รวมกันเป็นหนึ่ง ประสานแผนคนพิการ-แรงงานนอกระบบ-คนสูงอายุ

สสพ.หวังเปลี่ยนแปลง สร้างสุขภาวะให้ดีขึ้น

 รวมกันเป็นหนึ่ง ประสานแผนคนพิการ-แรงงานนอกระบบ-คนสูงอายุ

          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เปิดเวทีให้แผนงานที่ได้งบประมาณสนับสนุน ค้นหาแนวทางประสานการทำงานร่วมกัน โดยยึดหลักการนำประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมายของแต่ละแผนเป็นตัวตั้ง เพื่อเพิ่มมุมมองในการพัฒนาศักยภาพของ “คน” ในหลายหลากมิติ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ การทำงานระหว่างกัน การจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย (สสพ.) แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ การโยงความเชื่อมโยงกันกับข้อสังเกตที่ 3 แผนงานฯ ค้นหา

 

          คนพิการส่วนใหญ่ เป็นแรงงานนอกระบบ และแรงงานนอกระบบมากกว่าครึ่ง เป็นผู้สูงอายุ”

 

          สำรวจเป้าหมาย เราจะช่วยกันได้อย่างไร

 

          เพื่อการทำงานเดินหน้าและบรรลุผล จึงมีการนำเสนอเป้าหมายของแต่ละแผนงานฯ ซึ่งแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย (สสพ.) ภายใต้การนำของ พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้จัดการแผนฯ คาดหวังให้ “เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่เป็นไปในทิศทางที่สนับสนุนการสร้างเสริมศักยภาพคนพิการ ให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะได้มากขึ้น ได้แก่การลดช่องว่างความเสี่ยงด้านสุขภาพระหว่างคนพิการกับประชาชนทั่วไป และรวมถึงการมีระบบสุขภาพที่ตอบสนองต่อปัญหาความต้องการของคนพิการ” และผลักดันให้เกิด 2 ตัวชี้วัดสำคัญในช่วงเวลา 3 ปีต่อจากนี้ จากยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนของแผนงานฯ คือ

 

          1.เกิดนโยบายระดับชาติและท้องถิ่นรวมกันไม่น้อยกว่า 5 นโยบาย อันประกอบด้วย นโยบายบริการสุขภาพ ทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ นโยบายบริการสุขภาพทั่วไปและการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการนโยบายการศึกษาและสังคม

 

          2.เกิดรูปธรรมตัวอย่างไม่น้อยวก่า 20 ตัวอย่างที่สะท้อนการยอมรับการอยู่ร่วมกันในสังคม (Inclusive vociety) ที่แสดงการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในพื้นที่สาธารณะให้คนพิการสามารถเข้าถึงได้

 

          อรพิน วิมลภูษิต ผู้จัดการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ มีเป้าหมาย “ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ให้แรงงานนอกระบบ มีหลักประกันสังคม ความมั่นคงทางด้านอาชีพและรายได้เป็นธรรม สามารถเข้าถึงบริการด้านอาชีวอนามัยภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายแรงงานนอกระบบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งต้องบรรลุวัตถุประสงค์ ที่จะพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายแรงงานนอกระบบ และพัฒนาศักยภาพของผู้นำเครือข่าย, รวบรยมจัดการข้อมูลทางวิชาการ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายใช้ในการพัฒนาข้อเสนอนโยบาย, พัฒนาระบบการจัดบริการด้านอาชีวอนามัยระดับปฐมภูมิทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อการคุ้มครองและสร้างหลักประกันทางสังคม

 

          ส่วนแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในกรบริหารงานของ พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ มุ่งเป้าหมายสำคัญในการจัดทำโครงการวิจัย เพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านผู้สูงอายุที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยมุ่งให้การสนับสนุนโครงการที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ใน 4 ด้านหลักคือ

 

          กลุ่มชุดโครงการวิจัยด้านการเรียนรู้เพื่อเตรียมการก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ

 

          กลุ่มชุดโครงการวิจัยเพื่อการมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุในด้านระบบบริการดูแลสุขภาพระยะยาว (เสนอต่อ สวรส.)

 

          กลุ่มชุดโครงการเพื่อการดูแลในสังคมและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสังคม

 

          กลุ่มชุดโครงการเพื่อการสร้างหลักประกันด้านรายได้สำหรับผู้สูงอายุในวัยหลังเกษียณ (ไม่ได้ทำงาน)

 

          และเพื่อการนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนนโยบายต่อกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในระดับนโยบายเพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติ, การำนผลจากการศึกษาวิจัย และการจัดเวทีวิชาการ ไปเป็นแนวทางหรือประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ และการสร้างความตระหนักในสังคมและเผยแพร่ความรู้สำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

 

          ปฏิบัติการแรก เดินหน้าก้าวที่หนึ่ง เพื่อระดมแนวทางร่วม ที่ตกลงจะพัฒนาพื้นที่ตัวอย่างที่มีความพร้อมในการทำงานศักยภาพของกลุ่มและความสามารถของการบริหารจัดการร่วมของ 3 แผนงานฯ ในการดำเนินงานร่วมกัน แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการฯ จึงเป็นเจ้าภาพที่จะดูแล จ.เชียงใหม่ ส่วนแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ จะดูแลพื้นที่ จ.พะเยาซึ่งทั้งสองแผนจะใช้ข้อมูล แนวความคิดโครงการวิจัยของแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ เป็นตัวเชื่อมร้อยบูรณาการศักยภาพ ทิศทางการเคลื่อนของจุดแข็งของแผนงานฯ ร่วมกัน จากความตั้งใจที่จะพัฒนางานร่วมกัน คาดว่า จะได้องค์ความรู้ที่เป็นกลไกต้นแบบ ในการถ่ายทอดให้กับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศได้เก็บเกี่ยว และนำไปขยายผลปรับใช้กับท้องถิ่นของตนเอง

 

          สสส.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ www.thaihealt.or.th สอบถาม0-22980500 ต่อ 1222

 

 

 

 

 

เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

 

 

 

 

Update : 23-09-51

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code