‘วิ่งเทรล’ สนามที่นักวิ่งไม่ควรพลาด

‘วิ่งเทรล’  สนามที่นักวิ่งไม่ควรพลาด  thaihealth


แฟ้มภาพ


ต้องยอมรับว่ากระแสของการออกกำลังกายนั้นมาแรงจริงๆ โดยเฉพาะการวิ่ง จึงถูกกล่าวขานให้เป็นยุคแห่ง ‘รันนิ่งบูม’ อีกครั้ง นอกจากการวิ่งบนท้องถนนแล้วยังคงมีการวิ่งบนภูเขา ในป่า หรือวิ่งในเส้นทางธรรมชาติที่เรียกว่าการ ‘วิ่งเทรล’ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมและยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกลุ่มนักวิ่งชาวไทยอีกด้วย


ครูดิน – อาจารย์สถาวร จันทร์ผ่องศรี  กรรมการสมาพันธ์ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทย เล่าถึงการวิ่งเทรล‘วิ่งเทรล’  สนามที่นักวิ่งไม่ควรพลาด  thaihealthว่า การวิ่งเทรลไม่ใช่การวิ่งที่ใช้ความเร็วทันที ซึ่งต่างจากการวิ่งถนน โดยการวิ่งเทรลเป็นการวิ่งที่มีภูมิประเทศเป็นองค์ประกอบ ซึ่งไม่ได้ใช้แค่การวิ่งอย่างเดียว ต้องใช้สายตาและความคิดในการวางแผนเรื่องการวางเท้า การแบ่งพละกำลัง การหลบหลีกสิ่งกีดขวางต่างๆ ซึ่งการวิ่งลักษณะนี้ต้องอาศัยความยืดหยุ่นร่างกายเป็นสำคัญ และใช้ความคล่องตัวค่อนข้างสูง ดังนั้นนักวิ่งต้องฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง


ด้าน นักวิ่งหญิงแนวหน้าของเมืองไทยที่หลงรักการวิ่งเทรล ภคณีย์ บุรุษภักดี หรือ อุ๊บอิ๊บ เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการวิ่งว่า เริ่มต้นบนวิ่งถนนก่อนจากมินิมาราธอน (10 กม.) ฮาฟมาราธอน (21 กม.) มาราธอน (42.195 กม.)จนกระทั่งมาสู่การวิ่งระยะ 100 กม.  นักวิ่งมักจะตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง พอจบระยะ 100 กม. บนถนน ก็หันมาวิ่งเทรลโดยเริ่มจาก 10 กม. จนกระทั่งปัจจุบันวิ่งเทรลในระยะ 100 กม.


สำหรับการซ้อมเพื่อการวิ่งเทรลนั้น อุ๊บอิ๊บเล่าต่อว่า ไม่มีตารางที่ตายตัว แต่การซ้อมเทรลให้ได้ดี คือการซ้อมความชัน ส่วนใหญ่วันหยุดจะไปซ้อมที่เชียงใหม่ เช่น ดอยสุเทพ ดอยปุย นอกจากนั้นแล้วบันไดหนีไฟจะเป็นที่ซ้อมที่ดีสำหรับการซ้อมเทรล โดยการวิ่งขึ้นลง หรือเดินขึ้นลงก็ได้


“เราต้องประยุกต์การซ้อมให้เหมาะกับตัวเอง แล้ววิ่งอย่างมีความสุข สำหรับคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ อาจจะหาที่ซ้อมยาก การวิ่งขึ้นลงบันได ทางหนีไฟ บันไดรถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดิน จะเป็นการซ้อมที่ดี รวมไปถึงการฝึกสควอต (squart) การฝึกต้นขาให้แข็งแรงจะทำให้เราได้เปรียบในการวิ่งที่ชัน แต่ข้อควรระวังในการซ้อมเทรลคือ ไม่ว่าจะซ้อมที่ไหนก็ต้องมีคนที่ชำนาญหรือคนที่ดูแลเราได้ไปซ้อมเป็นเพื่อนด้วย ห้ามซ้อมคนเดียว เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด อาจจะเจองู ทาก ตัวบุ้ง หรือสัตว์มีพิษอื่นๆ ก็ต้องระวังตัวด้วย” อุ๊บอิ๊บ เล่า


‘วิ่งเทรล’  สนามที่นักวิ่งไม่ควรพลาด  thaihealthนักวิ่งหญิงแกร่งยังเล่าต่อว่า เมื่อเราซ้อมทุกอย่างมาดีแล้ว ร่างกายและจิตใจเราพร้อมหมดในการลงแข่งแล้ว ความมืดจะเป็นเพียงแค่จุดเล็กๆ ที่เราจะมองข้ามไปเอง สิ่งที่กลัวมากกว่านั้นคือ กลัววิ่งไม่จบในเวลาที่กำหนดมากกว่า เราจึงควรสนใจแค่ไฟที่ส่องสว่างรอบตัวเรา แล้วก็ก้าวต่อไป


