สช.หนุน 4p-w สร้างสุขภาวะในพื้นที่

ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 


สช.หนุน 4p-w สร้างสุขภาวะในพื้นที่ thaihealth


สมัชชาสุขภาพแห่งชาติพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา(4P-W) จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2560-2562 พร้อมเลือกคณะกรรมการชุดใหม่และประเด็นที่จะขับเคลื่อน 3 ประเด็นในระยะ 3 ปี


วันที่ 1 ก.พ. 60 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมลีลาวดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดร้อยเอ็ด นายแพทย์ปิติ ทั้งไพศาล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด พระบุญยัง ศรีดงกลาง วัดธาตุ อำเภอเกษตรวิสัย ประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2560-2562 โดยการดำเนินงานของ นายทรงพล ตุละทา รักษาการผู้อำนวยการศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดร.ปาลิดา เฉลิมแสน ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด และคณะ ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 46 คน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาควิชาการ สาธารณสุขอำเภอ รพ.สต. ภาคประชาสังคม สภาองค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หอการค้าร้อยเอ็ด สภาเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด โรงพยาบาลเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาสาเกตนคร สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค และผู้บริหารสถานศึกษา กิจกรรมได้แก่ บรรยายพิเศษ นพ.ปิติ ทั้งไพศาล นพ.สสจ.ประธานคณะกรรมการบริหารสมัชชาสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด, แนวทางการหนุนเสริมการดำเนินงานในพื้นที่ และการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา (4P-W) โดยนายทรงพล ตุละทา สำนักงานคณะกรรมการสมัชชาแห่งชาติ (สช.), ระดมความคิดเห็น การดำเนินงานในพื้นที่และการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา (4P-W) ปี 2560 – 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการทบทวนกลไก โครงสร้าง การค้นหาประเด็นคานงัด พร้อมเลือกคณะกรรมการชุดใหม่และประเด็นที่จะขับเคลื่อน 3 ประเด็นในระยะ 3 ปี


นายทรงพล ตุละทา รักษาการผู้อำนวยการศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ด้วยพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มีเจตนารมณ์ให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยกำหนดให้มีกลไกที่ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคม ได้เข้ามาร่วมกันทำงานกันสุขภาพ โดยเฉพาะการมุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา (4P-W=Paticipatory Public Policy Process based on Wisdom) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จึงได้มีการสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา ผ่านเครื่องมือต่างๆ อาทิ สมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบสุขภาพโดยชุมชน และสิทธิด้านสุขภาพ เป็นต้น โดยกระบวนการทำงานที่ผ่านมาเน้นการสานพลังภาคีเครือข่ายร่วมกัน สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีความเข้าใจร่วมกัน เกี่ยวกับแนวคิด ทิศทาง และยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ ร่วมกัน เป็นเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ โดยสุขภาพ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิตใจ ทางปัญญาและทางสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล (พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550)


โดยแนวทางกิจกรรม คือ จัดตั้งคณะกรรมการทำงานตามโครงการ 4P-W เวลาทำงาน 3 ปี 2560-2562, ร่วมคัดประเด็นเพื่อขับเคลื่อนในระยะ 3 ปี (2560 – 2562) โดยอาศัยประเด็นจากคณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ทำมา 4 ปี รวม 15 ประเด็น ซึ่งเป็นการพิจารณาแบบมีส่วนร่วมมาก่อนแล้ว เพื่อนำมาขับเคลื่อนให้เห็นผล ไม่ได้ทิ้งไป สนับสนุนโดยสมัชชาแห่งชาติ กับศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายจังหวัด ร่วมสานพลังเครือข่ายเพื่อสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัด เช่น สพม. , ภาคีสมัชชาสุขภาพ, สภาองค์กรชุมชน, ภาคี สสส. สปสช. เป็นต้น


สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการวันนี้ ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ได้ร่วมแสดงความเห็นหลากหลาย และได้เสนอการเลือกคณะกรรมการ 4P-W ของร้อยเอ็ด โดยให้ส่งใบสมัครให้สมาชิกเครือข่ายที่ร่วมประชุมวันนี้ จำนวน 46 คน และคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด ชุดเดิม เพื่อสมัครเป็นคณะกรรมการดำเนินการฯ ในครั้งนี้ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 และร่วมคัดเลือกคณะกรรมการฯ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 และพิจารณา 3 ประเด็น จาก 15 ประเด็น แล้วตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน วันที่ 6 มีนาคม 2560 เริ่มดำเนินงานตามหลักการ 4P-W สมัชชาสุขภาพแห่งชาติต่อไป

Shares:
QR Code :
QR Code