ลูกเกเร ดื้อ ก้าวร้าว พ่อแม่มีวิธีการรับมืออย่างไร…
ที่มา : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กส่งผลให้เด็กมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัวเพื่อนหรือครู ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขที่เหมาะสม พฤติกรรมที่ก้าวร้าวจะติดเป็นอุปนิสัยถึงวัยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตครอบครัว และทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการทางานเท่าที่ควร
สาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดจากปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ปัจจัยทางร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยทางร่างกาย ได้แก่ โครงสร้างทางสมองและระดับของสารสื่อประสาทในสมองที่ไม่สมดุล ส่งผลให้เด็กเป็นคนอารมณ์หงุดหงิดใจร้อน วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือภาวะการป่วยด้วยโรคสมาธิสั้นจะทำให้เด็กมีปัญหาการควบคุมอารมณ์
ปัจจัยทางด้านจิตใจ ได้แก่ ลักษณะพื้นฐานด้านอารมณ์ที่มีความอดทนและรอคอยได้น้อย ซึ่งส่วนใหญ่บุคลิกภาพดังกล่าวพัฒนามาจากการถูกเลี้ยงดูแบบตามใจและไม่เหมาะสม
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เด็กเติบโตในครอบครัวที่นิยมใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา รวมทั้งการดูสื่อ ทีวี วิดีโอเกมส์ ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหารุนแรง
เป็นความจำเป็นที่พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักควบคุมความโกรธ ความโกรธและความก้าวร้าวเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในทุกคน คนเราอาจจะรู้สึกโกรธเมื่อถูกขัดใจหรือเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ และเด็กจะแสดงความโกรธอย่างตรงไปตรงมา เมื่อเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ประสบการณ์และการมีวุฒิภาวะ จะช่วยให้บุคคลรู้จักควบคุมความโกรธและแสดงออกในเกณฑ์ที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการควบคุมและจัดการกับอารมณ์โกรธให้มีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ พ่อและแม่จึงเป็นแม่พิมพ์และผู้ฝึกสอนที่ดีเยี่ยมสาหรับลูก
เมื่อลูกมีอาการ “เบรกแตก” เอะอะโวยวาย ทำลายข้าวของ ใช้กาลังทำร้ายคนอื่น สิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำ คือ ควรระงับอารมณ์โกรธของตนเอง ไม่โต้ตอบกลับด้วยความรุนแรง และแก้ปัญหาอย่างใจเย็น เปิดโอกาสให้ลูกได้บอกว่าอะไรทำให้เขาโกรธ พ่อแม่ควรมีท่าทีรับฟังอย่างใส่ใจ ไม่ด่วนสรุป และบอกสอนลูกอย่างใจเย็น ซึ่งท่าทีนี้จะเป็นแบบอย่างในการควบคุมอารมณ์โกรธแก่ลูกได้เป็นอย่างดี
การสร้างบรรยากาศที่ดีในบ้าน เช่น การยิ้ม การพูดจาหยอกล้อกัน การชื่นชมซึ่งกันและกัน จะช่วยให้ลูกมีอารมณ์ดี ไม่ตึงเครียดและลดอารมณ์ก้าวร้าวของลูกได้ ในทางตรงข้าม การพูดจาเหน็บแนม เปรียบเทียบ เสียดสี รวมทั้งสีหน้าที่บึ้งตึง บ่มเพาะอารมณ์ด้านลบและทำให้สถานการณ์ในครอบครัวยิ่งตึงเครียดมากขึ้น