อุ๊บอิ๊บ ยังบอกว่า ถ้าเราเห็นใครวิ่งเทรลที่ระยะเดียวกับเรา แล้วเขากำลังพยายามอยู่ ห้ามไปบอกว่าขอทางหน่อยแล้วแซง ถ้าทางนั้นสามารถแซงได้ก็หาจังหวะแซง เราต้องเกรงใจเขาเพราะเขาก็ต้องการถึงเส้นชัยเหมือนเรา มีจุดประสงค์มีเป้าหมายเดียวกับเรา มันเป็นมารยาทของการแข่งขัน


"การวิ่งเทรลจะละสายตาจากเส้นทางวิ่งไม่ได้แม้แต่วินาทีเดียว สมองต้องคิดตลอดว่า ก้าวต่อไปเราจะไปเหยียบตรงไหน การคำนวณเท้าต้องไว และรวดเร็วโดย เท้าขวา และซ้ายจะไปอยู่ตรงไหน และให้จิกปลายเท้าให้มั่นคง ถ้าเราเห็นก้อนหินก็ให้เอาเท้าไปตรงนั้น เพราะหินจะยึดเท้าเรา และอีกวิธีคือ การสไลด์ข้างแต่เป็นทางที่ไม่มีหิน และไม่มีอะไรให้สะดุดเหมือนเล่นสกี  แต่ต้องฝึกกล้ามเนื้อต้นขา หน้าขาให้แข็งแรง โดยการเล่นเวทอาทิตย์ละสองวัน" อุ๊บอิ๊บบอกเทคนิคการวิ่งเทรล ทิ้งท้าย


มาฟังนักวิ่งชายระดับแนวหน้าของไทยที่หลงรักการวิ่งเทรลเป็นอย่างมาก และแข่งเทรลทั้งในประเทศและต่างประเทศจนมีชื่อเสียง  รัชชี่ ไพรัช วราสินธิ์ เล่าให้ฟังว่า เป็นคนชอบธรรมชาติ เพราะเติบโตมาท่ามกลางธรรมชาติและป่าเขาที่ อ. แก่งหางแมว จ.จันทบุรี หลังจากที่เริ่มวิ่งถนนได้สักพัก ก็รู้ว่า‘วิ่งเทรล’  สนามที่นักวิ่งไม่ควรพลาด  thaihealthประเทศไทยมีการวิ่งในป่า ตนจึงเริ่มวิ่งเทรล และสนามแรกที่ได้ไปคือ เทรลเขาไม้แก้ว จังหวัดชลบุรี


“หลงรักการวิ่งเทรลเพราะ ความยากของมันที่มีทั้งความชันมากทางลงมาก ทำให้เราอยากพุ่งออกไป พอผ่านจุดนั้นมาได้ รู้สึกว่าเราเอาชนะใจตัวเองได้ รู้สึกดีที่ได้มีช่วงเวลาเหนื่อยๆ แบบนี้ ถ้าหากไม่ได้มาวิ่งป่านนี้ก็คงนั่งทำงาน คงไม่มีโอกาสได้รู้จักโลกอีกโลกหนึ่งแบบนี้จริงๆ และก่อนที่หมดลมหายใจ เราจะมีอย่างน้อยๆ อีกหนึ่งเรื่องที่เราจำได้ไม่ลืมนั่นคือ การได้วิ่งอย่างเต็มศักยภาพที่ตัวเรามี” รัชชี่ เล่า


นอกจากนี้ รัชชี่ยังเล่าเคล็ดลับการฝึกซ้อมของตัวเองให้ฟังว่า เรามีสิ่งวิเศษที่เรียกว่าจินตนาการ บนลู่เราแค่วิ่ง อาจมีเดินถอยหลังบ้างบางครั้ง แต่ทักษะอื่นๆ เช่น กระโดดขึ้นลงบันได โดดจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย ฝึกยืนด้วยง่ามนิ้วเท้าเป็นสิ่งที่สำคัญ เวลาที่แข่งขันก็เหมือนกำลังสอบในสิ่งที่ได้ฝึกซ้อมมาทั้งหมด สิ่งที่เห็นจากการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ผ่านมาคือ ได้รู้ว่าเวลาคนที่ตั้งใจฝึกฝน ต่างนำมาใช้ในการแข่งขันอย่างเต็มที่ มันรู้สึกดีขนาดไหน


สนามวิ่งเทรล อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมายการวิ่งในปีหน้าของหลายๆ คน ขอให้เริ่มต้นวิ่งด้วยความสุข และสนุกไปกับการวิ่งนะคะ…


 


 


เรื่องโดย อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์ team content www.thaihealth.or.th


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ และเฟสบุ๊คผู้ให้สัมภาษณ์

Shares:
QR Code :
QR Code