สภาผู้นำอุตรดิตถ์ สร้างการมีส่วนร่วมสู่ชุมชนน่าอยู่

ที่มา : สยามรัฐ 


สภาผู้นำอุตรดิตถ์ สร้างการมีส่วนร่วมสู่ชุมชนน่าอยู่ thaihealth


แฟ้มภาพ


เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ และเสริมพลังภาคีเครือข่ายการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสริมพลังภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านกลไกหน่วยจัดการ และสภาผู้นำชุมชนในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์


สภาผู้นำอุตรดิตถ์ สร้างการมีส่วนร่วมสู่ชุมชนน่าอยู่ thaihealth


ชุมชนส่วนใหญ่ใน จ.อุตรดิตถ์ มีความเข้มแข็งในหลายๆเรื่อง ตั้งแต่เรื่องกลไกสภาผู้นำชุมชน ซึ่งมีพัฒนาการนำไปสู่ผลสำเร็จในการดำเนินงาน โดย นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข และประธานคณะกรรมการบริหารแผนสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ สสส.กล่าวว่าภารกิจในสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สสส. คือ อยากให้เกิดการพัฒนาที่จะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ สสส. ซึ่งทุกคนในผืนแผ่นดินไทยมีความสามารถ มีสังคมมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ ดังนั้น สำนัก 6 เป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยในการพัฒนา โดยการให้โอกาสกับส่วนต่างๆ เพราะเข้าใจว่าการเข้าถึงทรัพยากร องค์ความรู้อาจจะยังไม่เท่าเทียมกันทั่วทั้งประเทศ เพราะฉะนั้น สสส. มีหน้าที่ที่จะสร้างโอกาสเหล่านี้ให้เกิดขึ้น โดยอาศัยกลไกต่างๆ ที่จะเชื่อมลงไปถึงพี่น้องในชุมชน


สภาผู้นำอุตรดิตถ์ สร้างการมีส่วนร่วมสู่ชุมชนน่าอยู่ thaihealth


ด้าน นางเข็มเพ็ชร  เลนะพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส.กล่าวถึงภารกิจและการสนับสนุนขับเคลื่อนให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งว่า เป้าหมายและภารกิจของ สสส. คือการกระจายโอกาสการทำงานสร้างเสริมสุขภาพให้เข้าถึงพื้นที่ต่างๆส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง การสนับสนุนของแผนไม่ได้สนับสนุนเฉพาะเรื่องเงินเท่านั้น ยังให้ความสำคัญกับเรื่องเสริมพลังของคนในชุมชนให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพภาคีด้วยเช่นกัน


"15 ปี ที่ผ่านมา โครงการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่อุตรดิตถ์มีหลายร้อยโครงการ ซึ่ง 3 ปีที่ผ่านมานั้น ประมาณ 150 โครงการที่แผนฯ สนับสนุน มีตัวอย่างเป็นรูปธรรม การทำงานสร้างเสริมสุขภาพที่ สะท้อนให้เห็นว่าชุมชนมีการลุกขึ้นมาจัดการแก้ปัญหาด้วยตัวเองมีมากมาย มีตัวอย่างการทำงานของกลุ่มเป้าหมายที่เข้มแข็ง กลุ่มเด็กเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้นำ ซึ่งตัวอย่างเยอะมาก แต่เลือก 2 พื้นที่คือ บ้านพงสะตือ และบ้านต้นขาม ใน จ.อุตรดิตถ์เป็นพื้นที่การเรียนรู้สสส.คาดหวังว่ากระบวนการเรียนรู้ ในครั้งนี้ จะเป็นกระบวนการเสริมพลังและคิดว่าจะมีบทเรียนที่เป็นประโยชน์ ในการทำงานสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาชุมชน ที่สำคัญอยากได้ข้อสะท้อนที่นำไปสู่การปรับปรุง พัฒนา กระบวนการสนับสนุนด้วยเช่นกัน" ผอ.สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สสส.กล่าว