การโอบกอดและการให้ความรักความเข้าใจแก่ลูก ทำให้เขารับรู้ว่าพ่อแม่ยังรักเขาอยู่เสมอไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อาจทำให้เรื่องต่าง ๆ คลี่คลายได้ง่าย โดยธรรมชาติแล้วเด็กมักจะต้องการความสนใจจากผู้ใหญ่และอยากให้ผู้ใหญ่เล่นด้วย เด็กที่กาลังจะทำลายของเล่นชิ้นโปรดของตนเองเพราะถูกขัดใจ อาจจะหยุดการกระทำ เมื่อเห็นว่าพ่อแม่ให้ความสนใจในของเล่นของตน หรือเด็กโตที่กาลังหงุดหงิด ไม่อยากทำการบ้าน และพร้อมที่จะอาละวาด จะสงบลงถ้าพ่อแม่ให้ความสนใจที่จะช่วยเหลือเขาบ้างในการทำการบ้าน
พ่อแม่ควรจะบอกให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ยอมรับได้ ถ้าเขามีอารมณ์โกรธ หรือต้องการแสดงความรู้สึกโกรธในตัวเขาออกมา แต่ควรจะเป็นในรูปแบบที่สังคมยอมรับและไม่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น อาจจะจัดตั้งกฎเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทั้งพ่อแม่และลูกให้เข้าใจและรับรู้อย่างชัดเจนว่าเป็นอย่างไร พยายามรักษากฎเกณฑ์นั้นทั้งสองฝ่าย และพยายามสื่อกับลูกเสมอถึงการกระทาและพฤติกรรมบางอย่างที่เหมาะสม หรือไม่เหมาะสม ที่เขาได้ทำลงไป พ่อแม่เองก็ต้องเคารพในกฎเกณฑ์นั้นเช่นกันเพื่อให้ลูกเข้าใจและปฏิบัติตาม ควรชมลูก ถ้าพ่อแม่เห็นว่าเขารู้จักที่จะควบคุมอารมณ์โกรธของตนเองได้ และไม่ใช้วิธีแสดงความก้าวร้าว แต่ใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช้ความรุนแรงแทนการแก้ปัญหา ควรหาโอกาสชี้ให้ลูกเห็นหรือรับรู้ในกรณีที่มีความขัดแย้งกับผู้อื่นที่เกิดขึ้นในบ้านหรือนอกบ้าน เด็กรับรู้ได้และมีการใช้วิธีการพูดจาแก้ไขปัญหากันอย่างสันติ เพื่อให้เขาเห็นตัวอย่างของการควบคุมอารมณ์และการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
สำหรับการช่วยเหลือขณะเด็กเกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน โดยเริ่มจากการพูดคุยให้เด็กรับรู้ว่า ผู้ใหญ่ยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของเค้า แต่ไม่ยอมรับพฤติกรรมก้าวร้าว แนะนำให้เด็กแสดงออกทางอื่นที่เหมาะสมกว่า เช่น แม่พูดว่า “แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่หนูจะใช้วิธีทำลายข้าวของแบบนี้ไม่ได้ ถ้าหนูโมโหมาก ควรไประบายอารมณ์ทางอื่นแทน หนูจะขว้างปาหมอนหรือทุบตีตุ๊กตาก็ได้”
ถ้าเห็นว่าการกระทำของเด็กรุนแรง มีการทำลายข้าวของ เสียหายหรืออาจเกิดอันตราย ผู้ใหญ่อาจจาเป็น ต้องเข้าจัดการทันที โดยการจับเด็กไว้หรือกอดไว้เพื่อระงับเหตุ รับฟังเด็กให้โอกาสอธิบายเล่าเหตุการณ์โดยไม่ด่วนสรุปว่าเขาผิด บางครั้งเด็กต้องการเพียงการรับฟังจากผู้ใหญ่บ้าง เมื่อเด็กสงบลงควรชี้แจงเหตุผลให้เด็กเข้าใจถึงสาเหตุที่ไม่ควรทำ ด้วยคำอธิบายที่กะทัดรัดชัดเจน หลีกเลี่ยงคาพูด ตำหนิ ที่ทำให้เกิดปมด้อย ถ้อยคำ เช่น ว่าเด็กนิสัยไม่ดี เด็กดื้อ เด็กเกเร เด็กก้าวร้าว อันธพาล ถ้าจะตำหนิก็ตำหนิที่การกระทำ เช่น “แม่ไม่ชอบที่หนูเอาไม้ไปขว้างคุณปู่แบบนี้” ให้เด็กรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำลงไป เช่น เก็บกวาดข้าวของที่เสียหายจากการอาละวาด ควรขอโทษผู้ใหญ่ งดค่าขนม งดดูทีวี หรือเล่นเกมส์ เป็นต้น
การแก้ไขพฤติกรรมเด็กเป็นงานที่ยุ่งยาก ต้องใช้ความอดทนพยายามอย่างสูงและความสม่ำเสมอ แต่ถ้าพ่อแม่สามารถฝึกตนเองและลูกให้ควบคุมอารมณ์โกรธและความก้าวร้าวได้ ก็ถือว่าคุ้มค่าเหนื่อย เพราะเราจะได้คนที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ที่ดี ซึ่งจาเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมไทยที่ต้องการความสงบและความสมานฉันท์เช่นในยุคสมัยนี้