สธ.แนะ สังเกตผู้ป่วยซึมเศร้า ป้องกันฆ่าตัวตาย

ที่มา : มติชน


สธ.วอนช่วยสังเกตผู้ป่วยซึมเศร้า ป้องกันการฆ่าตัวตาย thaihealth


แฟ้มภาพ


สธ.แนะ ช่วยสังเกตผู้ป่วยซึมเศร้า ป้องกันฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง หากพบว่ามีการพูดในทำนองสั่งเสียไม่ต้องการมีชีวิตอยู่ ขอให้ใส่ใจ รับฟัง พูดคุยเป็นเพื่อน 


นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากข่าวการฆ่าตัวตายที่สื่อมวลชนนำเสนอ ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จนั้น ขอให้ประชาชนช่วยป้องกัน เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยสังเกตความผิดปกติของผู้ใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หากพบว่ามีการพูดในทำนองสั่งเสียไม่ต้องการมีชีวิตอยู่ ขอให้ใส่ใจ รับฟัง พูดคุยเป็นเพื่อน อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพื่อให้ได้มีโอกาสระบายความรู้สึกออกมา แต่หากไม่ดีขึ้นขอให้พาไปพบจิตแพทย์ทันที รวมทั้งขอให้ทุกคนสังเกตตัวเองว่ามีความเครียดสะสมหรือไม่ เช่น วิตกกังวลมาก นอนไม่หลับ และหาวิธีการผ่อนคลายความเครียด เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ พูดคุยกับคนใกล้ชิด เป็นต้น หรือโทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 หรือแอปพลิเคชั่นสบายใจ Sabaijai


“การฆ่าตัวตายมาจากหลายยสาเหตุ ประมาณร้อยละ 50 ที่พบว่า มาจากโรคซึมเศร้า คาดว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นโรคซึมเศร้า 1.5 ล้านคน ได้มอบให้กรมสุขภาพจิตจัดทำโครงการค้นหาผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยงเพื่อเพิ่มการเข้าถึงและลดความรุนแรงที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย โดยล่าสุดมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยงเพื่อเพิ่มการเข้าถึงและลดความรุนแรงที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย โดยล่าสุดมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการร้อยละ 55.40” นพ.เจษฎา กล่าว และทั้งนี้ในปี 2559 ประเทศไทยมีอัตราผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ 6.35 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ประมาณการณ์ว่ามีแนวโน้มลดลง ได้ใช้กลยุทธ์การป้องกันการทำร้ายตัวเองซ้ำ และเพิ่มการเข้าถึงบริการ ซึ่งจะช่วยลดการฆ่าตัวตายลงได้เฉลี่ย 300 – 400 คน ต่อปี 

Shares:
QR Code :
QR Code