โครงการชุมชนน่าอยู่บ้านพงสะตือ ม.6 ต.บ้านแก่ง อ.ตรอนจ.อุตรดิตถ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ทาง สสส. สนับสนุน ซึ่งเป็นการจัดการชุมชนด้วยสภาผู้นำ ดึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ให้ชุมชนแก้ปัญหาของตนเองได้ โดยใช้กลไกการขับเคลื่อนให้มีหน่วยจัดการ ทำให้เกิดสภาผู้นำที่เกิดจากการรวมตัวของเหล่าจิตอาสาภายในชุมชน มาร่วมกันวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาสิ่งที่เป็นที่ประจักษ์ในการร่วมกันแก้ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของชุมชนแห่งนี้ คือ 1. สารชีวภาพเพื่อลดปริมาณแมลงวันเนื่องจากเป็นปัญหาที่ชุมชนได้ รับผลกระทบ ทำให้ร่วมกันคิดค้นน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว 2.การปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่าย นำมาซึ่งรายได้และสุขภาพที่ดี 3.การผสมผสานแนวคิดสภาผู้นำชุมชนน่าอยู่สู่สภานักเรียน โดยร่วมทำโครงการส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียน 4.การปลูกกระเทียมปลอดสารพิษ  100%นำมาซึ่งอาชีพ รายได้ของครัวเรือน เป็นต้น


เช่นเดียวกับ บ้านต้นขาม ต.ชัยจุมพล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์สะท้อนเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ เน้นกิจกรรมต่างๆ และความร่วมมือในการส่งเสริมสุขภาพชีวิตคนในชุมชนทั้งกลุ่มจักสาน การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำลูกประคบ ยาสมุนไพรและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ


สภาผู้นำอุตรดิตถ์ สร้างการมีส่วนร่วมสู่ชุมชนน่าอยู่ thaihealth


หน่วยจัดการ หรือ Node รับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการเชื่อมประสานองค์ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อร่วมกับชุมชนในการพัฒนา แก้ไขปัญหา นำไปสู่ชุมชนน่าอยู่และเข้มแข็ง พร้อมทั้ง เสริมพลัง สร้างแรงบันดาลใจ ในการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ซึ่งนายแชนอะทะไชย หัวหน้าหน่วยจัดการชุดโครงการชุมชนน่าอยู่กล่าวถึงกลไกสภาผู้นำเข้มแข็งสู่การเป็นชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน ว่าโครงการชุมชนน่าอยู่ เป็นการพัฒนาชุมชนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในด้านต่างๆ กลไกสำคัญอยู่ที่พี่เลี้ยง และอาสาสมัครทุกคนที่มาร่วมทำงานกัน โดยทีมพี่เลี้ยงได้รับองค์ความรู้จากสำนัก 6 สสส. และนำมาประยุกต์ใช้ ถ่ายทอดวิชาการ ความรู้ ให้กับสภาผู้นำโครงการและชุมชน ซึ่งเป็นความท้าทายในการพัฒนาและร่วมกันแก้ไขปัญหา


การแก้ปัญหาและพัฒนาว่ายากแล้ว แต่ทำอย่างไรที่สิ่งเหล่านี้ จะประสบผลสำเร็จและเกิดผลลัพธ์ ที่ยั่งยืนนั้นยากกว่า การอยู่ได้ด้วยตัวของชุมชนที่ ใช้เพียงองค์ความรู้นำมาต่อยอดนวัตกรรมผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเศรษฐกิจ ที่สุดท้ายแล้ว ประเทศไทยจะมีสุขภาวะที่ดีได้นั้นความเข้มแข็ง ในระดับชุมชนมีความหมายมากที่สุด เพราะเป็นพื้นฐานที่ประกอบกันเป็นประเทศชาตินั่นเอง

Shares:
QR Code :
QR Code