วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า

ที่มา : หนังสืออยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. สำหรับวัยรุ่น โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


วัยรุ่นกับโรคซึมเศร้า thaihealth


แฟ้มภาพ


                วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพของสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิด การตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย หลายครั้งวัยรุ่นที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ


วัยรุ่นบางคนอาจสามารถอธิบายถึงอารมณ์เศร้าได้ว่า เป็นความรู้สึกเศร้าเหงา หดหู่ ไม่มีความสุข อย่างไรก็ตามในวัยรุ่น อารมณ์ซึมเศร้าอาจถูกแสดงออกเป็นลักษณะของอารมณ์หงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย โกรธง่าย มองโลกแง่ลบ ชอบโต้แย้ง ทะเลาะวิวาท แทนความรู้สึกซึมเศร้าเหมือนในผู้ใหญ่ หลายครั้งวัยรุ่นอาจบรรยายอารมณ์ของตนเอง เป็นความรู้สึกเบื่อ ไม่สนุก ไม่อยากทำอะไร อ่อนเพลียง่ายโดยถ้าพบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้หลายข้อ ควรปรึกษาแพทย์


1. อารมณ์เศร้า หรือหงุดหงิดง่าย โดยมีอาการเกือบตลอดวัน เป็นเกือบทุกวัน


2. ไม่มีสมาธิ หรือประสิทธิภาพในการคิด การตัดสินใจลดลง


3. ขาดความสนใจหรือขาดความเพลิดเพลินใจในการทำสิ่งต่างๆ ลงอย่างมาก


4. นอนไม่หลับ หรือนอนมากผิดปกติ


5. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง


6. รู้สึกไร้ค่า หรือรู้สึกผิด


7. กระวนกระวาย หรือเฉื่อยชา


8. ไม่อยากอาหาร/น้ำหนักลด หรือกินมากจนน้ าหนักขึ้น มากกว่าร้อยละ 5 ใน 1 เดือน


9. มีความคิดซ้ำๆ เกี่ยวกับการตาย คิดอยากฆ่าตัวตาย หรือเคยคิดที่จะพยายามฆ่าตัวตาย


หากพบว่าการใช้ชีวิตวัยรุ่นมีความยากล าบาก ไม่มีความสุข หรือมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นการเรียน ความสัมพันธ์กับครอบครัวหรือคนรอบข้าง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับการช่วยเหลือ49ส าหรับวัยรุ่น

Shares:
QR Code :
QR Code