สธ.เตือนอ้วนลงพุงเสี่ยงอายุสั้น
ระบุรอบเอวเพิ่มขึ้นทุกๆ
กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจล่าสุด พบคนไทยอายุ 35 ปีขึ้นไป อ้วนลงพุงมากกว่า 9 ล้านคน เร่งเดินหน้าโครงการคนไทยไร้พุง กระตุ้นออกกำลังกาย กินผักผลไม้เพิ่ม ระบุคนที่ปล่อยให้อ้วนลงพุง อายุจะสั้นขึ้น และรอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ
นายแพทย์มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันวิถีชีวิตและการบริโภค ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก ก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มสุรา จนทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน
“จากการสำรวจสภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนของกรมอนามัย ปี 2550 พบว่า คนไทยอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุงร้อยละ 24 และเพศหญิงร้อยละ 60 โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชายถึง 2.5 เท่าตัว คนที่อ้วน ลงพุงจะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก และเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอด เลือดสมองแตกหรือตีบ รอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้แก้ไขปัญหาอ้วนลงพุง โดยจัดโครงการคนไทยไร้พุง รณรงค์ให้ชมรมสร้างสุขภาพ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ทั่วประเทศ วัดรอบเอวผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ปีละ 2 ครั้ง ตั้งเป้าให้ได้ร้อยละ 80 สำหรับปี 2550 ที่ผ่านมาสามารถวัดรอบเอวได้ร้อยละ 75
“ในปี 2551 จะดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมาย คือ ร้อยละ 80 และเพิ่มการรณรงค์ให้โรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ เป็นโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม มีการรณรงค์ให้กินผักผลไม้ พร้อมกันนี้จะจัดกิจกรรมสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารและออกกำลังกาย ควบคุมอาหารเพื่อพิชิตอ้วน
ถ้าน้ำหนักตัวลดลง ร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักเดิม ไขมันในช่องท้องจะลดลงไปได้ร้อยละ 30 โดยผู้หญิงควรมีเส้นรอบเอวไม่เกิน
ด้าน นายแพทย์โสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวเสริมว่า ในการลดน้ำหนักของประชาชน ยังมีบางกลุ่มที่ยังมีความเข้าผิดเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารเช้า ซึ่งบางคนงดอาหารเช้าแต่ทาน กาแฟแทน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง อาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญและจำเป็นมาก ต้องรับประทานทุกวัน เพื่อกระจายพลังงานอาหารให้เหมาะกับความต้องการ นอกจากจะช่วยให้ร่างกายไม่หิวมากในช่วงบ่ายแล้ว ยังควบคุม ปริมาณอาหารในมื้อเย็นให้กินน้อยลงได้
ขณะที่การกินอาหารมื้อเย็น ควรกินให้ห่างจากเวลานอนไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง เช่น หากนอนเวลา 22.00 น. ควรกินอาหารเย็นเวลา 17.00 น. เนื่องจากช่วงเวลานอนหลับระบบประสาทสั่งงานให้ร่างกายพักผ่อน ก็จะไม่เกิดการย่อยอาหาร ทำให้เกิดการสะสมไขมันในช่องท้องมากขึ้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
update 21-01-51