สงกรานต์ปลอดภัย ร่วมสร้างวินัยจราจร

ที่มา : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่ (ส.ปชส.เชียงใหม่) โดย กัลย์สุดา บานใบ


สงกรานต์ปลอดภัย ร่วมสร้างวินัยจราจร thaihealth


แฟ้มภาพ


สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2559 เน้นลดความเร็ว ลดความเสี่ยงภายใต้หัวข้อ "สงกรานต์ปลอดภัย ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สร้างวินัยจราจร"


นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) คณะกรรมการศูนย์อำนวยการปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เปิดเผยว่า สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำหน้าที่ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างกระแสให้เกิดการรับรู้ในมุมกว้าง ขับเคลื่อนการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ทั้งในและนอกเทศกาล สานต่อนโยบายรัฐบาลทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (พ.ศ.2554-2561) ได้จัดส่งข้อมูลประกอบการดำเนินเฝ้าระวังป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2559


โดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ปีนี้เน้นลดความเร็ว ลดความเสี่ยง ภายใต้หัวข้อ “สงกรานต์ปลอดภัย ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สร้างวินัยจราจร” เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งจากคน ยานพาหนะ ถนน และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน สนับสนุนการจัดพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ที่มีความปลอดภัยและปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด (Zoning) รวมทั้งส่งเสริมการเล่นน้ำสงกรานต์ปลอดภัย ร่วมสร้างวินัยจราจร thaihealthสงกรานต์ตามขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุทางถนน


ทั้งนี้ มีข้อเสนอต่อการตั้งจุดปฏิบัติการในช่วง 7 วัน (11-17 เมษายน 2559) ดังนี้ บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 10 มาตรการ เน้นขับเร็ว ดื่ม ง่วง ไม่โทร-ไม่แชท ควบคุมการจำหน่ายและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นหนักในกลุ่มเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นพิเศษ สนับสนุนปฏิบัติการ Zoning พื้นที่เล่นน้ำของวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงแต่ละจังหวัดที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและวัดผลได้ เน้นการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงช่วงเวลา “เสี่ยง” โดยเฉพาะตอนพลบค่ำ-กลางคืนเพิ่มขึ้น ปรับการตั้งเต็นท์ (จุดตรวจ,จุดบริการ,ด่านชุมชน) เป็นหน่วยลาดตระเวรเฝ้าระวังจุดเสี่ยง ทางร่วม ทางแยก จัดตั้งด่านชุมชน แก้ไขจุดเสี่ยงและมีอาสาสมัครสกัดผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในระดับท้องถิ่น ชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาบริเวณจุดตัดทางรถไฟ อาทิ จัดทำป้าย จัดทำคลื่นระนาดบนผิวถนน ติดตั้งไฟหรือสัญญาณเสียง พร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยพื้นที่ท่องเที่ยว รองรับ AEC เช่น ห้องน้ำ ที่จอดรถ การเช่าและการขับขี่ของนักท่องเที่ยว 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