :
QR Code