สกส. รุกสร้างการรับรู้ในกิจการเพื่อสังคมให้กับหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันการศึกษา กว่า 50ราย

 

สกส. รุกสร้างการรับรู้ในกิจการเพื่อสังคมให้กับหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันการศึกษา กว่า 50 ราย

 

แม้ “กิจการเพื่อสังคม” จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเข้ามาเสริมให้ภาคเศรษฐกิจ และสังคมมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ดูเหมือนว่าเรื่อง “กิจการเพื่อสังคม” ยังเป็นประเด็นใหม่ที่ต้องการการสื่อสาร เพื่อสร้างการรับรู้และเรียนรู้ในวงกว้าง อันจะเป็นเป็นกลไกสำคัญ ที่ช่วยขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคมให้มีความแข็งแกร่ง สามารถพัฒนาขีดความสามารถของกิจการในอนาคต เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงโอกาสการลงทุน และเอื้อประโยชน์ในการสนับสนุนจากภาครัฐ และองค์กรที่เกี่ยวข้องในด้านนโยบาย และกฎหมาย

 “การประชุมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา” เมื่อวันที่ 1-2พฤษภาคม 2555ณ โรงแรมเอเซีย ราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในประเด็น “กิจการเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise” เพราะผู้เข้าร่วมประชุมในวันนั้น ล้วนเป็นผู้ที่มีบทบาทโดยตรงในการเอาแนวคิดเรื่องกิจการเพื่อสังคมไปพัฒนา และบ่มเพาะกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวภายในสถาบันการศึกษาตามภูมิภาค กว่า 56แห่ง

นายมงคล เกษมสันต์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ได้รับเกียรติร่วมเป็นวิทยากร ในการบรรยายเรื่อง“Social Enterprise” เพื่อสร้างการรับรู้ในเรื่องกิจการเพื่อสังคม หรือ SE   ซึ่งเป็นภาคธุรกิจ หรือองค์กรที่ดำเนินกิจการ เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินการในรูปแบบธุรกิจ ที่มีรายได้หลักจากการประกอบธุรกิจ เพื่อนำกลับมาแก้ไข พัฒนาสังคม มากกว่าการมุ่งแสวงหากำไรสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าของเพียงอย่างเดียว โดยบางกิจการเพื่อสังคม มีการเปิดโอกาสให้ภาคชุมชน เอกชน และรัฐบาลร่วมสนับสนุนด้วย ตลอดจนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอให้เห็นถึงการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment) เพื่อวิเคราะห์ว่ากิจการเพื่อสังคมนั้น ว่าสร้างผลกระทบเชิงบวก  และผลกระทบเชิงลบให้กับสังคมได้อย่างไร เพราะกิจการเพื่อสังคมนั้นแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป ทั้งเรื่องเป้าหมาย และการดำเนินงาน ซึ่งธุรกิจทั่วไปอาจใช้การประเมินกำไร-ขาดทุนเป็นหลัก แต่กิจการเพื่อสังคมมิได้เน้นเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสร้างผลกำไรเพื่อการดำเนินกิจการเท่านั้น แต่มุ่งหวังให้ความสำคัญกับคุณค่าที่กิจการนั้นสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้จริงในสังคมเป็นหลัก เพราะฉะนั้นกิจการเพื่อสังคม จะต้องสามารถบอกจำนวนและแสดงมูลค่าเป็นตัวเงินของผลกระทบที่กิจการนั้นมีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการยกตัวอย่าง แสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานในแต่ละกิจการเพื่อสังคม ในทั้งในและต่างประเทศ  ไม่ว่าจะเป็น Life Straw,ร้านอาหาร Fifteen, Rags2Riches, Grmeen Bank ของต่างประเทศ และ ๑4๑ ,Try Arm , Thai Craft, Doitung, KokoBoard, อุดมชัยฟาร์ม, คลินิกเป็นสุข, Open Dream, Cabbages & Condoms, Be Magazine ซึ่งเป็นของประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าผู้ที่จะร่วมเดินทางไปสู่กิจการเพื่อสังคม นอกจากมีความตั้งใจทำดีเพื่อสังคม ยังต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเดินทางไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างเป็นรูปธรรม

กิจการเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise เป็นก้าวใหม่ของการพัฒนาภาคเศรษฐกิจและสังคมให้พัฒนาควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน  สกส. จึงริเริ่มความร่วมมือกับ  หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจใสถาบันอุดมศึกษา ในรูปแบบการอบรมให้ความรู้แก่ผู้สนใจในการทำกิจการเพื่อสังคมตามหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจฯ ระดับภูมิภาค ร่วมพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม กับหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจฯ และมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายกิจการเพื่อสังคมในอนาคต

 

 

ที่มา : สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.)

Shares:
QR Code :
QR Code