สปป.ลาว ดูงานงดเหล้า สร้างพลังความร่วมมืองานงดเหล้า 2 ประเทศ

 

คณะทำงานโครงการพัฒนาสมรรถนะเครือข่ายควบคุมสุรา สปป.ลาว ดูงานงดเหล้า สร้างพลังร่วมมือภาคประชาสังคม หนุนเสริมงานงดเหล้าระหว่าง 2 ประเทศ

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ภายใต้มูลนิธิวิถีสุขได้มีโอกาสต้อนรับคณะดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสถานการณ์สุรา จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะเครือข่ายควบคุมสุรา สปป.ลาว โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กับ national institute of public health แห่ง สปป.ลาว เพื่อเตรียมการในการนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติและผลักดันกฎหมายระดับชาติในการป้องกันและควบคุมปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน สปป.ลาว

คณะที่หารือกันในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า, ผู้จัดการแผนทุนฯ, ผู้ประสานงานโครงการฯ เช่น นางสาวกัญญารัตน์ สุริยะวงค์ ที่รณรงค์งดเหล้าในหน่วยงานราชการ ทหาร ตำรวจและท้องถิ่น นายประญัติ เกรัมย์ ผู้ประสานงานระหว่างภาคีศาสนา พระสงฆ์ งานบุญประเพณีและธรรมยาตรางดเหล้าเข้าพรรษา สำหรับคณะมาดูงานจาก สปป.ลาว เช่น 1. assoc dr.kongsap akkhavong, director general of national institute of public health 2. assoc dr.chanphomma vongsamphanh, director general of curative department, ministry of health, 3. dr.nao butta, director general of cabinet, moh 4.dr. bounlonh ketsouvannasane, who, lao pdr

การแลกเปลี่ยนแนวทางการรณรงค์งดเหล้า เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวอย่างเป็นกันเอง จากนั้นคณะทำงานของเครือข่ายองค์กรงดเหล้าได้มีการนำเสนอใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1) การบริหารองค์กรทั้งส่วนกลาง ภูมิภาคและอาสาสมัครในระดับจังหวัด 2) การประสานงานกับภาคีหลากหลายและ 3) การรณรงค์และทดแทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเทศกาลงานต่างๆ

ในตอนท้ายได้มีการบอกเล่าสะท้อนถึงสถานการณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศลาวและไทยร่วมว่า มีปัญหาใกล้เคียงกัน แต่ก็มีประเด็นที่มีรายละเอียดต่างกัน ดังนี้

 

ประเด็น

เหมือน

ต่าง

อิทธิพลของบริษัทเหล้าต่อการตัดสินใจในนโยบายลดการบริภาคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เริ่มมีตัวแทนจากบริษัทเหล้าเข้าไปเป็นผู้แทนแขวงและมีเสียงดังในสภา

มีความซับซ้อนน้อยกว่าไทย เพราะระบบการบริหารในประเทศต่างกัน

ความเชื่อเรื่องบาปบุญนรกสวรรค์

คนสมัยใหม่เห็นคุณค่าหรือมีความกลัวในนรกสวรรค์น้อยลง แต่กลัวอันตรายต่อสุขภาพแทน

มีการใช้วาทะกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนให้การกินเหล้าเป็นเรื่องปกติเช่น กินเหล้าแล้วไปนรกดีกว่าคนเยอะ สาวเชียร์เบียร์ก็อยู่กันเต็มไปหมด ไปสวรรค์เงียบเหงาไม่สนุกสนาน

การขยายตัวของอุตสาหกรรมสุรา

เบียร์ลาวเป็นแอลกอฮอล์หลักที่คนลาวกิน และยังมีเบียร์ท้องถิ่น เหมือนไทย

มีความรุนแรงในระดับหมู่บ้าน ไวน์ วิสกี้ วอดก้า เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเดิมฝรั่งเศสเคยปกครองมาก่อน

การโฆษณาเหล้า

-มีการกำหนดชัดเจน แม้จะมีการละเมิดอยู่บ้าง

-ไทยเฉลี่ยเวลาในการเข้าถึงเหล้าที่ ๗ นาที

-มีจำนวนป้ายมากกว่าไทยและชุกกกว่ามาก ทั้งยังโฆษณาออกทีวีได้ด้วย

-ในลาวเด็กอาจใช้เวลาเพียง ๒ นาทีเท่านั้นก็ซื้อเหล้ากินได้

กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่

-มีกฎหมายห้ามและกำหนดขอบเขตอายุ เพราะมีกฎหมายห้ามไว้

-เด็กนักเรียนซื้อกินในชุดนักเรียนได้

-ยังไม่มีสถิติชัดเจนว่าอายุเท่าไหร่

สถิติการดื่มเหล้า

ไทยดื่มเหล้าเป็นอันดับ ๓ ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและเกาหลี

-เฉลี่ยคนลาวทั้งประเทศกินเหล้า ๗๕% เป็นชาย ๘๕ %เป็นหญิง ๖๕% ปัจจุบันการดื่มน้อยลง ส่วนหนึ่งรับข่าวสารการรณรงค์จากไทย ส่วนหนึ่งห่วงสุขภาพ

การรุกคืบของธุรกิจเหล้าเบียร์ในท้องถิ่น

มีการแอบขายบ้าง บางแห่งมีกลุ่มนายทุนมาเหมางานและปล่อยให้มีการจำหน่าย การออกใบอนุญาตก็ไม่ยาก

ในหมู่บ้านหรือบ้านงานที่จัดงาน จะมีนายทุนมาเหมาทั้งระบบ ตั้งแต่นิมนต์พระ จัดดนตรี อาหาร โดยมีเบียร์และเหล้าขาย ส่วนเป็นของวัด กรรมการและนายทุน

อุปสรรคในการทำงานงดเหล้า

ทัศนคติที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง การต่อต้านของนายทุน การไม่ทำตามกฎหมายของบริษัทเหล้า

ไม่ต่างจากไทย แต่ในระดับนโยบายมีการรับหลักการไว้บ้างแล้ว

เส้นทางการรณรงค์งดเหล้าในอนาคต

-ทำให้ทุกคนเป็นเจ้าของปัญหามาร่วมกันป้องกันและแก้ไขตามแต่ศักยภาพของแต่ละคน

-ป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ทำให้นักดื่มหน้าเก่าลดลง

-ลดจำนวนคนดื่มให้น้อยลง หรือคงสภาพเดิม

-หาช่องทางการสื่อสารกับนักการเมืองให้มากขึ้น

-อาศัยพลังเครือข่ายแม่หญิงลาวในการช่วยผลักดัน ซึ่งมีแนวโน้มให้ความร่วมมือ

-ภายใน ปี ๒๐๑๕ ต้องออกกฎหมายคุมเหล้าให้ได้ และในปี ๒๐๑๔ ต้องผลักดันให้ผ่านสภาให้ได้

-จัดตั้งคณะกรรมการร่างฯ ให้สภาเห็นชอบ

งานรณรงค์งดเหล้าในอนาคต ที่ร่วมกันได้ระหว่าง ๒ ประเทศ(ไทย-ลาว)

-งานสงกรานต์ /บั้งไฟ

-แข่งเรือ /ออกพรรษา

-ลอยกระทง

 

 

ที่มา : สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โดยนายประญัติ เกรัมย์ 

Shares:
QR Code :
QR Code